ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

พระพุทธรูปปางมารวิชัย

คำสำคัญ : พระพุทธรูป, พระพุทธรูปปางมารวิชัย, ศิลปะล้านนา, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่

ชื่อหลักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่
ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
ตำบลช้างเผือก
อำเภอเมือง
จังหวัดเชียงใหม่
ภาคภาคเหนือ
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 18.811134
Long : 98.976711
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 Q
Hemisphere : N
E : 497546.13
N : 2079930.27
ตำแหน่งงานศิลปะจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์

ประวัติการสร้าง

ไม่มีประวัติการสร้าง แต่เดิมประดิษฐานอยู่ร่วมกับพระพุทธสิหิงค์ในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ จากรูปแบบศิลปะสามารถกำหนดอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20

กระบวนการสร้าง/ผลิต

หล่อสำริด

ลักษณะทางศิลปกรรม

พระพุทธรูปองค์นี้แสดงปางมารวิชัยประทับนั่งขัดสมาธิเพชรบนฐานหน้ากระดานเกลี้ยง พระพักตร์กลม ขมวดพระเกศาใหญ่ พระเนตรเหลือบต่ำ พระโอษฐ์แย้ม พระหนุเป็นปม ยอดอุษณีษะเป็นลูกแก้วคล้ายดอกบัวตูม พระวรกายอวบอ้วน ชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน ชายผ้าที่พระเพลาแยกเป็นสองชาย

ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

ตัวอย่างพระพุทธรูปศิลปะล้านนาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20

ข้อสังเกตอื่นๆ

1. ลักษณะชายผ้าในศิลปะปาละ พุกาม และหริภุญไชยจะเป็นชายผ้ารูปพัด แต่ในศิลปะล้านนาช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 แสดงชายผ้าแยกออกเป็น 2 ชาย

2. จากพุทธศตวรรษที่ 20 เรื่อยไปจนหมดยุคอาณาจักร พระพุทธรูปศิลปะล้านนาแบบสิงห์หนึ่งมีพัฒนาการมาต่อเนื่องควบคู่ไปกับพระพุทธรูปศิลปะล้านนาแบบสิงห์สอง ดังนั้นทฤษฎีเดิมที่เชื่อว่าพระพุทธรูปแบบสิงห์หนึ่งเก่ากว่าพระพุทธรูปแบบสิงห์สองจึงไม่ถูกต้อง

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะล้านนา
อายุพุทธศตวรรษที่ 20
ศาสนาพุทธ
ลัทธิ/นิกายเถรวาท
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพุทธศาสนาเถรวาท
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง

1. พระพุทธสิหิงค์ วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ พระพุทธรูปที่เคยประดิษฐานร่วมกันและถูกตัดเศียรไปแล้วแต่สามารถใช้ลักษณะของพระพุทธรูปองค์นี้ในการตรวจสอบรูปแบบเดิมของพระพุทธสิหิงค์ได้

2. พระพุทธรูปปางมารวิชัย วัดพระเจ้าเม็งราย ตัวอย่างพระพุทธรูปศิลปะล้านนาแบบสิงห์หนึ่งซึ่งมีจารึกระบุว่าสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 21 และมีลักษณะที่พัฒนาไปจากพระพุทธรูปในพุทธศตวรรษก่อนหน้า

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2016-05-16
ผู้จัดทำข้อมูลรุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง
บรรณานุกรม

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. พระพุทธรูปในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และความเชื่อของคนไทย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556.

สันติ เล็กสุขุม. ศิลปะภาคเหนือ : หริภุญไชย-ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2555.

สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 6 เชียงใหม่. นำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: สำนัก, 2542.