ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พระธาตุบังพวน
คำสำคัญ : พระธาตุ, เจดีย์, ศิลปะล้านช้าง, พระเจ้าโพธิสาลราช, พระยาสุริยวงษาธรรมิกราช , พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช, ตำนานอุรังคธาตุ, วัดพระธาตุบังพวน, พระธาตุบังพวน
ชื่อหลัก | วัดพระธาตุบังพวน |
---|---|
ประเภทงานศิลปะ | สถาปัตยกรรม |
ตำบล | พระธาตุบังพวน |
อำเภอ | เมือง |
จังหวัด | หนองคาย |
ภาค | ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 17.743996 Long : 102.681348 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 48 Q Hemisphere : N E : 254134.66 N : 1963379.38 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | ทางทิศเหนือของพระวิหาร |
ประวัติการสร้าง | เดิมเชื่อกันว่าสร้างขึ้นในรัชกาลพระเจ้าโพธิสาลราชและได้รับการบูรณะครั้งสำคัญในปีพ.ศ. 2167 สมัยพระยาสุริยวงษาธรรมิกราช แต่จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์กล่าวว่าสร้างขึ้นโดยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชเมื่อพ.ศ. 2109 เมื่อย้ายเมืองหลวงมายังเวียงจันทน์แล้ว อย่างไรก็ตาม พระธาตุองค์ปัจจุบันเป็นงานที่บูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ในช่วงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีศิลาจารึกอย่างน้อย 2 หลักที่กล่าวถึงพระธาตุบังพวน คือ 1) ศิลาจารึกถ้ำสุวรรณคูหา 1 อำเภอสุวรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภูจารึกเมื่อ พ.ศ. 2106 กล่าวถึงการบำเพ็ญพระราชกุศลที่พระธาตุบังพวนของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช 2) ศิลาจารึกวัดศรีเมือง อ.เมือง จังหวัดหนองคาย จารึกเมื่อ พ.ศ. 2109 กล่าวถึงพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชได้สั่งให้พระยาพลเศิกซ้ายเป็นอุปถัมภกสร้างวัดศรีสุพรรณอาราม พระยาพลเศิกซ้ายจึงได้ถวายถวายทองคำหนึ่งร้อนและกระเบื้องหนึ่งหมื่นแด่สมเด็จพระเป็นเจ้า ซึ่งได้นำไปถวายบูชาพระมหาธาตุเจ้าบังพวน |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | ก่ออิฐถือปูน |
ประวัติการอนุรักษ์ | ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 69 ตอนที่ 60 วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2495 วันที่ 20 มิถุนายน 2513 พระธาตุบังพวนหักพังทลายลงเหลือแต่ฐาน ได้มีการขุดแต่งก่อนบูรณะพบการก่อสร้าง 3 สมัย และยังพบพระพุทธรูปบุเงินบุทองและโบราณวัตถุอื่นๆ จำนวน 130 รายการ ในปี 2520 ได้มีการบูรณะปฏิสังขณ์พระธาตุบังพวนขึ้นใหม่โดยกรมศิลปากร |
ลักษณะทางศิลปกรรม | เจดีย์องค์นี้เป็นเจดีย์ทรงปราสาทในผังเพิ่มมุม ด้านล่างเป็นฐานเขียงต่อด้วยต่อด้วยฐานบัวเข่าพรหม ต่อด้วยเรือนธาตุในผังสี่เหลี่ยมมีซุ้มจระนำแบบซุ้มลด ทั้ง 4 ด้าน ส่วนยอดเป็นองค์ระฆังในผังสี่เหลี่ยมและต่อด้วยปล้องไฉน |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | 1. เจดีย์ทรงปราสาทองค์สำคัญที่สร้างในรัชกาลพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช 2. ส่วนหนึ่งของสัตตมหาสถานแห่งเดียวในศิลปะล้านช้าง |
ข้อสังเกตอื่นๆ | 1. เจดีย์องค์นี้แสดงอิทธิพลศิลปะล้านนาอย่างชัดเจนเนื่องจากเจดีย์องค์นี้นี้เป็นส่วนหนึ่งของสัตตมหาสถาน ซึ่งเชื่อว่า พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชน่าจะได้แรงบันดาลใจมาจากวัดมหาโพธาราม จังหวัดเชียงใหม่ในคราวที่ท่านเสด็จไปครองอาณาจักรล้านนา 2. รูปแบบของพระธาตุบังพวนองค์ปัจจุบันที่บูรณะขึ้นใหม่ มีลักษณะหลายประการที่ต่างจากพระธาตุบังพวนองค์เดิมทั้งส่วนฐาน ลักษณะการย่อมุมเท่ากัน และส่วนยอดที่ทำเป็นเจดีย์ทรงบัวเหลี่ยมซ้อนกัน 2 ชั้น |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | ล้านช้าง |
อายุ | ต้นพุทธศตวรรษที่ 22 |
ศาสนา | พุทธ |
ลัทธิ/นิกาย | เถรวาท |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พุทธศาสนาเถรวาท |
ตำนานที่เกี่ยวข้อง | ตำนานอุรังคธาตุกล่าวว่าพระธาตุบังพวนสร้างขึ้นโดยพระเจ้าจันทบุรีแห่งนครเวียงจันทน์พร้อมกับมเหสีทั้ง 3 สำหรับประดิษฐานพระบรมธาตุหัวเหน่า 29 องค์ ซึ่งพระอรหันต์ได้นำมาถวาย ตำนานอุรังคธาตุยังได้กล่าวถึงการที่พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชได้ทำการสร้างหรือบูรณะพระธาตุบังพวน โดยสร้างเจดีย์ครอบพระบรมธาตุหัวเหน่า |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | 1. พระรัตนฆรเจดีย์ วัดพระธาตุบังพวน จังหวัดหนองคาย เจดีย์ทรงปราสาทในวัดพระธาตุบังพวนที่มีรูปแบบที่แสดงถึงอิทธิพลจากศิลปะล้านนาอย่างชัดเจน 2. เจดีย์ประธาน วัดเทพพลประดิษฐาราม จังหวัดหนองคาย เจดีย์ทรงปราสาทในศิลปะล้านช้างที่มีลักษณะที่พัฒนาขึ้นไปกว่าพระธาจุบังพวน |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2016-08-13 |
ผู้จัดทำข้อมูล | รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง |
บรรณานุกรม | เกศินี ศรีวงค์ษา. “เจดีย์ทรงปราสาทยอดในศิลปะล้านช้างภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย : กรณีศึกษากลุ่มพระธาตุบังพวน” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2552. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. เจดีย์ พระพุทธรูป ฮูปแต้ม สิม ศิลปะลาวและอีสาน. กรุงเทพฯ: มิวเซียมเพรส, 2555. ประภัสสร์ ชูวิเชียร. “พระธาตุหนองสามหมื่น งานสถาปัตยกรรมร่วมล้านช้าง ล้านนา อยุธยา” เมืองโบราณ. 33, 3 (กรกฎาคม – กันยายน 2550), 94 - 100. ประยูร ไพบูลย์สุวรรณ. โบราณวัตถุสถานในจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดใกล้เคียง. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2515. |