ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

พระพุทธรูปปางมารวิชัย

คำสำคัญ : พระพุทธรูปปางมารวิชัย, พระพุทธรูปมีจารึก, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก

ชื่อเรียกอื่นพระพุทธรูปมีจารึก “แม่อัว”
ชื่อหลักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก
ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
ตำบลวังพิณพาทย์
อำเภอสวรรคโลก
จังหวัดสุโขทัย
ภาคภาคกลาง
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 17.31991
Long : 99.826491
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 Q
Hemisphere : N
E : 587826.28
N : 1915134.18
ตำแหน่งงานศิลปะจัดแสดงภายในอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก

ประวัติการสร้าง

พระพุทธรูปองค์นี้พบจารึกที่ฐานระบุชื่อผู้สร้างว่า “แม่อัว” ผู้เป็นเมียสนมของมหาธรรมราชา มีความปรารถนาให้บุญนี้ส่งผลให้ได้เกิดในยุคพระศรีอาริย์ ไม่ปรากฏศักราชการสร้าง แต่จากรูปแบบทางศิลปกรรมและการเอ่ยถึงพระมหาธรรมราชา จึงเป็นหลักฐานที่ระบุได้ว่าสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 20

กระบวนการสร้าง/ผลิต

หล่อสำริด

ประวัติการอนุรักษ์

พระสวรรควรนายกมอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

ลักษณะทางศิลปกรรม

พระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบถนั่งขัดสมาธิราบบนฐานหน้ากระดาน พระหัตถ์ทำปางมารวิชัย ลักษณะเด่นซึ่งเป็นแบบแผนของพระพุทธรูปสุโขทัยหมวดใหญ่ ได้แก่ พระพักตร์เป็นวงรูปไข่ พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบต่ำ พระนาสิกโด่งงุ้ม พระโอษฐ์งามสมส่วน เม็ดพะศกใหญ่ขมวดเป็นวงก้นหอย พระอุณีษะนูน พระรัศมีเปลวไฟ ครองจีวรห่มเฉียง เรียบไม่มีริ้ว ชายสังฆาฏิเป็นแถบเล็กและยาวจรดพระนาภี ปลายหยักเป็นริ้วดังที่เรียกว่าเขี้ยวตะขาบ

ที่ฐานมีจารึกสมัยสุโขทัยระบุชื่อและความปรารถนาของผู้สร้าง
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

ตัวอย่างพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยที่มีชื่อผู้สร้างและความปรารถนาในการสร้างชัดเจน

ข้อสังเกตอื่นๆ

จารึกที่ฐานเขียนเป็นภาษาไทย อักษรสุโขทัย อ่านแปลเป็นภาษาไทยปัจจุบันได้ว่า “พระเจ้าองค์นี้ แม่อัว เมียพระสนมมหาธรรมราชา บูชา 1,100 ทั้งราชวงศ์เป็น 1,200 จะปรารถนาสรรพสมบัติ (ท่เสด็จ) ขอทันพระศรีอริยไมตรีเจ้าแล”

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะสุโขทัย
อายุพุทธศตวรรษที่ 20
ศาสนาพุทธ
ลัทธิ/นิกายเถรวาท
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพุทธศาสนาเถรวาท
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง

พระพุทธรูปองค์นี้มีลักษณะเดียวกันกับพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยกลุ่มที่พบจารึกหลายองค์ เช่น พระพุทรูปที่อยู่ในพระระเบียงคดวัดเดียวกันระบุจารึก “ทิตไส” หรือพระพุทธรูปในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครระบุจารึก “ทิตไสหง” แสดงว่าน่าจะหล่อขึ้นในเวลาเดียวกัน

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2016-09-30
ผู้จัดทำข้อมูลรุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง
บรรณานุกรม

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. พระพุทธรูปในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และความเชื่อของคนไทย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556.

สันติ เล็กสุขุม. ศิลปะสุโขทัย. พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2555.