ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

พระบาง

คำสำคัญ :

ชื่อหลักวัดไตรภูมิ
ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
ตำบลท่าอุเทน
อำเภอท่าอุเทน
จังหวัดนครพนม
ภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศารุ้งแวง
Lat : 17.573909
Long : 104.60499
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 48 Q
Hemisphere : N
E : 458803.65
N : 1943089.14
ตำแหน่งงานศิลปะพระพุทธรูปประธานในวิหาร

ประวัติการสร้าง

จากจารึกที่ฐานระบุว่าพระพุทธรูปองค์นี้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2308 โดยสมเด็จพระเหมมะวันนา กับทั้งอังเตวาสิ อุบาสก อุบาสิกา

กระบวนการสร้าง/ผลิต

หล่อสำริด

ขนาดสูง 80 นิ้ว แท่นสูง 21.5 นิ้ว
ลักษณะทางศิลปกรรม

พระพุทธรูปองค์นี้ประทับยืนปางห้ามสมุทร พระพักตร์ยาว ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลวสูง พระเนตรมองตรง พระโอษฐ์ขนาดเล็กยิ้มแบล้านช้าง รัดประคดและผ้าหน้านางมีการตกแต่งลวดลายและประดับด้วยพลอยสี ประทับยืนบนฐานแปดเหลี่ยม

ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

ตัวอย่างพระบางจำลองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ข้อสังเกตอื่นๆ

1. การประดับตกแต่งรัดประคดน่าจะเป็นอิทธิพลจากพระพุทธรูปทรงเครื่องในศิลปะรัตนโกสินทร์เนื่องจากพระพุทธรูปกลุ่มพระบางไม่เคยปรากฏการตกแต่งในบริเวณนี้

2. พระพุทธรูปองค์นี้มีลักษณะที่ต่างจากพระบางจำลององค์อื่นๆ คือ มีขนาดเท่าคนจริงเนื่องจากพระพุทธรุปกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มักมีขนาดเล็ก

3. ในเอกสารฉบับอื่นๆมักจะระบุศักราชในจารึกว่าตรงกับ พ.ศ. 2008 แต่จากลักษณะของพระบางสอดคล้องกับการอ่านใหม่ว่า พ.ศ. 2308 มากกว่า
ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะล้านช้าง
อายุต้นพุทธศตวรรษที่ 24
ศาสนาพุทธ
ลัทธิ/นิกายเถรวาท
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพุทธศาสนาเถรวาท
ตำนานที่เกี่ยวข้อง

ตำนานที่เล่าสืบกันมากล่าวว่าพระพุทธรูปองค์นี้หล่อขึ้นในประเทศลาว โดยหล่อขึ้นพร้อมกับพระพุทธรูปปางสมาธิ ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่บ้านดอนติ้ง เมืองหินบูน ประเทศลาว ในช่วงที่มีศึกสงครามได้มีการอัญเชิญพระบางไปซ่อนไว้ในถ้ำหินเหิบ บ้านนาคก แขวงคำเกิด ต่อมาพระอาจารย์ตา พงษ์ศรี พระเกจิที่เจ้าเมืองหินบูนและชาวบ้านเคารพมาจำพรรษาที่นครพนม ทราบข่าวความงามของพระบางจึงขอกับเจ้าเมืองหินบูน จึงมีการเคลื่อนย้ายจากถ้ำโดยนำพระข้ามเหวด้วยรอกและนำมาประดิษฐานที่วัดพระธาตุท่าอุเทนก่อนที่จะประดิษฐานที่วัดไตรภูมิ และเชื่อกันว่าหากปีไหนฝนแล้งแล้วนำพระบางออกแห่จะทำให้ฝนตก

งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง

1. พระบาง เมืองหลวงพระบาง พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของอาณาจักรล้านช้างและชาวลาวจนเกิดธรรมเนียมการจำลองพระบาง โดยคงลักษณะสำคัญ คือ เป็นพระพุทธรูปประทับยืนปางห้ามสมุทรเอาไว้

2. พระบางซายขาว วัดศรีสุทธาวาส จังหวัดเลย ตัวอย่างพระบางจำลองอีกองค์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีจารึกระบุชื่อผู้สร้างและปีที่สร้างชัดเจน คือ พ.ศ. 2255

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2016-08-17
ผู้จัดทำข้อมูลรุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง
บรรณานุกรม

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. เจดีย์ พระพุทธรูป ฮูปแต้ม สิม ศิลปะลาวและอีสาน. กรุงเทพฯ: มิวเซียมเพรส, 2555.

สุรศักดิ์ ศรีสำอาง. ลำดับกษัตริย์ลาว. กรุงเทพฯ: สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร, 2545.

ชมรมพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์. สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(อีสาน). กรุงเทพฯ: ชมรมพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์, 2552.