ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 353 ถึง 360 จาก 522 รายการ, 66 หน้า
ประตูเมืองนครธมทางด้านทิศใต้
อังกอร์
สถาปัตยกรรมประตูเมืองนครธมทางด้านทิศใต้

ประตูเมืองพระนครหลวง ประกอบไปด้วยสองส่วน คือประตูเมืองซึ่งออกแบบเป็นพระพักตร์ของบุคคลจำนวน 4 พักตร์ และราวสะพานด้านหน้าข้ามคูเมืองซึ่งมีราวสะพานเป็นรูปการกวนเกษียรสมุทร ซุ้มประตูซึ่งมีพระพักตร์ทั้งสี่นี้บางท่านสันนิษฐานว่าอาจหมายถึง “จตุโลกบาลทั้งสี่” ผู้ดูแลทั้งสี่ทิศของจักรวาลก็ได้ ราวบันไดรูปการกวนเกษียรสมุทรนั้น ย่อมแสดงให้เห็นคติที่ว่าบุคคลผ้อยู่ในเมืองดังกล่าวได้รับการปะพรมน้ำอมฤตเสมอและเป็นผู้เป็นอมตะประหนึ่งเทวดา

ปราสาทบันทายกุฎี
อังกอร์
สถาปัตยกรรมปราสาทบันทายกุฎี

ปราสาทบันทายกุฎี เป็นปราสาทในศิลปะบายน สร้างขึ้นโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นอาคารที่ประกอบไปด้วยยอดปราสาทจำนวนมาก เชื่อต่อกันด้วยระเบียงกากบาท ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของปราสาทในสมัยนี้ ปราสาทอยู่ในผังคล้ายตารางซึ่งแสดงให้เห็นว่าปราสาทถูกออแบบตาม “คติมณฑล” ในพุทธศาสนามหายาน

บารายด้านหน้าปราสาทบันทายกุฎี
อังกอร์
สถาปัตยกรรมบารายด้านหน้าปราสาทบันทายกุฎี

ท่าน้ำขั้นบันไดด้านหน้าปราสาทบันทายกุฎี สร้างขึ้นในรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เพื่อให้สระสรงกลายเป็นสระน้ำประจำปราสาทบันทายกุฎี ท่าน้ำแห่งนี้มีลักษระเป็นกากบาทตามแบบที่นิยมมาตั้งแต่ศิลปะสมัยนครวัด อย่างไรก็ตามครุฑยุดนาคที่ประดับตามราวบันไดนั้นถือเป็นลักษณะเฉพาะของศิลปะบายนอย่างแท้จริง

ปราสาทดงเดือง
สถาปัตยกรรมปราสาทดงเดือง

ปราสาทดงเดือง ประกอบด้วยเสาติดผนัง 4 ต้นเช่นเดียวกับปราสาทหัวล่าย อย่างไรก็ตาม ในสมัยนี้ ร่องเสาได้กลายเป็นร่องแคบๆ ซึ่งทำให้ลวดลายต้องออกมาสลักที่ขอบนอกของเสา ส่วนด้านล่างของเสาแต่ละต้นปรากฏซุ้มโคนเสา.ซึ่งปรากฏเช่นกันในศิลปะขอมก่อนเมืองพระนคร ปราสาทแห่งนี้มีลวดลายของเสาสลักเสร็จเพียงส่วนเดียว ส่วนอื่นๆยังสลักไม่เสร็จ

บุโรพุทโธ
ไม่ปรากฏ
สถาปัตยกรรมบุโรพุทโธ

สถูปประกอบไปด้วยฐานสี่เหลี่ยมเพิ่มมุมจำนวนห้าชั้น แต่ละชั้นประกอบด้วยทางประทักษิณที่มีภาพเล่าเรื่องทางพุทธศาสนามหายานประดับ แต่ละด้านยังปรากฏซุ้มจระนำประดิษฐานพระธยานิพุทธทั้งสี่ด้าน แต่ละด้านปรากฏพระธยานิพุทธในมุทราต่างๆกันออกไป เช่น พระอักโษภยะแสดงปางมารวิชัยทางด้านทิศตะวันออก พระรัตนสัมภวะแสดงปางประทานพรทางด้านทิศใต้เป็นต้น ด้านบน มีฐานเขียงกลมประดิษฐานสถูปโปร่งบรรจุพระไวโรจนะซึ่งแสดงปางปฐมเทศนาและสถูปทึบตรงกลางซึ่งมหายถึงพระอาทิพุทธ

ฐานชั้นล่างที่บุโรพุทโธ
ไม่ปรากฏ
สถาปัตยกรรมฐานชั้นล่างที่บุโรพุทโธ

บุโรพุทโธสร้างขึ้นตามระบบ “มณฑล” หรือการจำลองจักรวาลในพุทธศาสนามหายาน ด้วยเหตุนี้ จึงกำหนดให้ฐานด้านล่างสุดตรงกับกามภูมิอันเป็นภูมิของคนที่มัวเมาในกิเลส โดยมีการสลักภาพตามคัมภีร์กรรมวิภังค์ อันแสดงถึงคนที่มัวเมาในกิเลส ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว อย่างไรก็ตาม ฐานนี้กลับถูกปกปิดไปด้วยฐานหินซึ่งมาก่อทับเพิ่มเติมทีหลัง อันแสดงการเปลี่ยนใจที่จะทำให้บุโรพุทโธมีฐานที่แบข็งแรงขึ้น

ทางประทักษิณและภาพสลักเล่าเรื่องที่บุโรพุทโธ
ไม่ปรากฏ
สถาปัตยกรรมทางประทักษิณและภาพสลักเล่าเรื่องที่บุโรพุทโธ

สถูปประกอบไปด้วยฐานสี่เหลี่ยมเพิ่มมุมจำนวนห้าชั้น แต่ละชั้นประกอบด้วยทางประทักษิณที่มีภาพเล่าเรื่องทางพุทธศาสนามหายานประดับ ภาพเล่าเรื่องเหล่านี้ มีภาพเล่าเรื่องตามคัมภีร์ลลิตวิสตระ คัมภีร์ชาดกและอวทาน (ระเบียงชั้นล่าง) และคัมภีร์คัณฑวยุหสูตร (ระเบียงชั้นที่ 2-4) ซึ่งทั้งหมดนี้นอกจากสลักขึ้นเพื่อให้ผู้ศรัทธาได้เรียนรู้เรื่องราวทางพุทธศาสนาขณะเดินประทักษิณแล้ว ยังเป็นการบ่งบอกภพภูมิต่างๆในพุทธศาสนามหายานซึ่งถูกจำลองที่บุโรพุทโธอีกด้วย

ฐานกลมและสถูปที่บุโรพุทโธ
โวโนโซโบ
สถาปัตยกรรมฐานกลมและสถูปที่บุโรพุทโธ

ฐานกลมด้านบนสุด เป็นฐานเขียงซึ่งไม่มีภาพสลักใดๆ อันบ่งบอกถึงความเป็น “อรูปภูมิ” ประกบด้วยสถูปโปร่งจำนวนมากซึ่งภายในประดิษฐานพระธยานิพุทธไวโรจนะแสดงปางปฐมเทศนา ประเด็นนี้ย่อมแสดงให้เห็นหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างความมีรูปกับความไม่มีรูป ด้านบนสุดปรากฏสถูปทึบเพียงองค์เดียว นั่นคอตัวแทนของพระอิพุทธ พระเทธเจ้าองค์แรกของจักรวาล ผู้เป็นอมตะ ไม่มีกาลเวลา เป็นผู้กำเนินพระพุทธเจ้าทั้งมวลในจักรวาลและเป็นผู้สร้างโลก ทรงไม่มีรูป