ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 33 ถึง 40 จาก 89 รายการ, 12 หน้า
ปราสาทพิมานอากาศ
อังกอร์
สถาปัตยกรรมปราสาทพิมานอากาศ

เป็นปราสาทบนฐานเป็นชั้นจำนวน 3 ชั้น ด้านบนมีปราสาทเพียงหลังเดียว แต่มีระเบียงคดอยู่โดยรอบที่ด้านบนฐานเป็นชั้น ปราสาทแห่งนี้แสดงให้เห็นพัฒนาการใหม่ที่พยายามนำระเบียงคดไปไว้ด้านบนฐานเป็นชั้น แตกต่างไปจากปราสาทตาแก้วที่ยังคงวางระเบียงคดไว้ด้านล่าง

ปราสาทนครวัด
อังกอร์
สถาปัตยกรรมปราสาทนครวัด

ปราสาทล้อมรอบไปด้วยคูน้ำซึงกว้างด้านละ 1 กิโลเมตร ด้านหน้าปรากฏทางเดินยาวนำเข้าสู่ปราสาทซึ่งตั้งอยู่บนฐานสามชั้น แต่ละชั้นมีระเบียงคดล้อมรอบ มีโคปุระที่ด้านทุกด้านและมีปราสาทที่มุมทุกมุม ด้านบนสุดประดิษฐานปราสาทประธานจำนวนห้าหลัง ปราสาทนครวัดถือเป็นปราสาทที่นำความสำเร็จของปราสาทตาแก้วมาผสมกับความสำเร็จของปราสาทบาปวน ด้วนเหตุนี้ ปราสาทแห่งนี้จึงมีปราสาทประธานห้าหลังอยู่บนยอดเช่นเดียวกับปราสาทตาแก้ว และสามารถนำระเบียงคดขึ้นไปไว้ด้านบนฐานเป็นชั้นแต่ละชั้นได้

ปราสาทบันทายสำเหร่
อังกอร์
สถาปัตยกรรมปราสาทบันทายสำเหร่

แม้ว่าไม่ปรากฏจารึกว่าปราสาทแห่งสร้างขึ้นโดยผู้ใด แต่จากรูปแบบศิลปกรรมแล้ว ปราสาทแห่งนี้อยู่ในสมัยนครวัด ปราสาทสร้างด้วยหินทั้งหลัง และเจาะประตูทั้งสี่ทิศ ตามแบบสมัยพระนครตอนปลาย ยอดวิมานประดับด้วยกลีบขนุน เรือนธาตุมีการเพิ่มมุม ด้านหน้ามีมณฑปตามแผนผังของปราสาทบนพื้นราบ ที่มักให้ความสำคัญกับแกนหลักมากกว่าที่จะให้ความสำคัญกับความสมมาตร อนึ่ง ปราสาทแห่งนี้มีเค้าโครงด้านสถาปัตยกรรมคล้ายคลึงกับปราสาทพิมายในประเทศไทย ซึ่งสร้างขึ้นในศิลปะนครวัดเช่นเดียวกัน

ปราสาทบายน
อังกอร์
สถาปัตยกรรมปราสาทบายน

ปราสาทบายน สร้างขึ้นเป็นปราสาทบนฐานเป็นชั้นหลังสุดท้ายเพื่ออุทิศให้กับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เองในฐานะอวตารของพระพุทธเจ้าฝ่ายมหายาน พระองค์ทรงสร้างปราสาทที่ประกอบด้วยพระพักตร์จำนวนมากซึ่งยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าควรจะเป็นพระพักตร์ของทิพยบุคคลองค์ใด บางท่านเห็นว่าอาจเป็นพระพักตร์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เอง ปราสาทมียอดจำนวนมากซึ่งทำให้ปราสาทดูซับซ้อนและลึกลับกว่าปราสาทนครวัดมาก นักวิชาการบางท่านเห็นว่าปราสาทบายนเสื่อมลงจากปราสาทนครวัดมาก เนื่องจากแผนผังไม่สมมาตร ปราสาทหลังกลางอยูในผังวงกลม มีห้องต่างๆจำนวนมากซึ่งแสดงให้เห็นการวางผังปราสาทในรูปของ “มณฑล” ทางพุทธศาสนามหายาน

ปราสาทประธาน : ปราสาทบายน
อังกอร์
สถาปัตยกรรมปราสาทประธาน : ปราสาทบายน

ปราสาทบายน สร้างขึ้นเป็นปราสาทบนฐานเป็นชั้นหลังสุดท้ายเพื่ออุทิศให้กับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เองในฐานะอวตารของพระพุทธเจ้าฝ่ายมหายาน พระองค์ทรงสร้างปราสาทที่ประกอบด้วยพระพักตร์จำนวนมากซึ่งยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าควรจะเป็นพระพักตร์ของทิพยบุคคลองค์ใด บางท่านเห็นว่าอาจเป็นพระพักตร์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เอง ปราสาทมียอดจำนวนมากซึ่งทำให้ปราสาทดูซับซ้อนและลึกลับกว่าปราสาทนครวัดมาก นักวิชาการบางท่านเห็นว่าปราสาทบายนเสื่อมลงจากปราสาทนครวัดมาก เนื่องจากแผนผังไม่สมมาตรปราสาทหลังกลางอยูในผังวงกลม มีห้องต่างๆจำนวนมากซึ่งแสดงให้เห็นการวางผังปราสาทในรูปของ “มณฑล” ทางพุทธศาสนามหายาน

พระพักตร์บนยอดของปราสาทบายน
อังกอร์
สถาปัตยกรรมพระพักตร์บนยอดของปราสาทบายน

ปราสาทบายน สร้างขึ้นเป็นปราสาทบนฐานเป็นชั้นหลังสุดท้ายเพื่ออุทิศให้กับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เองในฐานะอวตารของพระพุทธเจ้าฝ่ายมหายาน พระองค์ทรงสร้างปราสาทที่ประกอบด้วยพระพักตร์จำนวนมากซึ่งยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าควรจะเป็นพระพักตร์ของทิพยบุคคลองค์ใด บางท่านเห็นว่าอาจเป็นพระพักตร์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เอง อย่างไรก็ตม บางท่านเห็นว่าพระพักตร์ดังกล่าวอาจหมายถึงพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรอันเป็นพระโพธิสัตว์แหงความกรุณาในพุทธศาสนามหายาน บาท่านเห็นว่าอาจเป็นสนัตกุมารพรหมอันเป็นพระพรหมในพุทธศาสนามหายานก็ได้ น่าสังเกตว่าพระพักตร์เหล่านี้ล้วนแต่มีการแสดงอารมณ์แบบเดียวกัน คือ ค่อนข้างลึกลับ ตาปิด ยิ้มมุมปากซึ่งเรียกกันโดยเฉพาะว่า “ยิ้มแบบบายน”

ปราสาทนาคพัน
อังกอร์
สถาปัตยกรรมปราสาทนาคพัน

พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงขุดบารายชยตฑาคะขึ้นที่ด้านหน้าเมืองราชัยศรี (ปราสาทพระขรรค์) กลางสระนั้นโปรดให้สร้างปราสาทนาคพันขึ้นเพื่อตามคติสระอโนดาต อันเป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ทางพุทธศาสนา

ประตูเมืองนครธมทางด้านทิศใต้
อังกอร์
สถาปัตยกรรมประตูเมืองนครธมทางด้านทิศใต้

ประตูเมืองพระนครหลวง ประกอบไปด้วยสองส่วน คือประตูเมืองซึ่งออกแบบเป็นพระพักตร์ของบุคคลจำนวน 4 พักตร์ และราวสะพานด้านหน้าข้ามคูเมืองซึ่งมีราวสะพานเป็นรูปการกวนเกษียรสมุทร ซุ้มประตูซึ่งมีพระพักตร์ทั้งสี่นี้บางท่านสันนิษฐานว่าอาจหมายถึง “จตุโลกบาลทั้งสี่” ผู้ดูแลทั้งสี่ทิศของจักรวาลก็ได้ ราวบันไดรูปการกวนเกษียรสมุทรนั้น ย่อมแสดงให้เห็นคติที่ว่าบุคคลผ้อยู่ในเมืองดังกล่าวได้รับการปะพรมน้ำอมฤตเสมอและเป็นผู้เป็นอมตะประหนึ่งเทดวา