ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

พระเหลาเทพนิมิต

คำสำคัญ : พระพุทธรูป, พระพุทธรูปปางมารวิชัย, ศิลปะล้านช้าง, ศิลปะลาว, วัดพระเหลาเทพนิมิต, พระเหลาเทพนิมิต

ชื่อเรียกอื่นพระเหลาเทพนิมิตร
ชื่อหลักวัดพระเหลาเทพนิมิต
ชื่ออื่นวัดพระเหลาเทพนิมิตร
ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
ตำบลพนา
อำเภอพนา
จังหวัดอำนาจเจริญ
ภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 15.676927
Long : 104.854145
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 48 Q
Hemisphere : N
E : 484369.9
N : 1733207.75
ตำแหน่งงานศิลปะพระพุทธรูปประธานในสิม

ประวัติการสร้าง

ตามประวัติระบุว่าสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2263 ร่วมสมัยกับรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ

กระบวนการสร้าง/ผลิต

หล่อสำริด

ขนาดหน้าตักกว้าง 2.85 เซนติเมตร สูง 2.70 เมตร
ลักษณะทางศิลปกรรม

พระพุทธรูปองค์นี้ประทับนั่งขัดสมาธิราบปางมารวิชัย พระพักตร์เสี้ยม เม็ดพระศกเล็ก พระรัศมีเป็นเปลวขนาดใหญ่และสูง มีเส้นขอบพระพักตร์ พระเนตรมองตรง พระนาสิกงุ้ม พระกรรณโค้งงอน ขอบพระโอษฐ์หนายิ้มแบบล้านช้าง ชายสังฆาฎิใหญ่ยาวจรดพระนาภี นิ้วพระหัตถ์ยาวเท่ากัน

ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

ตัวอย่างพระบางจำลองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ข้อสังเกตอื่นๆ

พระพุทธรูปองค์นี้มีรูปแบบตามที่นิยมสร้างในช่วงพุทธศตวรรษที่ 23 – 24

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะล้านช้าง
อายุปลายพุทธศตวรรษที่ 23
ศาสนาพุทธ
ลัทธิ/นิกายเถรวาท
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพุทธศาสนาเถรวาท
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง

1. พระเจ้าใหญ่องค์หลวง วัดหลวง จังหวัดอุบลราชธานี พระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่มีพุทธศิลป์อยู่ในยุคสมัยเดียวกับพระเหลาเทพนิมิต

2. พระเจ้าใหญ่อินแปลง วัดมหาวนาราม จังหวัดอุบลราชธานี พระพุทธรูปขนาดใหญ่อีกองค์ที่มีพุทธศิลป์อยู่ในยุคสมัยเดียวกับพระเหลาเทพนิมิต

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2016-08-18
ผู้จัดทำข้อมูลรุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง
บรรณานุกรม

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. พระพุทธรูปในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และความเชื่อของคนไทย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556..

ประภัสรร์ ชูวิเชียร. ศิลปะลาว. กรุงเทพฯ: มติชน, 2557.

ชมรมพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์. สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(อีสาน). กรุงเทพฯ: ชมรมพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์, 2552.