ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

สิม

คำสำคัญ : วัดแจ้ง, ศิลปะล้านช้าง, วัดพระเหลาเทพนิมิต, สิม, วัดหลวง

ชื่อหลักวัดพระเหลาเทพนิมิต
ชื่ออื่นวัดพระเหลาเทพนิมิตร
ประเภทงานศิลปะสถาปัตยกรรม
ตำบลพนา
อำเภอพนา
จังหวัดอำนาจเจริญ
ภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศารุ้งแวง
Lat : 15.676927
Long : 104.854145
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 48 P
Hemisphere : N
E : 484369.9
N : 1733207.75
ตำแหน่งงานศิลปะประธานของวัด

ประวัติการสร้าง

สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2263 เป็นผลงานของพระครูธิ ซึ่งอพยพมาจากเวียงจันทน์พร้อมกับพระคณูหลวงโพนสะเม็ก ต่อมามีการบูรณะอีกหลายครั้ง

กระบวนการสร้าง/ผลิต

ก่ออิฐฉาบปูน

ลักษณะทางศิลปกรรม

สิมหลังนี้เป็นสิมขนาดใหญ่ ฐานยกสูงแอ่นขึ้นด้านหน้าเล็กน้อย มีมุขโถงด้านหน้า หน้าบันหรือสีหน้าสลักไม้ประดับด้วยรวงผึ้งเป็นแผ่นไม้โค้ง หลังคาไม่ซ้อนชั้น เครื่องลำยองได้รับการบูรณะเป็นแบบรัตนโกสินทร์แล้วแต่ยังปรากฏรูปนาคบริเวณคันทวยหรือแขนนาง มีวันแล่นเป็นครีบบริเวณสันหลังคาตรงกลางเป็นช่อฟ้าหรือสัตตะบูริพัน

ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

ตัวอย่างของสิมแบบล้านช้างที่ยังไม่ปรากฏอิทธิพลศิลปะรัตนโกสินทร์

ข้อสังเกตอื่นๆ

สิมหลังนี้แสดงถึงลักษณะของสิมแบบล้านช้างอย่างแท้จริงโดยแม้จะปรากฏอิทธิพลจากรัตนโกสินทร์ในการบูรณะระยะหลังก็ตาม

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะล้านช้าง
อายุปลายพุทธศตวรรษที่ 23
ศาสนาพุทธ
ลัทธิ/นิกายเถรวาท
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพุทธศาสนาเถรวาท
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง

1. สิมวัดแจ้ง จังหวัดอุบลราชธานี ตัวอย่างสิมแบบพื้นถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีรูปแบบคล้ายกับสิมวัดพระเหลาเทพนิมิต

2. สิมเก่าวัดหลวง จังหวัดอุบลราชธานี ตัวอย่างสิมที่แสดงถึงรูปแบบของงานช่างหลวงที่มีความประณีต ปัจจุบันถูกรื้อและสร้างใหม่แล้ว

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2016-08-17
ผู้จัดทำข้อมูลรุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง
บรรณานุกรม

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. เจดีย์ พระพุทธรูป ฮูปแต้ม สิม ศิลปะลาวและอีสาน. กรุงเทพฯ: มิวเซียมเพรส, 2555.

วิโรฒ ศรีสุโร. สิมอีสาน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโตโยต้า, 2536.

ประภัสรร์ ชูวิเชียร. ศิลปะลาว. กรุงเทพฯ: มติชน, 2557.