ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 233 ถึง 240 จาก 471 รายการ, 59 หน้า
รายละเอียดบัวรัดเกล้าของปราสาทมิเซิน C1
ดุยเซ็น
สถาปัตยกรรมรายละเอียดบัวรัดเกล้าของปราสาทมิเซิน C1

ปราสาทมิเซิน C1 เป็นปราสาทในศิลปะมิเซิน A1 ซึ่งมีลักษณะสำคัญคือ การทำร่องของเสาให้ทะลุเลยขึ้นไปถึงบัวหัวเสา บัวหัวเสาในระยะนี้ ประกอบด้วยบัวหงายทั้งบัวหงายนูนและบัวหงายเว้า และมีระบบการซ้อนกันอย่างซับซ้อนกว่าศิลปะในระยะก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ปราสาทมิเซิน C1 ยังสลักไม่เสร็จ บัวหัวเสาจึงยังไม่ได้มีรายละเอียด

จันทิภีมะ
โวโนโซโบ
สถาปัตยกรรมจันทิภีมะ

จันทิหลังนี้ ถือเป็นจันทิแบบศิขระที่ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะอินเดียเหนือเพียงแห่งเดียวในศิลปะชวา โดยที่ยอดประกอบด้วยเก็จจำนวน 3 เก็จ แต่ละเก็จประดับด้วยกูฑุซึ่งมีหน้าบุคคลโผล่ ซึ่งคงเป็นการจำลองลวดลายควากษะในศิลปะอินเดียเหนือ ส่วนที่เก็จมุมประดับอามลกะซึ่งเกี่ยวข้องกับศิขระอินเดียเหนือเช่นกัน เส้นรอบนอกศิขระของจันทิภีมะเป็นเส้นตรง อันแตกต่างไปจากยอดของจันทิอรชุนและจันทิปุนตเทพที่เป็นขั้นบันได ภายหลังจากศิลปะชวาภาคกลางตอนต้น จันทิแบบศิขรินเยเหนือจะสูญหายไปจากความนิยมในศิลปะชวา คงเหลือแต่ยอดวิมานอินเดียใต้เท่านั้นที่จะสืบทอดไปถึงระยะหลัง

จันทิเมนดุต
ไม่ปรากฏ
สถาปัตยกรรมจันทิเมนดุต

จันทิตั้งอยู่บนฐานประทักษิณขนาดใหญ่ เรือนธาตุแบ่งออกเป็นสามเก็จ โดยเก็จประธานประดับภาพพระโพธิสัตว์ประทับนั่งอยู่บนดอกบัว ส่วนเก็จมุมประดับพระโพธิสัตว์อันยิ่งใหญ่แปดองค์ในพุทธศาสนามหายาน หรืออัษฏมหาโพธิสัตว์ ซึ่งทำให้จันทิเมนดุตกลายเป็น “มณฑล” หรือแผนภูมิจักรวาลในพุทธศาสนามหายาน ชั้นหลังคาประดับด้วยเรือนธาตุจำลองซ้อนชั้นตามแบบวิมานอินเดียใต้ แต่ประดับไปด้วยสถูปิกะตามแบบชวาภาคกลางแล้ว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้คงได้อิทธิพลมาจากพุทธศาสนาเป็นสำคัญ

จันทิปะวน
โวโนโซโบ
สถาปัตยกรรมจันทิปะวน

จันทิหลังนี้ ถือเป็นจันทิขนาดเล็กที่งดงามที่สุดในศิลปะชวาภาคกลางตอนกลาง จันทิตั้งอยู่บนฐานประทักษิณเช่นเดียวกับจันทิเมนดุต แบ่งออกเป็นสามเก็จ เก็จประธานมีภาพต้นกัลปพฤกษ์สื่อถึงความอุดมสมบูรณ์ ส่งเก็จมุมเป็นภาพพระโพธิสัตว์ยืน ชั้นหลังคาประดับด้วยสถูปิกะตามแบบชาภาคกลางตอนกลางที่ได้เปลี่ยนมานิยมสถูปิกะแทนตามความคิดทางพุทธศาสนา ราวบันไดของจันทิปะวนยังประดับด้วยลวดลายต้นกัลปพฤกษ์ซึ่งสื่อถึงการอวยพรให้ผู้ศรัทธาได้รับความอุดมสมบูร์ณเช่นเดียวกัน

ธาตุดำ
เวียงจันทน์
สถาปัตยกรรมธาตุดำ

เจดีย์ขนาดใหญ่นี้คงเคยเป็นประธานของวัดใดวัดหนึ่งซึ่งไม่หลงเหลือในปัจจุบัน เจดีย์ประกอบไปด้วยบัวถลาแปดเปลี่ยมซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากล้านนา ถัดขึ้นไปได้แก่บัวเหลี่ยมในผังแปดเหลี่ยมซึ่งแสดงความเป็นล้านช้างอย่างแท้จริง

วิหารวัดองค์ตื้อ
เวียงจันทน์
สถาปัตยกรรมวิหารวัดองค์ตื้อ

เป็นอาคารในสกุลช่างเวียงจันทน์ที่หลังคาด้านข้างไม่ได้เตี้ยติดพื้นมาก และมีการแบ่งกรอบหน้าบันออกเป็นปีกนก หน้าบันแสดงเป็นพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณท่ามกลางลายพันธุ์พฤกษา ด้านล่างหน้าบันมีการแบ่งช่องในแผงแรคอสองอันเป็นลักษณะโดดเด่นของหน้าบันในสกุลช่างเวียงจันทน์ และด้านล่างสุดมีโก่งคิ้วซึ่งถือเป็นวัฒนธรรมที่ปรากฏร่วมกันทั้งในล้านนาและลาว ด้านหน้ามีโถงทางเข้าก่อนที่จะเข้าไปภายในห้องประธาน ปรากฏหัวเม็ดทรงมัณฑ์ในทรงยืดสูงอันเป็นลักษณะที่โดดเด่นในศิลปะลาว

หอพระแก้ว
เวียงจันทน์
สถาปัตยกรรมหอพระแก้ว

หอพระแก้ว มีเค้าโครงว่าสร้างขึ้นตั้งแต่รัชกาลพระเจ้าอนุวงศ์หรือก่อนหน้านั้นแล้ว เนื่องจากรูปแบบมีความคล้ายคลึงกับพระอุโบสถของวัดพระศรีรัตนศาสนารามที่ประกอบไปด้วยลานประทักษิณภายในพาไลโดยรอบ อย่างไรก็ตาม หอพระแก้วคงถูกทิ้งร้างตั้งแต่คราวพระเจ้าอนุวงศ์เสียเมืองเวียงจันทน์ และต่อมาได้รับการบูรณะขึ้นใหม่ หน้าบันซึ่งมีแผงแรคอสองแบ่งช่องอยู่ด้านล่างนั้น สามารถเปรียบเทียบได้กับหน้าบันของวิหารวัดองค์ตื้อ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเป็นสกุลช่างเวียงจันทน์ที่ถูกสลักขึ้นในระยะหลังมากๆ (รัชกาลพระเจ้าศรีสว่างวงศ์ ?) อนึ่ง ตรงช้างสามเศียรเป็นตราประจำพระราชอาณาจักรลาวก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

หอพระไตรปิฎก วัดอินแปง
เวียงจันทน์
สถาปัตยกรรมหอพระไตรปิฎก วัดอินแปง

หอระไตรปิฎก วัดอินแปง ถือเป็นหอพระไตรปิฎกแบบล้านช้างอย่างแท้จริงเพียงแห่งเดียวที่เหลือรอดจากการทำลายเมืองเวียงจันทน์ในรัชกาลพระเจ้าอนุวงศ์ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาดเล็กในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ฐานเป็นบัวเข่าพรหมที่มีลวดบัวแบบลาวอย่างซับซ้อน เรือนธาตุด้านหน้าปรากฏประตู ส่วนที่เหลืออีกสามด้านเป็นหน้าต่างที่มีรายละเอียดอย่างมาก สำหรับภาพนี้เป็นประตูของหอพระไตรปิฎก ซึ่งมีลักษณะเป็นซุ้มประตูยอด ด้านในมีหงส์หันเข้าซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะล้านนา ยอดปราสาทด้านบนและทวารบาลก็มีรูปแบบคล้ายคลึงกับศิลปะล้านนาเช่นกัน