ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์

คำสำคัญ : พระที่นั่ง, พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์, พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, ถ้ำพระยานคร, อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด, รัชกาลที่ 5

ชื่อเรียกอื่น-
ชื่อหลักถ้ำพระยานคร อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด
ชื่ออื่น-
ประเภทงานศิลปะสถาปัตยกรรม
ตำบลเขาแดง
อำเภอกุยบุรี
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ภาคภาคตะวันตก
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 12.1974088
Long : 100.011348
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 P
Hemisphere : N
E : 610018.99
N : 1348588.04
ตำแหน่งงานศิลปะภายในถ้ำพระยานคร

ประวัติการสร้าง

สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวออกแบบโดยพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อเป็นที่ประทับเวลาเสด็จมาทอดพระเนตรอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด โดยมีพระยาชลยุทธโยธินเป็นแม่กองในการก่อสร้าง

ประวัติการอนุรักษ์

ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 69 ตอนที่ 60 วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2495

ขนาดกว้าง 2.55 เมตร ยาว 8 เมตร สูง 2.55 เมตร
ลักษณะทางศิลปกรรม

พระที่นั่งตั้งอยู่บนเนินดินใจกลางถ้ำที่มีลักษะโปร่งแสงแดดส่องถึงพระที่นั่งคูหาคฤหาสน์เป็นพระที่นั่งโถงแบบจัตุรมุข โดยมีมุขทางด้านเหนือและด้านใต้ยาวกว่ามุขด้านตะวันตกและตะวันออก หลังคาเป็นเครื่องไม้ซ้อนชั้น ประดับช่อฟ้า ใบระหา หางหงส์

ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์ตั้งอยู่ภายในถ้ำพระยานคร อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นพระที่นั่งทรงจัตุรมุข สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อเสด็จประพาสเขาสามร้อยยอด ในคราวเดียวกับที่เสด็จประพาสแหลมมลายู โดยได้เสด็จมาประพาสถ้ำพระยานครเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2433

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะรัตนโกสินทร์
อายุพุทธศตวรรษที่ 25
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องประเพณีในราชสำนัก

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2015-06-17
ผู้จัดทำข้อมูลพัสวีสิริ เปรมกุลนันท์
บรรณานุกรม

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องเสด็จประพาสแหลมมลายูเมื่อรัตนโกสินทร์ศก 108, 109, 117, 120 รวม 4 คราว. พระนคร : หอพระสมุดวชิรญาณ, 2468.