ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พระรามราชนิเวศน์
คำสำคัญ : ที่ประทับ, พระที่นั่ง, พระรามราชนิเวศน์, พระราชวังบ้านปืน
ชื่อเรียกอื่น | พระราชวังบ้านปืน, พระที่นั่งศรเพ็ชร์ปราสาท, วังบ้านปืน |
---|---|
ชื่อหลัก | พระรามราชนิเวศน์ |
ชื่ออื่น | - |
ประเภทงานศิลปะ | สถาปัตยกรรม |
ตำบล | ท่าราบ |
อำเภอ | เมือง |
จังหวัด | เพชรบุรี |
ภาค | ภาคตะวันตก |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 13.093076 Long : 99.948401 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 P Hemisphere : N E : 602811.75 N : 1447621.51 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | กึ่งกลางพระราชวัง |
ประวัติการสร้าง | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้มิสเตอร์ คาร์ล เดอห์ริง (Mr. Karl Dohring) สถาปนิกชาวเยอรมันเป็นผู้ออกแบบ เริ่มก่อสร้างฐานรากเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.2453 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายในรัชกาล ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงดำเนินการก่อสร้างต่อจนแล้วเสร็จในพ.ศ.2459พระราชทานองค์พระที่นั่งว่า พระที่นั่งศรเพ็ชร์ปราสาท และพระราชทานนามพระราชวังว่า พระรามราชนิเวศน์ |
---|---|
ประวัติการอนุรักษ์ | ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 98 ตอนที่ 177 วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2524 กรมศิลปากรจึงได้ดำเนินการบูรณะในปีพ.ศ. 2529 โดยบูรณะทุกส่วนของอาคารให้กลับมามีสภาพดังเดิมและปรับปรุงบริเวณโดยรอบของอาคาร การบูรณะเสร็จสิ้นในปลายปีพ.ศ. 2530 ระหว่างพ.ศ. 2534 – 2535 ได้มีการปรับปรุงพระรามราชนิเวศน์เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระรามราชนิเวศน์ โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะแรกปรับปรุงห้องเสวย ห้องรอเฝ้า ห้องทรงพระอักษร ห้องบรรทมของพระราชินีและห้องรับฝากของ โดยจัดทำเครื่องเรือน ม่าน พรม และโคมไฟ และระยะที่สองจัดทำนิทรรศการเรื่องราวของเพชรบุรีในห้องท้องพระโรง ห้องด้านตะวันตกและห้องด้านเหนือ พ.ศ. 2543 จังหวัดทหารบกเพชรบุรีและจังหวัดเพชรบุรีจัดงบประมาณซ่อมแซมหลังคา พ.ศ. 2548 กรมศิลปากรจะร่วมกับจังหวัดทหารบกเพชรบุรีดำเนินการปรับปรุงและซ่อมแซมหลังคา และมีการบูรณะพระรามราชนิเวศน์ในอีกครั้งเมื่อปีพ.ศ. 2549 |
ลักษณะทางศิลปกรรม | พระรามราชนิเวศน์เป็นสถาปัตยกรรมแบบโมเดิร์นสไตล์ยุโรป ตัวอาคารมี 2 ชั้น หลังคามี 2 ยอดทรงสูง มุงด้วยกระเบื้องดินเผาเคลือบ ตัวอาคารมีผังเป็นตรีมุข แต่ละมุขมีบันไดทางขึ้นขนาดใหญ่เป็นทางขึ้นลง มุขด้านหน้าทางทิศตะวันออกถือเป็นจุดเด่นของอาคาร ประกอบด้วยวงกลมสามวงเรียงกันคล้ายรูปดอกจิก เรียกว่า ผังดอกจิกแบบโรมาเนสก์ (Rhenish Romanesque Trefoil Plan)โถงทางเข้าเป็นวงกลมขนาดใหญ่มีลักษณะโปร่งทะลุไปถึงเพดานชั้น 2 และเป็นที่ตั้งของบันไดใหญ่ของพระที่นั่ง ซึ่งเป็นการออกแบบในแนว จุงเกนสติล (Jugendstil) ที่พบเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย ภายในประกอบด้วยห้องต่างๆ ด้านทิศเหนือมีอาคารรองก่อสร้างต่ออกไปโอบล้อมที่ว่างตรงกลาง มีบริเวณสวนหรือที่ว่างตรงกลางตกแต่งแบบสวนยุโรป (Court) ภานในพระที่นั่งตกแต่งโดยใช้ทองแดง กระจกสี กระเบื้องเคลือบสี เหล็กหล่อ ช่อไฟกิ่งซึ่งเน้นความหรูหราแบบยุโรป |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดประพาสเมืองเพชรบุรี ด้วยมีพระราชดำริว่าเป็นเมืองที่มีอากาศดี ภูมิประเทศงดงาม และอุมสมบุรณ์ และรัชกาลที่ 4 ได้เคยเสด็จประพาสและทรงสร้างพระนครคีรีไว้ จึงมีพระราชประสงค์จะสร้างพระราชวังเพื่อเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับแรมที่จังหวัดเพชรบุรีในช่วงปลายรัชกาล |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | รัตนโกสินทร์ |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 25 |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | ประเพณีในราชสำนัก |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | การออกแบบพระที่นั่งมีความสัมพันธ์กับสถาปัตยกรรมแบบยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 19 |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2015-06-17 |
ผู้จัดทำข้อมูล | พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์ |
บรรณานุกรม | กองโบราณคดี กรมศิลปากร.ทะเบียนโบราณสถานในเขตหน่วยศิลปากรที่ 2. กรุงเทพฯ: กองโบราณคดี, 2538. “การบูรณะพระรามราชนิเวศน์ จังหวัดเพชรบุรี”, อาษาปีที่ 9 (มกราคม– กุมภาพันธ์2532): 24. กรมศิลปากร สำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี. พระรามราชนิเวศน์. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2550. |