ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

พระเจ้าเก้าตื้อ

คำสำคัญ : พระพุทธสิหิงค์, ศิลปะล้านนา, พระเจ้าเก้าตื้อ, วัดบุปผาราม, วัดสวนดอก

ชื่อหลักวัดบุปผาราม
ชื่ออื่นวัดสวนดอก
ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
ตำบลสุเทพ
อำเภอเมือง
จังหวัดเชียงใหม่
ภาคภาคเหนือ
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 18.786975
Long : 98.968011
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 Q
Hemisphere : N
E : 496628.91
N : 2077257.28
ตำแหน่งงานศิลปะพระพุทธรูปวิหารพระเจ้าเก้าตื้อ

ประวัติการสร้าง

พระเมืองแก้วโปรดเกล้าฯให้หล่อพระเจ้าเก้าตื้อในปี พ.ศ. 2047 เพื่อเป็นพระพุทธรูปประธานในวิหารวัดพระสิงห์ แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2053 แต่เมื่อหล่อเสร็จไม่สามารถชะลอเข้าเมืองได้ จึงอัญเชิญจากสถานที่หล่อไปประดิษฐานยังพระอุโบสถวัดบุปผา รามหรือวัดสวนดอก มีการถวายมหาทานและมีการฉลองพระพุทธรูป

กระบวนการสร้าง/ผลิต

หล่อสำริด

ประวัติการอนุรักษ์

ประกาศขึ้นทะเบียนในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478

ขนาดหน้าตักกว้าง 3 เมตร สูง 4.7 เมตร
ลักษณะทางศิลปกรรม

พระพุทธรูปองค์นี้ประทับนั่งขัดสมาธิราบ แสดงปางมารวิชัย พระพักตร์รูปไข่ ขมวดพระเกศาเล็ก อุษณีษะทรงสูง รัศมีเป็นเปลวไฟค่อนข้างสูง พระเนตรหรี่เหลือบต่ำ พระโอษฐ์แย้ม พระหนุเป็นปม พระวรกายสมส่วน ครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิแผ่นใหญ่ยาวถึงพระนาภีปลายแตกเป็นเขี้ยวตะขาบ ประทับนั่งบนฐานหน้ากระดานเกลี้ยง

สกุลช่างเชียงใหม่ – ลำพูน
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

ตัวอย่างพระพุทธรูปศิลปะล้านนาขนาดใหญ่ที่ยังมีสภาพสมบูรณ์

ข้อสังเกตอื่นๆ

ชายสังฆาฏิแผ่นใหญ่เป็นลักษณะที่พบมากในพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในรัชกาลของพระเมืองแก้ว และพบได้ทั่วไปในศิลปะอยุธยา แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของศิลปะอยุธยาในศิลปะล้านนา

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะล้านนา
อายุกลางพุทธศตวรรษที่ 21
ศาสนาพุทธ
ลัทธิ/นิกายเถรวาท
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพุทธศาสนาเถรวาท
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง

1. พระพุทธสิหิงค์ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ กรุงเทพมหานคร ตัวอย่างพระพุทธรูปที่แม้จะไม่ปรากฏประวัติการสร้างแต่จากรูปแบบแล้วน่าจะสร้างขึ้นในรัชกาลเดียวกันเพราะปรากฏการทำชายสังฆาฏิแผ่นใหญ่เช่นเดียวกัน

2. พระพุทธรูปปางมารวิชัย พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ กรุงเทพมหานคร ตัวอย่างของพระพุทธรูปที่มีพุทธศิลป์เช่นเดียวกับพระเจ้าเก้าตื้อและมีจารึกที่ฐานระบุปีที่สร้าง คือ พ.ศ. 2040 แสดงว่าสร้างขึ้นในรัชกาลของพระเมืองแก้วเช่นกัน

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2016-05-19
ผู้จัดทำข้อมูลรุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง
บรรณานุกรม

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. พระพุทธรูปในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และความเชื่อของคนไทย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556.

รัตนปัญญาเถระ, พระ. ชินกาลมาลีปกรณ์. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2552.

สันติ เล็กสุขุม. ศิลปะภาคเหนือ : หริภุญชัย-ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2555.