ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พระพุทธรูปประทับเหนือพนัสบดี
คำสำคัญ : พระพุทธรูป, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์, พระพุทธรูปประทับเหนือพนัสบดี
ชื่อหลัก | พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ |
---|---|
ประเภทงานศิลปะ | ประติมากรรม |
ตำบล | พระปฐมเจดีย์ |
อำเภอ | เมือง |
จังหวัด | นครปฐม |
ภาค | ภาคกลาง |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 13.818427 Long : 100.060937 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 P Hemisphere : N E : 614666.73 N : 1527898.98 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | ภายในอาคารจัดแสดง |
ประวัติการสร้าง | ไม่ทราบประวัติการสร้างที่แน่ชัด แต่จากรูปแบบทางศิลปกรรมทำให้กำหนดอายุได้ว่าอยู่ในสมัยทวารวดี |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | สลักหิน |
ขนาด | สูง 45 เซนติเมตร กว้าง 34 เซนติเมตร |
ลักษณะทางศิลปกรรม | พระพุทธเจ้ายืนอยู่เหนือพาหนะ ขนาบข้างด้วยบุคคลข้างละ 1 คน พระหัตถ์ทั้งสองข้างทำปางแสดงธรรม มีรูเจาะทะลุปรากฏอยู่บริเวณพระชงฆ์ พาหนะทำเป็นรูปบุคคลขนาดใหญ่เห็นครึ่งตัว มีปีก สวมมงกุฎทรงกระบอก ถือดอกบัวในมือข้างละดอก บางท่านเรียกพาหนะแบบนี้ว่า พระอรุณาทิตย์ หรือพระอาทิตย์ เหนือดอกบัวแต่ละดอกเป็นรูปบุคคลยืน แม้จะชำรุดเสียหายแต่สังเกตได้ว่าบุคคลข้างหนึ่งถือแส้ สันนิษฐานว่าอาจเป็นรูปพระอินทร์และพระพรหม |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | ยังไม่ทราบความหมายที่แน่ชัดของพระพุทธรูปประทับเหนือพนัสบดี แต่นักวิชาการเห็นพ้องกันว่าเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะและวัฒนธรรมทวารวดี ไม่มีเหมือนที่แห่งใด สะท้อนให้เห็นว่าพุทธศาสนาในสมัยนั้นมีการแปลความหมายใหม่ หรือมีการปรับเปลี่ยนงานช่างในศาสนาให้เข้ากับคติความเชื่อของพุทธศาสนาท้องถิ่น |
ข้อสังเกตอื่นๆ | ค้นพบที่จังหวัดนครปฐม รูที่เจาะทะลุพระชงฆ์นั้นบางท่านเชื่อว่ามีไว้สำหรับเสียบเหล็กเพื่อยึดตรึงพระพุทธรูปไว้กับสิ่งอื่น บางท่านเชื่อว่าน่าจะยึดตรงกับดุมของธรรมจักร เพราะมีรูเจาะทะลุเหนือดุมเช่นเดียวกัน ยังไม่ทราบคติความหมายที่แน่ชัดของพระพุทธรูปประทับเหนือพนัสบดี บางท่านให้ความเห็นว่าอาจหมายถึงพุทธประวัติตอนลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพราะว่าบางชิ้นขนาบข้างด้วยบุคคลถือฉัตร ซึ่งพ้องกันกับการเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ที่มีทิพยบุคคลติดตามกางกั้นฉัตรให้ ความคิดนี้แพร่หลายมาก จนทำให้เกิดการเรียกพระพุทธรูปปางแสดงธรรมสองพระหัตถ์ซึ่งปรากฏเสมอในพระพุทธรูปประทับเหนือพนัสบดีว่าปางเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีบางท่านเห็นว่ายังไม่มีหลักฐานแวดล้อมใดที่อธิบายได้ว่าเป็นตอนลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ บางทีการคิดพาหนะให้พระพุทธเจ้าและขนาบข้างด้วยผู้ติดตาม อาจเป็นการสื่อสารว่าพระพุทธองค์สูงส่งมากเพียงใดก็ได้ นอกจากนี้นักวิชาการบางท่านยังเชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้าอมิตาภะในลัทธิสุขาวดี กำลังลงมารับดวงวิญญาณผู้ที่นับถือพระองค์ ทั้งนี้ในกรณีที่ทำพาหนะเป็นพระอาทิตย์เทพก็อาจต้องการสื่อว่าพระพุทธิองค์ยิ่งใหญ่กว่าเทพแห่งแสงสว่าง หรือแสงสว่างจากพระพุทธเจ้าสูงส่งกว่าแสงจากพระอาทิตย์ เพราะนำผู้คนเข้าสู่พระนิพพานได้ |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 12-16 |
ศาสนา | พุทธ |
ลัทธิ/นิกาย | เถรวาท |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พุทธศาสนาเถรวาท |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2016-08-19 |
ผู้จัดทำข้อมูล | รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง |
บรรณานุกรม | ธนิต อยู่โพธิ์, พรหมสี่หน้า. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2509. ผาสุข อินทราวุธ, ทวารวดี การศึกษาเชิงวิเคราะห์จากหลักฐานทางโบราณคดี. กรุงเทพฯ : อักษรสมัย, 2542. พิริยะ ไกรฤกษ์, ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทยฉบับคู่มือนักศึกษา. กรุงเทพฯ : อมรินทร์การพิมพ์, 2528. รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง “พระพุทธรูปประทับเหนือพนัสบดีในศิลปะทวารวดี” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2545. ศักดิ์ชัย สายสิงห์, ศิลปะทวารวดี วัฒนธรรมพุทธศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2547. สรัญญา สุริยรัตนกร และคณะ, พิพิธภํณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2542. |