ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ประติมากรรมเซนต์เจมส์ย่ำยีพวกมัวร์
ป้อมซานติอาโก้ซึ่งอยู่ทางเหนือของเมืองอินทรามูรอส เดิมเป็นที่ตั้งป้อมของสุลต่านสุไลมาน ต่อมา ใน ค.ศ.1571 ชาวสเปนสถาปนาเมืองมะนาขึ้นเป็นเมืองหลวงใหม่ของฟิลิปปินส์ และสร้างป้อมซานติอาโกขึ้น ป้อมนี้เดิมมีกำแพงสร้างขึ้นด้วยไม้ ต่อมา ในศตวรรษที่ 18 มีกรสร้างประตูของป้อมอุทิศให้กับเซนต์เจมส์ นักบุญผู้อุปถัมภ์ประเทศสเปน ต่อมาประตูแห่งนี้ถูกทำลายในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ก่อนที่จะได้รับการสร้างขึ้นใหม่ในปลายศตวรรษที่ 20

ประติมากรรมปิเอต้า
ในช่วงชีวิต พระนางมีเรียต้องมีมหาทุกข์ถึงเจ็ดประการซึ่งทิ่มแทงหัวใจของพระนางประหนึ่งดาบ โดยหนึ่งในทุกข์ทั้งเจ็ดของพระนางนั้น ก็คือเมื่อพระมารดารับศพพระเยซูลงจากกางเขน ในทางประติมานวิทยา จะเรียกการรับพระศพลงจากไม้กางเขนแล้วพระนางมาเรียร้องไห้คร่ำครวญว่า “ปิเอต้า” แปลว่า “น่าสงสาร”

ประติมากรรมซานโตนีโญ่
ในประติมานวิทยาทาคริสต์ศาสนา พระเยซูกุมารสามารถแสดงพระองค์เป็นกษัตริย์แห่งสวรรค์ได้ โดยพระองค์มักทรงมงกุฎกษัตริย์ มีผ้าคลุมกษัตริย์ พระหัตถ์หนึ่งทรงคทาอีกพระหัตถ์หนึ่งถือลูกโลกซึ่งทั้งสองเป็นเครื่องราชูปโภคแบบยุโรป พระเยซูกุมารที่แสดงตนเป็นกษัตริย์นั้นเรียกเป็นภาษาสเปนว่า Santo Nino

ประติมากรรมพระตรีเอกภาพ
พระตรีเอกภาพ หมายถึง พระเป็นเจ้าหนึ่งเดียวแต่มีสามพระบุคคล และทรงดำรงอยู่พร้อมกันตั้งแต่ก่อนกาลเวลา ประกอบด้วยพระบิดา พระบุตรและพระจิต ความเชื่อเรื่องพระตรีเอกภาพเกิดจากการวิเคราะห์บริบทต่างๆในพระคัมภีร์และการสังคายนาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 4 ในสมัยโบราณมักมีข้อห้ามการสร้างรูปพระบิดา รูปพระตรีเอกภาพส่วนมากจึงถูกสร้างขึ้นในสมัยใหม่

สถาปัตยกรรมปราสาทนครวัด
ปราสาทล้อมรอบไปด้วยคูน้ำซึงกว้างด้านละ 1 กิโลเมตร ด้านหน้าปรากฏทางเดินยาวนำเข้าสู่ปราสาทซึ่งตั้งอยู่บนฐานสามชั้น แต่ละชั้นมีระเบียงคดล้อมรอบ มีโคปุระที่ด้านทุกด้านและมีปราสาทที่มุมทุกมุม ด้านบนสุดประดิษฐานปราสาทประธานจำนวนห้าหลัง ปราสาทนครวัดถือเป็นปราสาทที่นำความสำเร็จของปราสาทตาแก้วมาผสมกับความสำเร็จของปราสาทบาปวน ด้วนเหตุนี้ ปราสาทแห่งนี้จึงมีปราสาทประธานห้าหลังอยู่บนยอดเช่นเดียวกับปราสาทตาแก้ว และสามารถนำระเบียงคดขึ้นไปไว้ด้านบนฐานเป็นชั้นแต่ละชั้นได้

ประติมากรรมพระพุทธรูปประทับยืนที่ชเวซิกอง
พระพุทธรูปลักษณะตามอย่างพระพุทธรูปประทับยืนในศิลปะพุกามโดยทั่วไป กล่าวคือ ครองจีวรห่มคลุม เรียบไม่มีริ้ว มีชายจีวรตงลงมาจากพระหัตถ์ทั้งสองข้างแตกเป็นเขี้ยวตะขาบตามแบบปาละตอนปลาย พระหัตถ์ทั้งสองแสดงปางประทานอภัยในพระหัตถ์ขวาและจับชายจีวรในแนวลงในพระหัตถ์ซ้าย อันเป็นระบบอินเดียเหนือที่พระหัตถ์ทั้งสองมักมีแนวพระหัตถ์ตรงกันข้ามกัน

ประติมากรรมพระพุทธรูปประทับยืนที่อานันทเจดีย์
พระพุทธรูปลักษณะตามอย่างพระพุทธรูปประทับยืนในศิลปะพุกามโดยทั่วไป กล่าวคือ ครองจีวรห่มคลุม เรียบไม่มีริ้ว มีชายจีวรตงลงมาจากพระหัตถ์ทั้งสองข้างแตกเป็นเขี้ยวตะขาบตามแบบปาละตอนปลาย พระหัตถ์ทั้งสองแสดงปางปฐมเทศนา ซึ่งถือเป็นลักษณะเฉพาะในศิลปะพุกามที่นำปางปฐมเทศนามาใช้กับพระพุทธรูปประทับยืน

ประติมากรรมพระพุทธรูปประทับนั่งที่อานันทเจดีย์
พระพุทธรูปลักษณะตามอย่างพระพุทธรูปประทับนั่งในศิลปะพุกามโดยทั่วไป กล่าวคือ ครองจีวรห่มเฉียงเสมอ เรียบไม่มีริ้ว มีชายจีวรตงลงมาจากพระอังสาซ้ายปลายแตกเป็นเขี้ยวตะขาบตามแบบปาละ พระหัตถ์แสดงปางมารวิชัยอันเป็นมุทราที่ได้รับความนิยมสูงสุดมาก่อนในศิลปะปาละ ประทับนั่งบนฐานกลีบบัวคว่ำบัวหงายซึ่งได้รับอิทธิพลปาละเช่นกัน