ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 529 ถึง 536 จาก 884 รายการ, 111 หน้า
ซุ้มทรงปราสาทของปราสาทบิญหลำ
บิ่ญดิน
สถาปัตยกรรมซุ้มทรงปราสาทของปราสาทบิญหลำ

เป็นปราสาทสมัยบิญดิ่นตอนต้นที่งดงามด้วยการตกแต่งซุ้มจระนำทรงปราสาท ปราสาทจำลอง ประดับไปด้วยซุ้มกาล-มกรแบบอิทธิพลชวาซึ่งยังตกทอดลงมาจนถึงระยะนี้ชั้นซ้อนของปราสาทจำลอง ปรากฏชั้นซ้อนจำลนวนสี่ชั้น แต่ละชั้นประดับไปด้วยซุ้มจระนำและอาคารจำลองอย่างงดงาม โดยซุ้มทั้งหมดทับอยู่บนกรอบรูปใบหอกอีกทีหนึ่ง เนื่องด้วยซุ้มปราสาทดังกล่าวปรากฏ “ซุ้มกาล-มกร” แบบอิทธิพลชวาซึ่งแพร่หลายมาตั้งแต่ศิลปะมิเซิน A1 และยังปรากฏตกทอดอยู่มาจนถึงศิลปะบิญดิ่นตอนต้น ดังนั้นเมื่อศึกษาร่มกับเสาติดผนังทำให้ทราบว่าปราสาทแห่งนี้อยู่ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างมิเซิน A1 กับบิญดิ่นตอนต้น

ปราสาทถาปดอย
บิ่ญดิน
สถาปัตยกรรมปราสาทถาปดอย

ปราสาทถาปดอย เป็นปราสาทที่ได้รับอิทธิพลของศิลปะขอมอย่างมาก ดังที่มีการใช้หินตามแบบขอมแทรกเข้าในอาคารที่ใช้อิฐเป็นวัสดุหลัก นอกจากนี้ ปราสาทยังมีการประดับกลีบขนุน ทำให้ยอดของปราสาทกลายเป็นทรงพุ่มดังที่ปรากฏที่ปราสาทขอมตั้งแต่สมัยนครวัดลงมา นอกจากนี้ การใช้ “ครุฑแบก” แบกที่มุมปราสาทยังเกี่ยวข้องกับศิลปะขอมอีกด้วย เนื่องจากจามตกเป็นเมืองขึ้นของขอมในสมัยบิญดิ่นตอนปลาย ร่วมสมัยกับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ของขอม ด้วยเหตุนี้ จึงสามารถกำหนดอายุปราสาทที่ได้อิทธิพลขอมว่าควรอยู่ในสมัยบิญดิ่นตอนปลาย

ยอดของปราสาทถาปดอย
บิ่ญดิน
สถาปัตยกรรมยอดของปราสาทถาปดอย

ปราสาทถาปดอย เป็นปราสาทที่ได้รับอิทธิพลของศิลปะขอมอย่างมาก ดังที่มีการใช้หินตามแบบขอมแทรกเข้าในอาคารที่ใช้อิฐเป็นวัสดุหลัก นอกจากนี้ ปราสาทยังมีการประดับกลีบขนุน ทำให้ยอดของปราสาทกลายเป็นทรงพุ่มดังที่ปรากฏที่ปราสาทขอมตั้งแต่สมัยนครวัดลงมา นอกจากนี้ การใช้ “ครุฑแบก” แบกที่มุมปราสาทยังเกี่ยวข้องกับศิลปะขอมอีกด้วย เนื่องจากจามตกเป็นเมืองขึ้นของขอมในสมัยบิญดิ่นตอนปลาย ร่วมสมัยกับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ของขอม ด้วยเหตุนี้ จึงสามารถกำหนดอายุปราสาทที่ได้อิทธิพลขอมว่าควรอยู่ในสมัยบิญดิ่นตอนปลาย

ปราสาทแก๋งเตียน
บิ่ญดิน
สถาปัตยกรรมปราสาทแก๋งเตียน

เป็นปราสาทที่มีเสาติดผนังห้าต้น โดยเสาไม่มีร่องและไม่มีลวดลายประดับใดๆ ยกเว้นเสาต้นข้างที่ตกแต่งด้วยหิน อันแสดงอิทธิพลบายน ยอดปราสาทเป็นชั้นวิมานตามแบบจามแท้ อย่างไรก็ตาที่มุมมีการประดับด้วยปราสาทจำลองซึ่งเป็นพุ่มคล้ายถะจีน ปราสาทจำลองที่เป็นพุ่มนี้ปรากฏเช่นกันกับเทวาลัยในระยะเดียวกัน เช่นปราสาททูเทียน เป็นต้น จากเสาติดผนังห้าต้นที่ไม่มีลายประดับ การประดับหินตามอิทธิพลบายน และรูปแบบปราสาทมุมที่เป็นพุ่ม ทำให้กำหนดอายุได้ว่าอยู่ในศิลปะบิญดิ่นตอนปลาย

ปราสาทโพนคร
ญาจาง
สถาปัตยกรรมปราสาทโพนคร

ปราสาทโพนคร เป็นปราสาทในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างสมัยมิเซิน A1 และบิญดิ่น ดังจะเห็นได้จากเสาติดผนังจำนวน 5 ต้นที่ยังคงมีร่องเสาอยู่ตามแบบมิเซิน A1 แต่ไม่มีลวดลายแล้ว ส่วนซุ้มกลับเป็นใบหอกตามแบบบิญดิ่น

ที่ตั้งของปราสาทโพนคร
ญาจาง
สถาปัตยกรรมที่ตั้งของปราสาทโพนคร

ปราสาทโพนคร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำที่กำลังออกสู่ทะเล ซึ่งถือเป็นจุดสำคัญทางภูมิศาสตร์ (Landmark) นอกจากนี้ ยังเกี่ยวข้องกับคติที่เชื่อว่าพระเทวีทรงเกี่ยวข้องกับแม่น้ำและทะเล ซึ่งมีความแบนเหมือนโยนีอีกด้วย

ปราสาทหัวล่าย
ฟานรัง
สถาปัตยกรรมปราสาทหัวล่าย

ปราสาทมีเสาติดผนังสี่ต้นตามระบบศิลปะจามระยะต้น กึ่งกลางเสามีแถบลายซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะสมัยหัวล่าย ที่ฐานปราสาทประดับด้วยปราสาทจำลองซึ่งคล้ายคลึงกับศิลปะอินเดียและศิลปะขอมก่อนเมืองพระนคร ส่วนด้านบนของปราสาทนั้นเป็นเรือนธาตุจำลองซ้อนกันตามระบบวิมานอินเดียใต้

ซุ้มของปราสาทหัวล่าย
ญาจาง
สถาปัตยกรรมซุ้มของปราสาทหัวล่าย

ซุ้มของปราสาทหัวล่าย เป็นซุ้มรูปพิณฝรั่งคว่ำ ครอบคลุมด้วยลายขนมจีนจนเต็ม มีลายขมวดเข้าพร้อมขมวดออก ไม่มีรูปสัตว์ใดๆ แทรกอยู่ในซุ้ม ทั้งหมดนี้แสดง “ความเป็นพื้นเมือง” ของซุ้มในสมัยหัวล่ายที่แตกต่างไปจากกูฑุแบบอินเดียในศิลปะมิเซิน E1 แล้ว