ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เขาคลังใน
ชื่อหลัก | เขาคลังใน |
---|---|
ประเภทงานศิลปะ | สถาปัตยกรรม |
ตำบล | ศรีเทพ |
อำเภอ | ศรีเทพ |
จังหวัด | เพชรบูรณ์ |
ภาค | ภาคกลาง |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 15.465544 Long : 101.144684 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 P Hemisphere : N E : 730109.59 N : 1710967.2 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | กลางเมืองชั้นในของเมืองศรีเทพ ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปรางค์ศรีเทพ |
ประวัติการสร้าง | ไม่ทราบประวัติการสร้างที่แน่ชัด แต่จากรูปแบบทางศิลปกรรมที่เทียบได้กับสถาปัตยกรรมสมัยทวารวดี เช่น วัดโขลงสุวรรณคีรี และมีงานปูนปั้นแบบทวารวดีประดับอยู่ จึงเชื่อว่าน่าจะสร้างขึ้นในเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 14-16 |
---|---|
ประวัติการอนุรักษ์ | ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2475 สภาพของเขาคลังในก่อนการขุดแต่งมีสภาพเป็นเนินดินขนาดใหญ่รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ลักษณะเป็นทรงปิรามิด ปกคลุมด้วยมูลดินมี มีศิลาแลงและอิฐปนอยู่กับดินที่ปกคลุมโบราณสถาน และยังมีวัชพืชและพืชขนาดใหญ่โดยทั่วไป ในปีพ.ศ. 2521 สำนักศิลปากรที่ 3 สุโขทัย ได้ดำเนินการขุดแต่งทางด้านทิศเหนือและทิศตะวันออก แต่ไม่ได้ผลอะไรเพราะโบราณสถานมีขนาดใหญ่มาก ในปีพ.ศ. 2531 ได้ดำเนินการขุดแต่งเป็นพื้นที่ 850 ตารางเมตร บริเวณทิศเหนือ ทิศตะวันออก และบริเวณส่วนยอดของโบราณสถานบางส่วน ในปีพ.ศ. 2532 ได้ทำการขุดแต่งต่อจากปีพ.ศ. 2531 โดยเลือกพื้นที่ขุดเฉพาะบริเวณด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกเป็นหลัก การขุดแต่งครั้งนี้พบโบราณวัตถุจำนวนมาก |
ขนาด | กว้างประมาณ 28 เมตร ยาวประมาณ 44 เมตร สูงประมาณ 12 เมตร |
ลักษณะทางศิลปกรรม | เขาคลังนอกเป็นเจดีย์ศิลาแลง แผนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้ายกเก็จ มีบันไดทางขึ้นสู่ลานด้านบนทางทิศตะวันออก สภาพปัจจุบันปรักหักพังมาก หลักฐานที่เหลืออยู่เป็นเพียงส่วนฐานขนาดใหญ่ ไม่ทราบส่วนยอดที่แท้ตั้งหรือรูปแบบอาคารบนลานด้านบนว่าเป็นอย่างไร พบงานปูนปั้นประดับส่วนฐานบ้าง โดยเฉพาะทางด้านใต้ โดยปั้นเป็นรูปคนแคระแบกและพรรณพฤกษา |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | เขาคลังนอกตั้งอยู่กลางเมืองในของเมืองศรีเทพ นับได้ว่าเป็นเจดีย์กลางเมืองซึ่งน่าจะพัฒนามาเป็นคติมหาธาตุกลางเมืองในสมัยสุโขทัยและอยุธยา เขาคลังนอกนับได้ว่าเป็นศาสนสถานกลางเมืองที่มีขนาดใหญ่ สะท้อนว่าเมืองศรีเทพเคยเป็นเมืองที่พุทธศาสนาได้หยั่งรากลึก นอกจากนี้ยังมีงานปูนปั้นประดับรูปคนแคระแบกอยู่ที่ฐาน นับเป็นปูนปั้นที่สมบูรณ์ที่สุดที่ยังคงอยู่ติดกับศาสนสถาน |
ข้อสังเกตอื่นๆ | เขาคลังในไม่ใช่ชื่อเดิมของศาสนสถานหลังนี้ แต่เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกขาน เนื่องจากในอดีตมีสภาพเป็นเนินดินขนาดใหญ่ เป็นที่มาของคำว่า “เขา” นอกจากนี้ยังเชื่อว่าภายในมีสมบัติฝังอยู่ เป็นที่มาของคำว่า “คลัง” และตั้งอยู่ในเมืองศรีเทพ เป็นที่มาของคำว่า “ใน” รวมเป็น เขาคลังใน |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | ทวารวดี |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 14-16 |
ศาสนา | พุทธ |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พุทธศาสนา |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | วัดโขลงสุวรรณคีรี เมืองคูบัว จังหวัดราชบุรี เพราะมีรูปแบบและแผนผังคล้ายคลึงกันมาก แต่วัดโขลงสุวรรณคีรีสร้างจากอิฐเป็นหลัก |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2015-10-14 |
ผู้จัดทำข้อมูล | ดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง |
บรรณานุกรม | โครงการอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ. ดรรชนีภาพปูนปั้นจากโบราณสถานเขาคลังใน เมืองโบราณศรีเทพ อ.ศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์. เอกสารอัดสำเนา, 2533. ศิลปากร, กรม. ทะเบียนโบราณวัตถุสถานทั่วราชอาณาจักร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาพระสุเมรุ, 2516. ศิลปากร, กรม. รายงานเบื้องต้นการขุดแต่งโบราณสถานเขาคลังใน (ต่อ) เมืองโบราณศรีเทพ อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2532. ศิลปากร, กรม. อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2550. สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์, “เขาคลังใน: ภาพปูนปั้นเครื่องตกแต่งศาสนสถาน” เมืองโบราณ ปีที่ 15, ฉบับที่ 1 (มกราคม-มีนาคม 2532), หน้า 41-48. |