ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประติมากรรมพระพุทธรูปประธาน
พระพุทธรูปองค์นี้ประทับยืนแสดงปางประทานอภัย พระพักตร์กลม เม็ดพระศกใหญ่ รัศมีเป็นเปลวไฟ พระเนตรเหลือบต่ำ แย้มพระโอษฐ์ พระหนุเป็นปม พระวรกายอวบอ้วน ครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฎิยาวจรดพระนาภี มีรัดประคดและจีบหน้านาง
ประติมากรรมพระพุทธรูปประทับยืนสำริด
พระพุทธรูปองค์นี้มีความคล้ายคลึงกับศิลปะอมราวดี-ลังกาอย่างมาก ด้วยเหตุทีมีอุษณีษะต่ำ ประทับยืนแต่ห่มจีวรเฉียงมีขอบจีวรขึ้นมาพาดพระกรซ้าย พระหัตถ์ทั้งสองข้างยกข้นขนานกันในปางวิตรรกะ-กฎกมุทรา อันเป็นปางที่ได้รับความนิยมมากกับพระพุทธรูปลังกา พระพุทธรูปองค์นี้จึงสรุปได้ว่าได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปะอินเดียใต้-ลังกาอย่างมาก อย่างไรก็ดี จีวรของพระพุทธรูปองค์นี้กลายเป็นจีวรเรียบไม่มีริ้วแบบคุปตะและวกาฏกะแล้ว
ประติมากรรมพระพุทธรูปประทับยืนที่ชเวซิกอง
พระพุทธรูปลักษณะตามอย่างพระพุทธรูปประทับยืนในศิลปะพุกามโดยทั่วไป กล่าวคือ ครองจีวรห่มคลุม เรียบไม่มีริ้ว มีชายจีวรตงลงมาจากพระหัตถ์ทั้งสองข้างแตกเป็นเขี้ยวตะขาบตามแบบปาละตอนปลาย พระหัตถ์ทั้งสองแสดงปางประทานอภัยในพระหัตถ์ขวาและจับชายจีวรในแนวลงในพระหัตถ์ซ้าย อันเป็นระบบอินเดียเหนือที่พระหัตถ์ทั้งสองมักมีแนวพระหัตถ์ตรงกันข้ามกัน
ประติมากรรมพระพุทธรูปประทับยืนที่อานันทเจดีย์
พระพุทธรูปลักษณะตามอย่างพระพุทธรูปประทับยืนในศิลปะพุกามโดยทั่วไป กล่าวคือ ครองจีวรห่มคลุม เรียบไม่มีริ้ว มีชายจีวรตงลงมาจากพระหัตถ์ทั้งสองข้างแตกเป็นเขี้ยวตะขาบตามแบบปาละตอนปลาย พระหัตถ์ทั้งสองแสดงปางปฐมเทศนา ซึ่งถือเป็นลักษณะเฉพาะในศิลปะพุกามที่นำปางปฐมเทศนามาใช้กับพระพุทธรูปประทับยืน