ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จิตรกรรมพระพุทธเจ้าและฤาษีประทับในถ้ำ จิตรกรรมในเจดีย์อเพยทนะ
เจดีย์อเพยทนะ สร้างขึ้นโดยพระนางอภัยรัตนา พระมเหสีในพระเจ้าจันสิตถาในพุทธศตวรรษที่ 17 ภายในปรากฏจิตรกรรมซึ่งคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมากและมีแนวโน้มไปทางพุทธศาสนามหายาน
จิตรกรรมพระโพธิสัตว์ จิตรกรรมในเจดีย์อโลปเย
พระโพธิสัตว์เหล่านี้แต่งตัวคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก เช่น การทรงมงกุฎที่มีกระบังหน้าสามตาบ การทรงยัชโญปวีตตวัดเป็นรูปตัว S และการนุ่งผ้านุ่งเป็นริ้ว รวมถึงการปรากฏดอกไม้สองดอกขนาบทั้งสองข้างอย่างสมมาตร ย่อมแสดงให้เห็นอิทธิพลปาละตอนปลายอย่างมาก จิตรกรรมเองก็ใช้สีโทนร้อนตามอย่างปาละ ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่าจิตรกรรมดังกล่าวคงมีอายุอยู่ในสมัยพุกามตอนต้น
จิตรกรรมพุทธประวัติ จิตรกรรมในเจดีย์ปาโททัมยา
จิตรกรรมใช้สีโทนร้อน เช่น สีแดง สีเหลือง สีดำ ตามอย่างศิลปะปาละ เครื่องแต่งกายของบุคคลในจิตรกรรมเองก็เกี่ยวข้องกับศิลปะปาละอย่างมาก เช่น การทรงเทริดขนนกของกษัตริย์ อย่างไรก็ตาม ลักษณะพื้นเมืองพุกามได้ปรากฏปะปนด้วย เช่น การทรงผ้าคลุมที่มีลวดลายเต็มของกษัตริย์ รวมถึงรูปแบบอาคารที่ดูเหมือนปยาทาด เป็นต้น
จิตรกรรมพุทธประวัติ 8 ตอน จิตรกรรมในเจดีย์โลกาเทียกพัน
เจดีย์โลกาเทียกพัน เป็นเจดีย์ขนาดเล็กไม่ไกลจากเจดีย์ชเวซานดอมากนัก ไม่มีประวัติว่าผู้ใดสร้างหรือสร้างขึ้นเมื่อใด แต่จากรูปแบบสถาปัตยกรรมแล้ว คอนข้างแน่ชัดว่าเจดีย์องค์นี้สร้างขึ้นในสมัยพุกามตอนกลาง ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 17
จิตรกรรมส่วนหนึ่งจากพุทธประวัติ 8 ตอน จิตรกรรมในเจดีย์โลกาเทียกพัน
ภาพเล่าเรื่องดังกล่าวแสดงรูปแบบตามแบบปาละอย่างมาก เช่น การใช้สีโทนร้อนเป็นหลัก ฯลฯ ทั้งหมดนี้คล้ายคลึงกับภาพวาดในคัมภีร์ใบลานซึ่งพบทั้งในอินเดียตะวันออกและในพม่าด้วย
จิตรกรรมส่วนหนึ่งจากพุทธประวัติ 8 ตอน จิตรกรรมในเจดีย์โลกาเทียกพัน
ภาพเล่าเรื่องดังกล่าวแสดงรูปแบบตามแบบปาละอย่างมาก เช่น การใช้สีโทนร้อนเป็นหลัก ฯลฯ ทั้งหมดนี้คล้ายคลึงกับภาพวาดในคัมภีร์ใบลานซึ่งพบทั้งในอินเดียตะวันออกและในพม่าด้วย
จิตรกรรมเขาพระสุเมรุ จิตรกรรมในเจดีย์โลกาเทียกพัน
ภาพเล่าเรื่องดังกล่าวแสดงรูปแบบตามแบบปาละอย่างมาก เช่น การใช้สีโทนร้อนเป็นหลัก ฯลฯ
จิตรกรรมสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ จิตรกรรมในเจดีย์โลกาเทียกพัน
ภาพเล่าเรื่องดังกล่าวแสดงรูปแบบตามแบบปาละอย่างมาก เช่น การใช้สีโทนร้อนเป็นหลัก ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ปยาทาดหรือปราสาทที่มีหลังคาลาดซ้อนกันหลายชั้นกลับเป็นลักษณะเฉพาะของพุกามเอง ปยาทาดนี้เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นอาคารเครื่องไม้ในสมัยพุกามซึ่งปัจจุบันไม่หลงเหลืออยู่แล้ว