ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 633 ถึง 640 จาก 884 รายการ, 111 หน้า
ค้ำยันของโบสถ์เมืองปาวาย
ปาวาย
สถาปัตยกรรมค้ำยันของโบสถ์เมืองปาวาย

ค้ำยันด้านข้างของโบสถ์เมืองปาวาย ซึ่งถือเป็นตัวอย่างค้ำยันกำแพงที่สร้างขึ้นอย่างแน่นหนาเพื่อป้องกันการพังทลายจากแผ่นดินไหว ค้ำยันนี้มีลักษณะเป็นขมวด volute ซึ่งเป็นลักษณะของศิลปะบารอก ถือเป็นค้ำยันที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่งในศิลปะฟิลิปปินส์ โบสถ์ในสกุลช่างโลวาก-วีกัน มักปรากฏค้ำยันขนาดใหญ่เช่นนี้เสมอ และมีบันได 1 อันแทรกอยู่ระหว่างค้ำยันเพื่อสำหรับขึ้นไปยังหลังคาโบสถ์ ลักษณะเช่นนี้ปรากฏเช่นกันที่โบสถ์ Santa Maria ใกล้เมืองวีกัน แต่แตกต่างไปจากสกุลช่างมะนิลาอย่างสิ้นเชิงเนื่องจากโบสถ์ในสกุลช่างมะนิลาไม่เน้นการเสริมค้ำยัน

ภายในโบสถ์เมืองปาวาย
ปาวาย
สถาปัตยกรรมภายในโบสถ์เมืองปาวาย

ภายในโบสถ์เมืองปาวาย เป็นโบสถ์ที่ปรากฏแท่นบูชา (altar) จำนวนสามซุ้มตามความนิยมของโบสถ์เมืองโลวาก-วีกัน ซุ้มกลางประดิษฐานนักบุญออกุสติน ส่วนซุ้มด้านข้างประดิษฐานพระเยซูและครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ โบสถ์มีความยาวมากแต่มีหลังคาเป็นเครื่องไม้มุงสังกะสี อนาง น่าสังเกตว่าหลงคาแบบง่ายๆเช่นนี้เป็นความนิยมของโบสถ์สกุลช่างเมืองโลวาก-วีกัน

หอคอยประจำโบสถ์เซนต์วิลเลี่ยม
ลาวัก
สถาปัตยกรรมหอคอยประจำโบสถ์เซนต์วิลเลี่ยม

ลักษณะของหอระฆังในสกุลช่างเมืองโลวากนั้น แตกต่างไปจากสกุลช่างเมือวีกันอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากหอระฆังสกุลช่างวีกันมักเป็นแปดเหลี่ยมแต่หอระฆังสกุลช่างโลวากกลับเป็นสี่เหลี่ยมซ้อนกันหลายชั้นเสมอ ซึ่งเป็นระเบียบที่สืบทอดมาจากหอระฆังของโบสถ์เมืองปาวาย อันสืบทอดมาจากศิลปะสเปนอีกทีหนึ่ง น่าสังเกตว่า ที่มุมด้านข้างของหอคอยปรากฏค้ำยัน (Buttress) ขนาดใหญ่จำนวนมาก และสร้างขึ้นห่างจากโบสถ์เนื่องจากกลัวว่าหอคอยจะล้มทับโบสถ์หากเกิดแผ่นดินไหว หอคอยในแถบนี้จึงตั้งแยกจากโบสถ์เสมอ

หอระฆังของอาสนวิหารเซนต์แอนดรูส์
สิงคโปร์
สถาปัตยกรรมหอระฆังของอาสนวิหารเซนต์แอนดรูส์

ศิลปกรรม อาสนวิหารเซนต์แอนดรูส์ เป็นโบสถ์แบบนีโอโกธิคที่มีขนาดใหญ่และสง่างามที่สุดในสิงคโปร์ ด้านหน้าประดับด้วยหอระฆังขนาดใหญ่ มีตัวอาคารซ้อนกันสามชั้นประดับด้วยหน้าต่างโค้งแหลมแบบโกธิค ด้านบนมีหลังคาทรงกระโจมแหลมแปดเหลี่ยมซึ่งเป็นลักษณะที่นิยมในศิลปะโกธิคเช่นกัน

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสิงคโปร์
สิงคโปร์
สถาปัตยกรรมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสิงคโปร์

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสิงคโปร์ ถือเป็นอาคารแบบพัลลาเดียนที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่งในสิงคโปร์ เป็นอาคารที่มีองค์ประกอบแบบคลาสิกทั้งหมด อาร์คโค้ง เสาดอริก-ไอโอนิก หน้าจั่วสามเหลี่ยมและโดมกลม แผนผังอยู่แบบพัลลาเดียน คือแผนผังรูปตัว E ที่มีมุขกลางยื่นออกมาด้านหน้าและชักปีกออกไปสองด้าน ที่ปลายสุดมีมุขขนาบ แผนผังแบบนี้ถือเป็นแผนผังที่มีเหตุผลและใช้กับสถานที่ราชการทั้งในยุโรปและในประเทศอาณานิคมต่างๆ

จิตรกรรมในเจดีย์อเพยทนะ
พุกาม
จิตรกรรมจิตรกรรมในเจดีย์อเพยทนะ

อิทธิพลของศิลปะปาละที่สังเกตได้ก็คือ การใช้สีโทนร้อนเป็นหลัก เช่น สีแดง สีเหลือง สีดำและสีขาว ส่วนสีโทนเย็น เช่น สีเขียวแทบไม่ปรากฏ ภายในทางประทักษิณภายในปรากฏซุ้มจระนำซึ่งเคยประดิษฐานพระพุทธรูปมาก่อน ซุ้มจระนำเหล่านี้ขนาบข้างโดยพระโพธิสัตว์ในลัทธิมหายาน โดยพระโพธิสัตว์เหล่านี้แต่งตัวคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก เช่น การทรงมงกุฎที่มีกระบังหน้าสามตาบ การทรงยัชโญปวีตตวัดเป็นรูปตัว S และการนุ่งผ้านุ่งเป็นริ้ว

พระโพธิสัตว์มัญชุศรี จิตรกรรมในเจดีย์อเพยทนะ
พุกาม
จิตรกรรมพระโพธิสัตว์มัญชุศรี จิตรกรรมในเจดีย์อเพยทนะ

อิทธิพลของศิลปะปาละที่สังเกตได้ก็คือ การใช้สีโทนร้อนเป็นหลัก เช่นสีแดง สีเหลือง สีดำและสีขาว ส่วนสีโทนเย็นเช่นสีเขียวแทบไม่ปรากฏ ภายในทางประทักษิณภายในปรากฏซุ้มจระนำซึ่งเคยประดิษฐานพระพุทธรูปมาก่อน ซุ้มจระนำเหล่านี้ขนาบข้างโดยพระโพธิสัตว์ในลัทธิมหายาน โดยพระโพธิสัตว์เหล่านี้แต่งตัวคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก เช่น การทรงมงกุฎที่มีกระบังหน้าสามตาบ การทรงยัชโญปวีตตวัดเป็นรูปตัว S และการนุ่งผ้านุ่งเป็นริ้ว

พระพุทธเจ้าและฤาษีประทับในถ้ำ จิตรกรรมในเจดีย์อเพยทนะ
พุกาม
จิตรกรรมพระพุทธเจ้าและฤาษีประทับในถ้ำ จิตรกรรมในเจดีย์อเพยทนะ

เจดีย์อเพยทนะ สร้างขึ้นโดยพระนางอภัยรัตนา พระมเหสีในพระเจ้าจันสิตถาในพุทธศตวรรษที่ 17 ภายในปรากฏจิตรกรรมซึ่งคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมากและมีแนวโน้มไปทางพุทธศาสนามหายาน