ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 1 ถึง 2 จาก 2 รายการ, 1 หน้า
พระสัมพุทธพรรณีจำลองและภาพศากยสมาคม
กรุงเทพมหานคร
ประติมากรรมพระสัมพุทธพรรณีจำลองและภาพศากยสมาคม

พระสัมพุทธพรรณีจำลองมีรูปแบบเดียวกับพระสัมพุทธพรรณีที่ประดิษฐานในพระบรมมหาราชวัง กล่าวคือ เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐานสิงห์แสดงปางสมาธิโดยปลายนิ้วพระหัตถ์ทั้ง 4 ยาวเสมอกัน พุทธลักษณะโดยทั่วไปคล้ายกับพระพุทธรูปในสมัยรัชกาลที่ 3 ที่มีพระพักตร์สงบนิ่งคล้ายหุ่น พระเนตรเรียวเล็ก พระขนงโก่ง มีอุณาโลม พระกรรณยาว พระนาสิกแหลม และพระโอษฐ์บาง ครองจีวรห่มเฉียงและเริ่มทำริ้วจีวรอย่างเป็นธรรมชาติที่ฐานของพระสัมพุทธพรรณีมีจารึกข้อความด้วยอักษรมอญ ภาษาบาลี จำนวน 4 บรรทัด ประดับด้วยลวดลายคล้ายผ้าม่านม้วนและพวงมาลาแบบตะวันตก รวมทั้งมีลวดลายสลักเป็นพรรณพฤกษาและซุ้มศัตราวุธที่หน้ากระดานล่างของฐาน ภาพศากยวงศ์หรือกษัตริย์ในราชวงศ์ศากยะ เขียนเป็นภาพบุคคลที่มีขนาดใกล้เคียงกับพระพุทธรูป แสดงลักษณะกล้ามเนื้อทางกายวิภาค แสดงสีหน้าและอารมณ์ และไม่มีการปิดทองที่เครื่องทรง แต่แสดงสถานภาพด้วยอาภรณ์ที่สวมใส่และเครื่องประดับต่างๆ

พระสัมพุทธพรรณี
กรุงเทพมหานคร
ประติมากรรมพระสัมพุทธพรรณี

พระสัมพุทธพรรณีเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิราบ ปางสมาธิ พระพักตร์ค่อนข้างกลม ขมวดพระเกศาเล็ก รัศมีเป็นเปลว ไม่มีพระเกตุมาลา พระขนงโก่ง มีพระอุณาโลมอยู่ระหว่างพระขนง พระเนตรเหลือบต่ำ ครองจีวรห่มเฉียงมีริ้วตามริ้วผ้าธรรมชาติ ชายสังฆาฏิใหญ่ปลายตัดตรงยาวถึงพระนาภี ประทับนั่งบนฐานหน้ากระดานเกลี้ยงเหนือขาสิงห์ตกแต่งด้วยพรรณพฤกษาและลายเครือเถาแบบฝรั่ง ผ้าทิพย์ทำเป็นรูปม่านแหวกออก มีคำจารึกอักษรมอญภาษาบาลีด้านหน้ากล่าวถึงพระนามของพระพุทธรูปองค์นี้พระพุทธรูปองค์นี้ถือเป็นพระพุทธรูปองค์แรกที่ไม่ทำอุษณีษะและเริ่มมีริ้วจีวรยับย่นอย่างสมจริง ซึ่งแนวความคิดในการสร้างพระพุทธรูปเช่นนี้มีการอธิบาย 3 แนวทาง คือ 1. เพื่อให้มีลักษณะถูกต้องตามพุทธลักษณะที่ปรากฏในอรรถกถาบาลี2. เพื่อให้พระพุทธรูปมีรูปแบบที่เข้ากับวิธีคิดตามแนวสัจนิยมให้สมจริงเหมือนมนุษย์ยิ่งขึ้น 3. เป็นการมองพระพุทธเจ้าในฐานะมนุษย์มากขึ้นตามบริบทสังคมที่เริ่มคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลและมีความเป็นมนุษย์นิยมมากขึ้น