ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

พระพิมพ์

คำสำคัญ : พระพิมพ์, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี, พระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาท

ชื่อหลักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี
ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
ตำบลหน้าเมือง
อำเภอเมือง
จังหวัดราชบุรี
ภาคภาคตะวันตก
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 13.541037
Long : 99.817664
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 P
Hemisphere : N
E : 588475.33
N : 1497116.04
ตำแหน่งงานศิลปะภายในอาคารจัดแสดง

ประวัติการสร้าง

ไม่ทราบประวัติการสร้างที่แน่ชัด แต่จากรูปแบบทางศิลปกรรมเชื่อว่าสร้างขึ้นในสมัยทวารวดี

กระบวนการสร้าง/ผลิต

ประทับแม่พิมพ์ลงบนดินเหนียวแล้วเผา

ลักษณะทางศิลปกรรม

พระพิมพ์ทรงรี พระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาทอยู่ตรงกลาง พระหัตถ์แสดงปางปฐมเทศนา พระองค์นั่งอยู่ภายในอาคารทรงศิขร แวดล้อมด้วยสถูปขนาดเล็ก สองข้างของดอกบัวที่รองรับพระบาทมีลวดลายที่อาจเป็นกวางหมอบ

ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

พระพิมพ์นี้นอกจากสะท้อนความสัมพัน์กับศิลปะอินเดียแบบปาละและพม่าสมัยพุกามแล้ว ทำพระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาท พระหัตถ์ทำปางปฐมเทศนา นั่งอยู่ภายในอาคารยอดทรงศิขระ อาจเป็นการจำลองพระพุทธรูปและสถาปัตยกรรมที่สารนาถ อันเป็นสถานที่ปฐมเทศนา มาไว้ในพระพิมพ์

ข้อสังเกตอื่นๆ

ค้นพบที่อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะทวารวดี
อายุพุทธศตวรรษที่ 12-16
ศาสนาพุทธ
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพุทธศาสนา
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง

พระพิมพ์ศิลปะพม่าสมัยพุกาม และพระพิมพ์ศิลปะอินเดียสมัยปาละ

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2016-08-19
ผู้จัดทำข้อมูลรุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง
บรรณานุกรม

ผาสุข อินทราวุธ, ทวารวดี การศึกษาเชิงวิเคราะห์จากหลักฐานทางโบราณคดี. กรุงเทพฯ : อักษรสมัย, 2542.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์, ศิลปะทวารวดี วัฒนธรรมพุทธศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2547.