ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 305 ถึง 312 จาก 522 รายการ, 66 หน้า
วิหารวัดองค์ตื้อ
เวียงจันทน์
สถาปัตยกรรมวิหารวัดองค์ตื้อ

เป็นอาคารในสกุลช่างเวียงจันทน์ที่หลังคาด้านข้างไม่ได้เตี้ยติดพื้นมาก และมีการแบ่งกรอบหน้าบันออกเป็นปีกนก หน้าบันแสดงเป็นพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณท่ามกลางลายพันธุ์พฤกษา ด้านล่างหน้าบันมีการแบ่งช่องในแผงแรคอสองอันเป็นลักษณะโดดเด่นของหน้าบันในสกุลช่างเวียงจันทน์ และด้านล่างสุดมีโก่งคิ้วซึ่งถือเป็นวัฒนธรรมที่ปรากฏร่วมกันทั้งในล้านนาและลาว ด้านหน้ามีโถงทางเข้าก่อนที่จะเข้าไปภายในห้องประธาน ปรากฏหัวเม็ดทรงมัณฑ์ในทรงยืดสูงอันเป็นลักษณะที่โดดเด่นในศิลปะลาว

หอพระแก้ว
เวียงจันทน์
สถาปัตยกรรมหอพระแก้ว

หอพระแก้ว มีเค้าโครงว่าสร้างขึ้นตั้งแต่รัชกาลพระเจ้าอนุวงศ์หรือก่อนหน้านั้นแล้ว เนื่องจากรูปแบบมีความคล้ายคลึงกับพระอุโบสถของวัดพระศรีรัตนศาสนารามที่ประกอบไปด้วยลานประทักษิณภายในพาไลโดยรอบ อย่างไรก็ตาม หอพระแก้วคงถูกทิ้งร้างตั้งแต่คราวพระเจ้าอนุวงศ์เสียเมืองเวียงจันทน์ และต่อมาได้รับการบูรณะขึ้นใหม่ หน้าบันซึ่งมีแผงแรคอสองแบ่งช่องอยู่ด้านล่างนั้น สามารถเปรียบเทียบได้กับหน้าบันของวิหารวัดองค์ตื้อ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นสกุลช่างเวียงจันทน์ที่ถูกสลักขึ้นในระยะหลังมากๆ (รัชกาลพระเจ้าศรีสว่างวงศ์ ?) อนึ่ง ตรงช้างสามเศียรเป็นตราประจำพระราชอาณาจักรลาวก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

หอพระไตรปิฎก วัดอินแปง
เวียงจันทน์
สถาปัตยกรรมหอพระไตรปิฎก วัดอินแปง

หอระไตรปิฎก วัดอินแปง ถือเป็นหอพระไตรปิฎกแบบล้านช้างอย่างแท้จริงเพียงแห่งเดียวที่เหลือรอดจากการทำลายเมืองเวียงจันทน์ในรัชกาลพระเจ้าอนุวงศ์ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาดเล็กในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ฐานเป็นบัวเข่าพรหมที่มีลวดบัวแบบลาวอย่างซับซ้อน เรือนธาตุด้านหน้าปรากฏประตู ส่วนที่เหลืออีกสามด้านเป็นหน้าต่างที่มีรายละเอียดอย่างมาก สำหรับภาพนี้เป็นประตูของหอพระไตรปิฎก ซึ่งมีลักษณะเป็นซุ้มประตูยอด ด้านในมีหงส์หันเข้าซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะล้านนา ยอดปราสาทด้านบนและทวารบาลก็มีรูปแบบคล้ายคลึงกับศิลปะล้านนาเช่นกัน

หอพระไตรปิฎก วัดอินแปง
เวียงจันทน์
สถาปัตยกรรมหอพระไตรปิฎก วัดอินแปง

หอระไตรปิฎก วัดอินแปง ถือเป็นหอพระไตรปิฎกแบบล้านช้างอย่างแท้จริงเพียงแห่งเดียวที่เหลือรอดจากการทำลายเมืองเวียงจันทน์ในรัชกาลพระเจ้าอนุวงศ์ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาดเล็กในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ฐานเป็นบัวเข่าพรหมที่มีลวดบัวแบบลาวอย่างซับซ้อน เรือนธาตุด้านหน้าปรากฏประตู ส่วนที่เหลืออีกสามด้านเป็นหน้าต่างที่มีรายละเอียดอย่างมาก สำหรับภาพนี้เป็นหน้าต่างของหอพระไตรปิฎก ซึ่งมีลักษณะเป็นซุ้มหน้าต่างยอดปราสาท ชั้นหลังคาประกอบด้วยหลังคาลาดขนาดใหญ่ 1 ชั้นและเชิงบาตรซ้อนกันขึ้นไป เค้าโครงของปราสาทมีรูปแบบคล้ายคลึงกับศิลปะล้านนา โดยรอบผนังปรากฏร่องรอยของลายปูนปั้นที่แบ่งเป็นช่องๆ ซึ่งอาจเคยมีภาพเล่าเรื่องมาก่อน ปัจจุบันหลุดร่วงลงเกือบหมด

พระพรหมภายในเจดีย์นันปยะ
พุกาม
ประติมากรรมพระพรหมภายในเจดีย์นันปยะ

เจตียวิหารในระยะแรกสุดของศิลปะพุกาม ภายในอาคารปรากฏเสาสี่ต้นรองรับยอดศิขระ โดยรอบปรากฏภาพสลักพระพรหมซึ่งเป็นลักษณะพิเศษที่ปรากฏเฉพาะที่นี่เท่านั้น รูปแบบของพระพรหมและประติมานวิทยายังคล้ายคลึงกับพระพรหมในศิลปะปาละอยู่มาก จากกำหนดอายุโบราณสถานแห่งนี้อยู่ในสมัยพุกามตอนต้น

หน้าต่างของเจดีย์นันปยะ
พุกาม
ประติมากรรมหน้าต่างของเจดีย์นันปยะ

หน้าต่างของแจดีย์นันปยะถือเป็นหน้าต่างของเจตียวิหารในระยะแรกสุดของศิลปะพุกาม เป็นหนาต่างที่มีแผ่นหินมาปิดทำให้ภายในอาคารมืดทึบ ซึ่ถือเป็นสุนทรียภาพในสมัยพุกามตอนต้น ซุ้มเคล็กที่นี่เป็นเคล็กสั้นและเอียงเข้าหาจุดศูนย์กลางตามแบบพุกามตอนต้น ที่เสาติดผนังเองก็ปรากฏกาบบนแต่ไม่มีกาบล่างและประจำยามอก ซึ่งถือเป็นกาบในระยะแรกสุดของศิลปะพุกาม

พระพุทธรูปในมนูหะ
พุกาม
ประติมากรรมพระพุทธรูปในมนูหะ

แม้ว่าจะมีประวัติเก่าแก่ไปถึงรัชสมัยพราะเจ้าอโนรธา แต่พระพุทธรูปองค์นี้ก็”ด้รับการบูรณะอย่างต่อเนื่อง จนรูปแบบดั้งเดิมไม่หลงเหลืออยู่

ภาพชาดกดินเผา เรื่องพระมหาชนก
พุกาม
ประติมากรรมภาพชาดกดินเผา เรื่องพระมหาชนก

เจดีย์เป็นเล็กเป็นเจดีย์ทรงระฆังสมัยพุกามตอนต้น ได้รับอิทธิพลปาละ ที่ส่วนฐานปรากฏระเบียงซึ่งบรรจุภาพดินเผาเล่าเรื่องชาดกจำนวน 550 พระชาติ ภาพชาดกดังกล่าวทำจากดินเผาที่ยังไม่ได้เคลือบเขียวซึ่งแตกต่างไปจากเจดีย์ชเวซิกอง แสดงให้เห็นวาภาพชาดกนี้อาจอยู่ในสมัยก่อนพุกามหรือพุกามตอนต้นระยะแรก