ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แสดง 577 ถึง 584 จาก 883 รายการ, 111 หน้า
กุหนุงกาวี
เกียญาร์
สถาปัตยกรรมกุหนุงกาวี

จันทิกุหนุงกาวี มีลักษณะเป็นหน้าผาริมแม่น้ำ โดยมีการสลักจันทิติดผนังจำนวน 9 หลัง ถือเป็นตัวอย่างจันทิสลักหินติดกับเพิงผาธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในเกาะบาหลี นอกจากนี้ยังถือเป็นตัวอย่างจันทิในศิลปะชวาภาคตะวันออกที่ปรากฏในเกาะบาหลีอีกด้วย เนื่องจากชั้นหลังคาประดับไปด้วยสถูปิกะ/อาคารจำลองซึ่งไม่ปรากฏแล้วในศิลปะบาหลี อนึ่ง ที่ตั้งของกลุ่มจันทิดังกล่าว ย่อมทำให้แม่น้ำที่ไหลผ่านศักดิ์สิทธิ์ไปด้วย

ธาตุ วัดสีเมือง
เวียงจันทน์
สถาปัตยกรรมธาตุ วัดสีเมือง

ธาตุวัดสีเมือง เป็นธาตุที่สร้างด้วยศิลาแลงซึ่งแตกต่างไปจากธาตุที่สร้างด้วยอิฐในระยะร่วมสมัย เท่าที่เหลืออยู่ปรากฏเป็นฐานบัวที่มีบัวคว่ำและท้องไม้ขนาดใหญ่ที่คาดด้วยลูกแก้วอกไก่ ธาตุองค์นี้มักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นสถาปัตยกรรมขอม อย่างไรก็ตาม ขนาดของศิลาแลงที่เล็กกว่าขอมมากและการใช้ลูกแก้วอกไก่คาดกลางท้องไม้ย่อมแสดงว่าธาตุองค์นี้ไม่ใช่ศิลปะขอมอย่างแน่นอน

ธาตุหลวง
เวียงจันทน์
สถาปัตยกรรมธาตุหลวง

เป็นอูบมูงหรือเนินขนาดใหญ่ในผังสี่เหลี่ยม ซึ่งเนินดังกล่าวนี้อาจมีมาก่อน ต่อมามีการสร้างธาตุขึ้นด้านบนอูบมูงดังกล่าว และยังมีการสร้างธาตุขนาดเล็กรายล้อมธาตุองค์องค์ในความหมายที่เกี่ยวข้องกับบารมีของพระพุทธเจ้ารวมถึงความเกี่ยวข้องกับสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ อนึ่ง เจดีย์องค์นี้มีอีกชื่อหนึ่งว่าเจดีย์โลกจุฬามณี ซึ่งหมายถึงเจดีย์ที่บรรจุพระเกศาของพระพุทธเจ้าในคราวออกผนวช การตั้งชื่อเจดีย์เช่นนี้ย่อมสื่อว่าเวียงจันทน์อาจเปรียบได้ดั่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และกษัตริย์เองก็เทียบได้ว่าทรงเป็นพระอินทร์

มหาธาตุ
หลวงพระบาง
สถาปัตยกรรมมหาธาตุ

เจดีย์องค์นี้ประกอบด้วยฐานบัวขนาดใหญ่ด้านล่างซึ่งมีลวดบัวแบบล้านนา คือ เป็น.ฐานบัวสองชั้นที่มีท้องไม้คั่นกลาง แต่กลับไม่เพิ่มมุมใดๆ ฐานดังกล่าวรองรับเรือนธาตุในผังเพิ่มมุม ถัดเป็นปรากฏหลังคาลาด ชั้นซ้อนซึ่งมีเค้าโครงคล้ายบัวถลาในผังแปดเหลี่ยม และองค์ระฆังขนาดเล็ก เค้าโครงของเจดีย์องค์นี้ดูคล้ายกับเจดีย์ทรงปราสาทยอดในศิลปะล้านนาในครึ่ง หลังพุทธศตวรรษที่ 21 อย่างมาก เช่น เจดีย์วัดโลกโมฬี เชียงใหม่ ซึ่งสร้างเพื่อบรรจุพระอัฐิของโดยพระเมืองเกศเกล้า เป็นต้น อย่างไรก็ตาม รายละเอียดของเจดีย์องค์นี้แตกต่างพอสมควรไปจากเจดีย์ล้านนา ซึ่งความแตกต่างดังกล่าวอาจแสดงให้เห็นว่าเจดีย์องค์นี้ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ในระยะหลังด้วย

ธาตุวัดแสน
หลวงพระบาง
สถาปัตยกรรมธาตุวัดแสน

เจดีย์องค์นี้มีลักษณะเป็นเจดีย์แบบล้านช้างอย่างแท้จริง กล่าวคือ ประกอบด้วยฐานบัวเข่าพรหมที่มีกาบเท้าสิงห์เป็นวงโค้งต่อเนื่องกัน อันสืบมาจากฐานสิงห์ในศิลปะอยุธยาตอนกลาง ลวดบัวของฐานลดหน้ากระดานบนทิ้ง โนกำหนดให้บัวหงายกับบัวคว่ำประกบกันและตวัดงอนขึ้นเพื่อให้เส้นรอบนอกของฐานมีความลื่นไหลต่อเนื่อง ส่วนกลางเป็นบัวเหลี่ยมที่มีเส้นรอบนอกที่ลื่นไหลเช่นกัน บัวเหลี่ยมนี้ถือเป็นลักษณะเฉพาะของเจดีย์หรือธาตุในศิลปะล้านช้าง ปรากฏทั้งในสกุลช่างหลวงพระบางและเวียงจันทน์

ธาตุพูสี
สถาปัตยกรรมธาตุพูสี

เจดีย์องค์นี้มีลักษณะเป็นเจดีย์ที่ใช้ “บัวเหลี่ยม” เป็นส่วนสำคัญตามแบบล้านช้าง อย่างไรก็ดี ฐานที่เป็นฐานบัวท้องไม้กว้างกลับมีความสัมพันธ์กับเจดีย์กลุ่มอิทธิพลล้านนามากกว่า ดังที่ปรากฏที่วัดอาไพและวัดหมื่นนาในเมืองหลวงพระบางเช่นกัน เจดีย์องค์ในผังสี่เหลี่ยมลบมุม ซึ่งถือเป็นแผนผังที่นิยมสำหรับธาตุในศิลปะล้านช้าง

ธาตุวัดสบ
หลวงพระบาง
สถาปัตยกรรมธาตุวัดสบ

เจดีย์องค์นี้ได้รับอิทธิพลเจดีย์ทรงเครื่องในศิลปะรัตนโกสินทร์เป็นอย่างมาก โยเฉพาะองค์ระฆังในผังสี่เหลี่ยมเพิ่มมุมไม้ 12 และบัวคลุ่มเถา อย่างไรก็ตาม เจดีย์องค์นี้กลับเป็นการสร้างรูปแบบใหม่ โยการกำหนดให้เจดีย์ทรงเครื่องแบบรัตนโกสินทร์กลายเป็นยอดของเจดีย์ทรงปราสาท ซึ่งมีเรือนธาตุและมีฐานที่ไม่เหมือนทีเดียวกับเจดีย์ในกรุงเทพ

ธาตุวัดอาไพ
หลวงพระบาง
สถาปัตยกรรมธาตุวัดอาไพ

เจดีย์องค์นี้ได้รับอิทธิพลเจดีย์ทรงระฆังในศิลปะล้านนาอย่างมาก ทั้งฐานบัวที่อยู่ในผัง สี่เหลี่ยมเพิ่มมุมและมีท้องไม้กว้าง ชุดฐานรองรับองค์ระฆังในผังกลมที่ปรับเปลี่ยนมาจากบัวถลาในศิลปะล้านนา ละองค์ระฆังกลมขนาดเล็ก เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เจดีย์องค์นี้คงไม่ได้สร้างขึ้นร่วมสมัยราชวงศ์มังราย แต่คงสร้างขึ้นในภายหลัง คือราวพุทธศตวรรษที่ 24 เนื่องจากเจดีย์มีขนาดเล็กและมีลวดบัวที่ปรับเปลี่ยนไปจากศิลปะล้านนามาก