ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ปราสาทบ้านบุ
คำสำคัญ : ปราสาท, ปราสาทพิมาย, พระเจ้าชัยวรมันที่ 7, บายน, ปราสาทบ้านบุ , กุฏิฤาษีบ้านบุ, ปราสาทตาเมือน, บ้านมีไฟ, ปราสาทพระขรรค์
ชื่อเรียกอื่น | กุฏิฤาษีบ้านบุ |
---|---|
ชื่อหลัก | ปราสาทบ้านบุ |
ชื่ออื่น | กุฏิฤาษีบ้านบุ |
ประเภทงานศิลปะ | สถาปัตยกรรม |
ที่อยู่ | โรงเรียนบ้านบุวิทยาสรรค์ หมู่ 5 |
ตำบล | จรเข้มาก |
อำเภอ | ประโคนชัย |
จังหวัด | บุรีรัมย์ |
ภาค | ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 14.533918 Long : 102.979771 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 48 P Hemisphere : N E : 282255.17 N : 1607725.52 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | ตั้งอยู่ภายในเขตโรงเรียนบ้านบุวิทยาสรรค์ |
ประวัติการสร้าง | สันนิษฐานว่าในพุทธศตวรรษที่ 18 สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เพื่อเป็นที่พักคนเดินทางหรือธรรมศาลา เพราะอยู่ในเส้นทางระหว่างเมืองพระนครหลวงกับเมืองพิมาย ตามที่ปรากฏในจารึกปราสาทพระขรรค์นั้นเรียกว่า "บ้านมีไฟ" |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | ก่อด้วยศิลาแลง |
ขนาด | 6 X 23 เมตร |
ลักษณะทางศิลปกรรม | เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทอดยาวไปตามทิศตะวันออก - ตะวันตก มีทางเข้าด้านหน้าซึ่งหันไปทางทิศตะวันออก ช่วงหลังเป็นตัวปราสาทซึ่งแบ่งเป็นห้องรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ส่วนกรอบประตูทางเข้ามีการนำศิลาทรายซึ่งมีลวดลายดอกไม้สี่กลีบแต่เดิมมาใช้ในการก่อสร้าง โดยหันแผ่นศิลาทรายด้านสลักลวดลายเข้าข้างใน คล้ายกับปรางค์หินแดงที่ปราสาทหินพิมาย ในการนำวัสดุในศิลปะเก่ากว่ากลับมาใช้ใหม่อีกครั้งหนึ่ง นอกจากนี้ยังได้พบบัวยอดปราสาทขนาดใหญ่ในรูปแบบศิลปะร่วมแบบบายน ดังเช่นยอดโคปุระของปราสาทพระขรรค์ในกัมพูชา ทางเดินเชื่อมด้านทิศใต้มีการเจาะช่องหน้าต่าง 3 ช่อง และตรงมุขอีก 1 ช่อง ด้านเหนือก่อทึบในขณะที่ส่วนบนหักพังจนเกือบหมด และมีหลังคาโค้งเหนือทางเดินที่สร้างระหว่างตัวปราสาทกับมุข |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | เป็นตัวอย่างสำคัญของบ้านพร้อมไฟหรือที่พักคนเดินทางที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โปรดให้สร้างขึ้น ทั้งยังทำให้ทราบว่าเส้นทางโบราณระหว่างเมืองพระนครกับเมืองพิมายต้องผ่านพื้นที่เชิงเขาพนมุร้ง |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | ลพบุรี, บายน |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 18 |
ลัทธิ/นิกาย | มหายาน |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พุทธมหายาน |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | ปราสาทหนองปล่อง บุรีรัมย์ ปรางค์หินแดง ปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2016-06-05 |
ผู้จัดทำข้อมูล | รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง |
บรรณานุกรม | สีวิกา ประกอบสันติสุข. การศึกษาศิลปะเขมรแบบบายนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร์ ภาควิชาโบราณคดี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2531. สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์, ม.ร.ว. บรรณาธิการ. ปราสาทหินและทับหลัง. กรุงเทพฯ : โครงสืบสานมรดกและวัฒนธรรมไทย, 2542. |