ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 49 ถึง 56 จาก 90 รายการ, 12 หน้า
มหากปิชาดก
ไม่ปรากฏ
ประติมากรรมมหากปิชาดก

รูปแบบศิลปะของภาพสลักที่บุโรพุทโธมีความคล้ายคลึงศิลปะอินเดียเป็นอย่างมาก ทั้งรูปแบบเครื่องแต่งกายของประติมากรรม ข้าวของเครื่องใช้ ตัวละครที่กลมกลึงและมีการเว้นพื้นที่ว่างเปล่า ทั้งหมดนี้แสดงว่าศิลปะชวาภาคกลางมีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับศิลปะอินเดีย

กัจฉปาวทาน
ไม่ปรากฏ
ประติมากรรมกัจฉปาวทาน

รูปแบบศิลปะของภาพสลักที่บุโรพุทโธมีความคล้ายคลึงศิลปะอินเดียเป็นอย่างมาก ทั้งรูปแบบเครื่องแต่งกายของประติมากรรม ข้าวของเครื่องใช้ ตัวละครที่กลมกลึงและมีการเว้นพื้นที่ว่างเปล่า ทั้งหมดนี้แสดงว่าศิลปะชวาภาคกลางมีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับศิลปะอินเดีย

ภาพเล่าเรื่องตามคัณฑวยุหสูตร
ไม่ปรากฏ
ประติมากรรมภาพเล่าเรื่องตามคัณฑวยุหสูตร

รูปแบบศิลปะของภาพสลักที่บุโรพุทโธมีความคล้ายคลึงศิลปะอินเดียเป็นอย่างมาก ทั้งรูปแบบเครื่องแต่งกายของประติมากรรม ข้าวของเครื่องใช้ ตัวละครที่กลมกลึงและมีการเว้นพื้นที่ว่างเปล่า ทั้งหมดนี้แสดงว่าศิลปะชวาภาคกลางมีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับศิลปะอินเดีย

ภาพเล่าเรื่องรามายณะที่จันทิปรัมบะนัน
กลาเตน
ประติมากรรมภาพเล่าเรื่องรามายณะที่จันทิปรัมบะนัน

รูปแบบภาพล่าเรื่องที่จันทิปรัมบะนันมีพัฒนาการแล้วจากภาพเล่าเรื่องที่บุโรพุทโธ กล่าวคือ นิยมการถมพื้นที่ว่างจนเต็มไปด้วยลวดลายธรรมชาติ เช่น ภาพภูเขาและต้นไม้ ซึ่งแนวโน้มเช่นนี้เรียกโดยศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศว่า “การรังเกียจพื้นที่ว่างเปล่า” ซึ่งแสดงแนวโน้มที่ใกล้เคียงกับศิลปะชวาภาคตะวันออกเข้าไปทุกที แม้ว่าลักษณะบางประการจะใกล้เคียงกับศิลปะชวาภาคตะวันออก แต่ภาพบุคคลยังคงกลมกลึงมีปริมาตร และหลายครั้งยังคงหันหน้าตรงตามแบบภาพเล่าเรื่องในศิลปะอินเดีย

ภาพเล่าเรื่องพระกฤษณะที่จันทิปรัมบะนัน
กลาเตน
ประติมากรรมภาพเล่าเรื่องพระกฤษณะที่จันทิปรัมบะนัน

รูปแบบภาพล่าเรื่องที่จันทิปรัมบะนันมีพัฒนาการแล้วจากภาพเล่าเรื่องที่บุโรพุทโธ กล่าวคือ นิยมการถมพื้นที่ว่างจนเต็มไปด้วยลวดลายธรรมชาติ เช่น ภาพภูเขาและต้นไม้ ซึ่งแนวโน้มเช่นนี้เรียกโดยศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศว่า “การรังเกียจพื้นที่ว่างเปล่า” ซึ่งแสดงแนวโน้มที่ใกล้เคียงกับศิลปะชวาภาคตะวันออกเข้าไปทุกที แม้ว่าลักษณะบางประการจะใกล้เคียงกับศิลปะชวาภาคตะวันออก แต่ภาพบุคคลยังคงกลมกลึงมีปริมาตร และหลายครั้งยังคงหันหน้าตรงตามแบบภาพเล่าเรื่องในศิลปะอินเดีย

พระธยานิพุทธรัตนสัมภวะ
จาการ์ตา
ประติมากรรมพระธยานิพุทธรัตนสัมภวะ

พระพุทธรูปในศิลปะชวาภาคกลางได้รับอิทธิพลที่ปะปนระหว่างศิลปะหลังคุปตะและศิลปะปาละของอินเดีย พระพุทธรูปมีพระวรกายอวบอ้วน มีอุณาโลมกลางพระนลาฏตามแบปาละ ห่มเฉียงแต่ไม่มีชายจีวรที่พระอังสาซ้ายซึ่งคล้ายกับศิลปะหลังคุปตะมากกว่า ประทับนั่งขัดสมาธิเพชรตามแบบอินเดียเหนือและอยู่บนฐานกลีบบัวแบบปาละ

พระธยานิพุทธ อมิตาภะ
จาการ์ตา
ประติมากรรมพระธยานิพุทธ อมิตาภะ

พระพุทธรูปในศิลปะชวาภาคกลางได้รับอิทธิพลที่ปะปนระหว่างศิลปะหลังคุปตะและศิลปะปาละของอินเดีย พระพุทธรูปมีพระวรกายอวบอ้วน มีอุณาโลมกลางพระนลาฏตามแบปาละ ห่มเฉียงแต่ไม่มีชายจีวรที่พระอังสาซ้ายซึ่งคล้ายกับศิลปะหลังคุปตะมากกว่า ประทับนั่งขัดสมาธิเพชรตามแบบอินเดียเหนือและอยู่บนฐานกลีบบัวแบบปาละ

พระวิษณุ
จาการ์ตา
ประติมากรรมพระวิษณุ

พระวิษณุองค์นี้ถือเป็นตัวอย่างสำหรับศึกษาเครื่องแต่งกายในศิลปะชวาภาคกลางได้เป็นอย่างดี พระวิษณุทรงกิรีฏมกุฎที่ประดับด้วยตาบจำนวน 5 ตายตามแบบปาละ ทรงอุทรพันธะตามแบบอินเดียใต้ ทรงผ้านุ่งสั้นข้างยาวข้างซึ่งเป็นผ้านุ่งแบบหนึ่งในศิลปะปาละ มีเข็มขัดเพชรพลอยตามแบบปาละแต่มีผ้าคาดวงโค้งตามแบบอินเดียใต้ น่าสังเกตว่าเครื่องแต่งกายในศิลปะชวาภาคกลางนั้นมักเป็นส่วนผสมกันระหว่างศิลปะปาละและอินเดียใต้