ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

ตำหนักพระพุทธโฆษาจารย์

คำสำคัญ : วิหาร, วัดพุทไธสวรรย์, ตำหนัก

ชื่อหลักวัดพุทไธสวรรย์
ประเภทงานศิลปะสถาปัตยกรรม
ตำบลสำเภาล่ม
อำเภอพระนครศรีอยุธยา
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ภาคภาคกลาง
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 14.339321
Long : 100.557728
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 P
Hemisphere : N
E : 667988.82
N : 1585819.8
ตำแหน่งงานศิลปะเขตสังฆาวาส

ประวัติการสร้าง

สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเพทราชาเพื่อถวายแด่พระอาจารย์ของพระองค์

ประวัติการอนุรักษ์

ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478

ลักษณะทางศิลปกรรม

ตำหนักพระพุทธโฆษาจารย์เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนสองชั้น แผนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ชั้นล่างมีประตูทางเข้าอยู่ทางด้านสกัด ส่วนผนังแปรเป็นช่องหน้าต่างซึ่งก่อด้านบนแบบทรงโค้งแหลม ชั้นบนมีบันไดทางขึ้นอยู่ทางผนังแปร มีช่องหน้าต่างเรียงรายทุกด้าน หลังคาเครื่องไม้มุงด้วยกระเบื้อง

ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

ตำหนักพระพุทธโฆษาจารย์เป็นตัวอย่างของอาคารหลังคาคลุมสมัยอยุธยาตอนปลายที่สมบูรณ์และสำคัญแห่งหนึ่ง นอกจากนี้จิตรกรรมที่อยู่ภายในยังเป็นงานช่างสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งเช่นกัน

ยุคประวัติศาสตร์
อายุพุทธศตวรรษที่ 23
ศาสนาพุทธ
ลัทธิ/นิกายเถรวาท
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพุทธศาสนาเถรวาท

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2015-07-22
ผู้จัดทำข้อมูลดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง
บรรณานุกรม

ศิลปากร, กรม. ทะเบียนโบราณสถาน. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2532.

สันติ เล็กสุขุม. ศิลปะอยุธยา งานช่างหลวงแห่งแผ่นดิน. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2542.