ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ประติมากรรมซุ้มหน้านางแบบลังกา
ซุ้มหน้านาง คือซุ้มที่เป็นวงโค้ง ไม่มีเคล็กอยู่ด้านบน ซุ้มแบบนี้แสดงให้เห็นอิทธิพลของซุ้มมกรโตรณะตามแบบลังกาที่ข้ามามีบทบาทอย่างมากในศิลปะพุกามตอนปลาย ตอบรับกับประวัติศาสตร์ที่พระภิกษุชาวพุกามที่ไปเรียนลังกาได้กลับมายังพุกามจำนวนมากและนำเอาพุทธศาสนาลังกาวงศ์กลับมาด้วย

ประติมากรรมลายหน้ากาลคายพวงมาลัย-พวงอุบะ
ที่ด้านบนของเรือนธาตุเจตียวิหารในศิลปะพุกาม ย่อมประดับด้วยลายหน้ากาลคายพวงมาลัย-พวงอุบะเสมอ ลวดลายดังกล่าวปรากฏมาก่อนในศิลปะปาละก่อนที่จะได้รับความนิยมอย่างมากในศิลปะพุกาม ลวดลายดังกล่าวยังแสดงให้เห็นความปรารถนาที่จะให้เรือนธาตุได้รับการตกแต่งด้วยดอกไม้สดเสมอ

ประติมากรรมลายกาบล่างประดับหน้ากาล
ที่ด้านล่างของเสาติดผนังที่ประดับเรือนธาตุเจตียวิหารในศิลปะพุกามตอนปลาย ย่อมประดับลาย “กาบล่าง” เสมอ อันเป็นส่วนหนึ่งของลายประดับเสาติดผนังจำนวนสามจุด คือ “กาบบน-ประจำยามอก-กาบล่าง” โดยลายทั้งหมดอยู่ในกรอบรูปสามเหลี่ยมและมีลายพันธุ์พฤกษาหรือลายกนกบรรจุอยู่เต็ม บางครั้งก็มีลายหน้ากาลคายพันธุ์พฤกษาด้วย

ประติมากรรมพระพุทธรูปทรงเครื่องที่อานันทเจดีย์
พระพุทธรูปองค์นี้เป็นตัวอย่างของพระพุทะรูปทรงเครื่องที่ดีที่สุดในศิลปะพุกาม แสดงการทรงเทริดขนนกตามแบบอิทธิพลปาละ เทริดประแอบด้วยตาบสามเหลี่ยมจำนวนมากเรียงกัน มีกระบังหน้าที่ประดับด้วยตาบสามเหลี่ยมสามจุด มีกรรเจียกและสร้อยคอโดยทรงทับลงไปบนจีวร จึวรที่ปรากฏจีวรสั้นบนพระอังสาซ้ายเองก็แสดงอิทธิพลปาละ

ประติมากรรมพระพุทธรูปสมัยมัณฑเลที่อานันทเจดีย์
พระพุทธรูปประทับยืนสมัยมัณฑเล มีลักษณะสำคัญคือพระพักตร์มีกระบังหน้า ห่มคลุมเสมอตามแบบพุกาม แต่จีวรเป็นริ้วธรรมชาติทั้งหมดตามอิทธิพลจีน บางครั้งการประดับลวดลายและกระจกลงไปบนจีวรด้วย พระหัตถ์ทั้งสองแสดงปางประทานพรและจับชายจีวรลง และบางครั้งมีการถือผลสมอในพระหัตถ์ขวาด้วยซึ่งไม่ปรากฏมาก่อนในศิลปะพุกาม

ประติมากรรมพระพุทธรูปสมัยมัณฑเลที่เจดีย์ชเวซิกอง
พระพุทธรูปประทับยืนสมัยมัณฑเล มีลักษณะสำคัญคือพระพักตร์มีกระบังหน้า ห่มคลุมเสมอตามแบบพุกาม แต่จีวรเป็นริ้วธรรมชาติทั้งหมดตามอิทธิพลจีน บางครั้งการประดับลวดลายและกระจกลงไปบนจีวรด้วย พระหัตถ์ทั้งสองแสดงปางประทานพรและจับชายจีวรลง และบางครั้งมีการถือผลสมอในพระหัตถ์ขวาด้วยซึ่งไม่ปรากฏมาก่อนในศิลปะพุกาม

ประติมากรรมพระพุทธรูปสมัยมัณฑเลที่เจดีย์เอ็นดอยา
พระพุทธรูปประทับนั่งสมัยมัณฑเล มีลักษณะสำคัญคือพระพักตร์มีกระบังหน้า ห่มเฉียงเสมอตามแบบพระนั่งพุกามซึ่งแตกต่างไปจากพระยืนที่นิยมห่มคลุม จีวรเป็นริ้วธรรมชาติทั้งหมดตามอิทธิพลจีน บางครั้งการประดับลวดลายและกระจกลงไปบนจีวรด้วย ที่พระอังสาซ้ายปรากฏชายจีวรตกลงมายาวจนถึงพระนาภี ที่ปลายจีวรมีการเล่นลวดลายอย่างมาก เช่นการสลักผ้าให้ทบไปมาจนดูผิดธรรมชาติ พระหัตถ์แสดงปางมารวิชัยตามแบบพระนั่งในศิลปะพุกาม

ประติมากรรมพระมหามัยมุนี
พระพุทธรูปประทับนั่งในศิลปะยะไข่ มักเปลือยพระวรกายท่อนบน นั่งขัดสมาธิราบตามแบบอินเดียใต้แต่แสดงปางมารวิชัยตามแบบอินเดียเหนือ ต่อมาพระเจ้าปดุงและกษัตริย์รุ่นหลังได้ถวายเครื่องทรงแก่พระพุทธรูปองค์นี้ โดยถวายมงกุฎแหลมสูงและสังวาลตัดเป็นกากบาท มีตาบอก อันเป็นเครื่องทรงที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะอยุธยา ต้องไม่ลืมว่าช่างชาวอยุธยาได้เข้าไปตั้งรกรากอยู่ที่เมือง