ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 113 ถึง 120 จาก 120 รายการ, 15 หน้า
พระพุทธรูปทรงเครื่องที่อานันทเจดีย์
พุกาม
ประติมากรรมพระพุทธรูปทรงเครื่องที่อานันทเจดีย์

พระพุทธรูปองค์นี้เป็นตัวอย่างของพระพุทะรูปทรงเครื่องที่ดีที่สุดในศิลปะพุกาม แสดงการทรงเทริดขนนกตามแบบอิทธิพลปาละ เทริดประแอบด้วยตาบสามเหลี่ยมจำนวนมากเรียงกัน มีกระบังหน้าที่ประดับด้วยตาบสามเหลี่ยมสามจุด มีกรรเจียกและสร้อยคอโดยทรงทับลงไปบนจีวร จึวรที่ปรากฏจีวรสั้นบนพระอังสาซ้ายเองก็แสดงอิทธิพลปาละ

พระพุทธรูปสมัยมัณฑเลที่อานันทเจดีย์
พุกาม
ประติมากรรมพระพุทธรูปสมัยมัณฑเลที่อานันทเจดีย์

พระพุทธรูปประทับยืนสมัยมัณฑเล มีลักษณะสำคัญคือพระพักตร์มีกระบังหน้า ห่มคลุมเสมอตามแบบพุกาม แต่จีวรเป็นริ้วธรรมชาติทั้งหมดตามอิทธิพลจีน บางครั้งการประดับลวดลายและกระจกลงไปบนจีวรด้วย พระหัตถ์ทั้งสองแสดงปางประทานพรและจับชายจีวรลง และบางครั้งมีการถือผลสมอในพระหัตถ์ขวาด้วยซึ่งไม่ปรากฏมาก่อนในศิลปะพุกาม

พระพุทธรูปสมัยมัณฑเลที่เจดีย์ชเวซิกอง
พุกาม
ประติมากรรมพระพุทธรูปสมัยมัณฑเลที่เจดีย์ชเวซิกอง

พระพุทธรูปประทับยืนสมัยมัณฑเล มีลักษณะสำคัญคือพระพักตร์มีกระบังหน้า ห่มคลุมเสมอตามแบบพุกาม แต่จีวรเป็นริ้วธรรมชาติทั้งหมดตามอิทธิพลจีน บางครั้งการประดับลวดลายและกระจกลงไปบนจีวรด้วย พระหัตถ์ทั้งสองแสดงปางประทานพรและจับชายจีวรลง และบางครั้งมีการถือผลสมอในพระหัตถ์ขวาด้วยซึ่งไม่ปรากฏมาก่อนในศิลปะพุกาม

พระพุทธรูปสมัยมัณฑเลที่เจดีย์เอ็นดอยา
มัณฑเลย์
ประติมากรรมพระพุทธรูปสมัยมัณฑเลที่เจดีย์เอ็นดอยา

พระพุทธรูปประทับนั่งสมัยมัณฑเล มีลักษณะสำคัญคือพระพักตร์มีกระบังหน้า ห่มเฉียงเสมอตามแบบพระนั่งพุกามซึ่งแตกต่างไปจากพระยืนที่นิยมห่มคลุม จีวรเป็นริ้วธรรมชาติทั้งหมดตามอิทธิพลจีน บางครั้งการประดับลวดลายและกระจกลงไปบนจีวรด้วย ที่พระอังสาซ้ายปรากฏชายจีวรตกลงมายาวจนถึงพระนาภี ที่ปลายจีวรมีการเล่นลวดลายอย่างมาก เช่นการสลักผ้าให้ทบไปมาจนดูผิดธรรมชาติ พระหัตถ์แสดงปางมารวิชัยตามแบบพระนั่งในศิลปะพุกาม

พระพุทธรูปประธานที่เจดีย์จอกตอจี
อมรปุระ
ประติมากรรมพระพุทธรูปประธานที่เจดีย์จอกตอจี

พระพุทธรูปประธานของเจดีย์จอดตอจี เป็นพระที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างแบบ “อังวะ” กับแบบ “มัณฑเล” ด้วยการที่ยังคงครองจีวรเรียบอยู่และมีชายจีวรสองชันห้อยลงมาจากพระอังสาซ้ายตามแบบอังวะ อย่างไรก็ตาม จีวรชายล่างกลับหยักทบกันไปมาตามแบบมัณฑเลแล้ว อนึ่ง พระพุทธรูปองค์นี้สร้างด้วยหินอ่อน-อลาบาสเตอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ “จอกตอจี” ซึ่งแปลว่าหินใหญ่

พระพุทธรูปที่ถ้ำปินดายา
ปินดายา
ประติมากรรมพระพุทธรูปที่ถ้ำปินดายา

พระพุทธรูปภายในถ้ำปินดายา ถือเป็นตัวอย่างของพระพุทธรูปในสกลุช่างไทยใหญ่ที่ดีที่สุด พระพุทธรูปในสกุลช่างนี้ มักมีพระเศียรใหญ่แต่พระวรกายเล็ก พระอังสาแคบ ด้านบนพระเศียรมีรัศมีรูปน้ำเต้าตามอิทธิพลจีน จีวรมีลักษณะประดิษฐ์มาก โดยประดิษฐ์มาจากชายจีวรสองชั้นของพระพุทธรูปในศิลปะอังวะ-อมรปุระ ที่พระอังสาขวามีการชักชายจีวรมาครอบตามแบบอิทธิพลจีน

พระพุทธรูปที่ถ้ำปินดายา
ปินดายา
ประติมากรรมพระพุทธรูปที่ถ้ำปินดายา

พระพุทธรูปภายในถ้ำปินดายา ถือเป็นตัวอย่างของพระพุทธรูปในสกลุช่างไทยใหญ่ที่ดีที่สุด พระพุทธรูปในสกุลช่างนี้ มักมีพระเศียรใหญ่แต่พระวรกายเล็ก พระอังสาแคบ พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระทรงเครื่อง มีกระบังหน้าประดับตาบสามเหลี่ยมที่มีพื้นฐานมาจากศิลปะปาละ แต่กรรเจียกกลับแผ่ออก มีขนาดใหญ่มากอันเป็นพัฒนาการมาจากศิลปะทิเบต พระพุทธรูปทรงสังวาลรูปตัว U และมีตาบอกรูปประจำยามซึ่งแสดงการผสมผสานกันระหว่างศิลปะทิเบตกับศิลปะอยุธยา

พระพุทธรูปที่ถ้ำปินดายา
ปินดายา
ประติมากรรมพระพุทธรูปที่ถ้ำปินดายา

พระพุทธรูปภายในถ้ำปินดายา ถือเป็นตัวอย่างของพระพุทธรูปในสกลุช่างไทยใหญ่ที่ดีที่สุด พระพุทธรูปในสกุลช่างนี้ มักมีพระเศียรใหญ่แต่พระวรกายเล็ก พระอังสาแคบ พระพุทธรูปองค์นี้มีลักษณะพิเศษ คือทรงถือ “ตาลปัตร” หรือพัดที่ทำจากใบตาลอยู่ที่พระอุระ ตาลปัตรนี้กำเนิดในลังกา โดยมักถือโดยพระภิกษุที่ขึ้นเทศนาธรรม ต่อมาได้สงอิทธิพลให้กับเอเชียอาคเนย์ด้วย โดยมักปรากฏกับพระพุทธรูป พระภิกษุหรือพระโพธิสัตว์ที่กำลังประทับนั่งเทศนาธรรม อนึ่ง พระพุทธรูปองค์นี้ถือเป็นลักษณะพิเศษที่ประทับยืนขณะที่ถือตาลปัตร