ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 9 ถึง 16 จาก 24 รายการ, 3 หน้า
ภายใน :อาสนวิหารเมืองวีกัน
วีกัน
สถาปัตยกรรมภายใน :อาสนวิหารเมืองวีกัน

ภายในอาสนวิหาร แห่งเมืองวีกัน แสดงให้เห็นการแบ่งระหว่าง nave กับ aisle อย่างชัดเจนกว่าโบสถ์อื่นๆในพื้นที่เดียวกัน การแบ่งนี้ใช้แถวเสาที่มีอาร์คเชื่อมโยงกันเป็นตัวแบ่ง นอกจากนี้ เพดานของ nave ยังสูงกว่าเพดานของ aisle อย่างชัดเจน ทำให้มีการเจาะหน้าต่างด้านข้าง nave ซึ่งูคล้ายคลึงกับศิลปะยุโรป แต่แตกต่างไปจากโบสถ์แห่งอื่นๆในพื้นที่เดียวกัน เพดานของโบสถ์ก็มีการตกแต่งโดยใช้สัน (rib) ตัดชันกันแต่ละช่วงเสา (bay) ซึ่งลักษณะเช่นนี้ทำให้นึกไปถึงการก่อหลังคาแบบ vault ของโบสถ์ในศิลปะโกธิค ที่ปลายสุดของ nave และ aisle ปรากฏแท่นบูชา ส่วนด้านข้างในแต่ละช่วง bay ก็ปรากฏแท่นบูชาขนาดเล็ก ซึ่งคงทำหน้าที่แทนchapel

แท่นบูชาประธาน :อาสนวิหารเมืองวีกัน
วีกัน
สถาปัตยกรรมแท่นบูชาประธาน :อาสนวิหารเมืองวีกัน

แท่นบูชาประธาน (Main Altar) ของอาสนวิหาร แห่งเมืองวีกัน เป็นแท่นที่อุทิศให้กับพระเยซูประทับบัลลังก์กษัตริย์แห่งสวรรค์(Enthroned Jesus) ด้านข้างยังปรากฏอัครสาวกอีกสององค์ คือเซนต์ปีเตอร์ (St. Peter) ผู้ทรงมงกุฎพระสันตปาปาและถือกุญแจสวรรค์ และเซนต์แอนดรู (St.Andrew) ผู้ผือไม้กางเขนรูปตัว X อันเป็นเครื่องที่ท่านถูกประหารสำหรับรูปแบบแท่นบูชาประธาน (Main Altar) มีการใช้ Cupid ในการตกแต่งและถือพวงมาลัย (garland) นอกจากนี้ การตกแต่งสถาปัตยกรรมด้วยถ้วยรางวัล (trophy) และโดมโค้งเว้า ซึ่งทั้งหมดแสดงการตกแต่งแบบบารอก (Baroque)ด้านบนสุดของแท่นบูชา ปรากฏนกเขาในรัศมีซึ่งแสดงสัญลักษณ์ของพระจิต (Holy Spirit)

โบสถ์ประจำสุสานเมืองวีกัน
วีกัน
สถาปัตยกรรมโบสถ์ประจำสุสานเมืองวีกัน

โบสถ์ประจำสุสาน (Cemetery Chapel )ซึ่งเรียกกันในภาษาพื้นเมืองว่า Simbaan a Bassit ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองวีกัน สร้างขึ้นใน ค.ศ. 1852 เป็นโบสถ์ขนาดเล็กที่มีแผงด้านหน้าแบบบารอคอย่างชัดเจน โดยแบ่งแผงด้านหน้าออกเป็นห้าส่วนด้วยเสาติดผนัง ด้านบนปรากฏหน้าบันโค้งเว้าตามแบบบารอค ด้านข้างประดับด้วย volute ขนาดใหย่ตามแบบบารอค และปรากฏประตูที่ใช้เป็นประตูเข้าไปสู่สุสาน การที่หน้าบันของ façade ใช้เป็นที่แขวนระฆังด้วยนั้น ถือเป็นรูปแบบที่พบไม่บ่อยนักในศิลปะฟิลิปปินส์ (ส่วนนี้เรียกในภาษาสเปนว่า Espadraña)

โบสถ์เมืองปาวาย
ปาวาย
สถาปัตยกรรมโบสถ์เมืองปาวาย

โบสถ์แห่งนี้สร้างขึ้นใน ค.ศ.1699 แต่ต่อมาได้พังทลายลงเนื่องด้วยแผ่นดินไหว จึงมีการสร้างใหม่ใน ค.ศ.1710 ซึ่งยังคงปรากฏมาถึงปัจจุบัน แผงด้านหน้าของโบสถ์เมืองปาวาย สร้างขึ้นด้วยอิฐและปูนปั้น อันแตกต่างไปจากผนังด้านข้างที่สร้างด้วยหินปะการัง แผงด้านหน้า (façade) ที่นี่ประดับด้วยเสาติดผนัง 6 ต้น ซึ่งแบ่งแผงด้านหน้าออกเป็น 5 ส่วน ด้านบนครอบด้วย pediment แบบคลาสิก แต่มีที่แขวนระฆังขนาดเล็กอยู่ด้านบนสุดของหน้าบันด้วย ในส่วน nave ปรากฏประตูอาร์คโค้งเพียงบานเดียว และไม่มีประตูสำหรับ aisle ส่วนที่บริเวณหน้าจั่ว (Tympanum) ปรากฏอาร์ควงโค้งเพื่อทำห้าที่เป็นหน้าต่างและซุ้ม นอกจากนี้ยังมีการประดับตราอาร์มของตระกูลที่อุปถัมภ์โบสถ์ดังกล่าว

ค้ำยันของโบสถ์เมืองปาวาย
ปาวาย
สถาปัตยกรรมค้ำยันของโบสถ์เมืองปาวาย

ค้ำยันด้านข้างของโบสถ์เมืองปาวาย ซึ่งถือเป็นตัวอย่างค้ำยันกำแพงที่สร้างขึ้นอย่างแน่นหนาเพื่อป้องกันการพังทลายจากแผ่นดินไหว ค้ำยันนี้มีลักษณะเป็นขมวด volute ซึ่งเป็นลักษณะของศิลปะบารอก ถือเป็นค้ำยันที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่งในศิลปะฟิลิปปินส์ โบสถ์ในสกุลช่างโลวาก-วีกัน มักปรากฏค้ำยันขนาดใหญ่เช่นนี้เสมอ และมีบันได 1 อันแทรกอยู่ระหว่างค้ำยันเพื่อสำหรับขึ้นไปยังหลังคาโบสถ์ ลักษณะเช่นนี้ปรากฏเช่นกันที่โบสถ์ Santa Maria ใกล้เมืองวีกัน แต่แตกต่างไปจากสกุลช่างมะนิลาอย่างสิ้นเชิงเนื่องจากโบสถ์ในสกุลช่างมะนิลาไม่เน้นการเสริมค้ำยัน

ภายในโบสถ์เมืองปาวาย
ปาวาย
สถาปัตยกรรมภายในโบสถ์เมืองปาวาย

ภายในโบสถ์เมืองปาวาย เป็นโบสถ์ที่ปรากฏแท่นบูชา (altar) จำนวนสามซุ้มตามความนิยมของโบสถ์เมืองโลวาก-วีกัน ซุ้มกลางประดิษฐานนักบุญออกุสติน ส่วนซุ้มด้านข้างประดิษฐานพระเยซูและครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ โบสถ์มีความยาวมากแต่มีหลังคาเป็นเครื่องไม้มุงสังกะสี อนาง น่าสังเกตว่าหลงคาแบบง่ายๆเช่นนี้เป็นความนิยมของโบสถ์สกุลช่างเมืองโลวาก-วีกัน

หอคอยประจำโบสถ์เซนต์วิลเลี่ยม
ลาวัก
สถาปัตยกรรมหอคอยประจำโบสถ์เซนต์วิลเลี่ยม

ลักษณะของหอระฆังในสกุลช่างเมืองโลวากนั้น แตกต่างไปจากสกุลช่างเมือวีกันอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากหอระฆังสกุลช่างวีกันมักเป็นแปดเหลี่ยมแต่หอระฆังสกุลช่างโลวากกลับเป็นสี่เหลี่ยมซ้อนกันหลายชั้นเสมอ ซึ่งเป็นระเบียบที่สืบทอดมาจากหอระฆังของโบสถ์เมืองปาวาย อันสืบทอดมาจากศิลปะสเปนอีกทีหนึ่ง น่าสังเกตว่า ที่มุมด้านข้างของหอคอยปรากฏค้ำยัน (Buttress) ขนาดใหญ่จำนวนมาก และสร้างขึ้นห่างจากโบสถ์เนื่องจากกลัวว่าหอคอยจะล้มทับโบสถ์หากเกิดแผ่นดินไหว หอคอยในแถบนี้จึงตั้งแยกจากโบสถ์เสมอ

แม่พระแห่งภูเขาคาร์แมล
มะนิลา
ประติมากรรมแม่พระแห่งภูเขาคาร์แมล

ภูเขาคาร์แมลเป็นภเขาทางตอนเหนือของปาเลสไตน์ และเคยเป้นที่อยู่ของประกาศกเอลียาห์มาก่อน ต่อมาสถานที่แห่งนี้ได้ถูกสร้างให้เป็นที่สวดภาวนาต่อพระนางมาเรีย และทำให้เกิดพระสงฆ์นิกายคาร์เมไลท์ขึ้นใน ค.ศ. 1251 พระนางได้เสด็จมาประจักษ์แก่นักบุญไซมอน สต๊อก อธิการของคณะคาร์เมไลท์ ขณะที่ท่านพำนักใน Aylesford ระเทศอังกฤษ พระนางได้ประทานสายจำพวก อันเป้นเครื่องแบบนักบวชให้กับนักบุญและสัญญาว่าผู้ใดสวมชุดนี้จะรอดพ้นจากไฟนรก