ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พระศรีศากยทศพลญาณประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์
คำสำคัญ : พุทธมณฑล, พระศรีศากยทศพลญาณประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์
ชื่อหลัก | พุทธมณฑล |
---|---|
ประเภทงานศิลปะ | ประติมากรรม |
ตำบล | ศาลายา |
อำเภอ | พุทธมณฑล |
จังหวัด | นครปฐม |
ภาค | ภาคกลาง |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 13.776895 Long : 100.320921 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 P Hemisphere : N E : 642797.54 N : 1523443.48 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | พุทธมณฑล |
ประวัติการสร้าง | ออกแบบโดยศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ประติมากรชาวอิตาเลียน และนายสาโรช จารักษ์ จากกรมศิลปากร เป็นผู้ควบคุมการปั้นและขยายแบบ สร้างแล้วเสร็จใน พ.ศ.2525 |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | หล่อด้วยสำริด |
ขนาด | สูง 15.875 เมตร ทองสำริดหนัก 17,543 กิโลกรัม |
ลักษณะทางศิลปกรรม | พระพุทธรูปลีลาเหนือฐานดอกบัว พระหัตถ์ซ้ายแสดงปางวิตรรกมุทรา พระพักตร์รูปไข่ค่อนข้างกลม คล้ายใบหน้าบุคคลจริง ขมวดพระเกศาเป็นก้นหอย มีอุษณีษะรองรับรัศมีเปลว พระกรรณยาว ครองจีวรห่มเฉียงเป็นริ้วอย่างธรรมชาติ มีสังฆาฏิพาดพระอังสา ชายจีวรละจากพระพุทธบัลลังก์ที่อยู่เบื้องหลังอย่างสมจริง |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | พระศรีศากยทศพลญาณประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์เป็นพระพุทธรูปปรานของพุทธมณฑล สร้างขึ้นเนื่องในโอกาสฉลองพระพุทธศาสนาครบ 25 ศตวรรษเมื่อ พ.ศ.2500การออกแบบพระพุทธรูปได้แรงบันดาลใจจากพระพุทธรูปลีลาศิลปะสุโขทัย แต่เพิ่มเติมการครองจีวรที่เหมือนจริง เนื่องจากเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่จึงมีการแบ่งหล่อชิ้นส่วนต่างๆขององค์พระ รวมทั้งสิ้น 137 ชิ้น แล้วนำไปประกอบกับโครงเหล็กบนฐาน ก่อนจะเชื่อมรอยต่อและปรับแต่งให้เป็นเนื้อเดียวกัน ถือเป็นประติมากรรมร่วมสมัยและเป็นพระพุทธรูปลีลาที่หล่อด้วยสำริดที่งดงามและมีขนาดใหญ่ที่สุดในสมัยรัตนโกสินทร์ |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | รัตนโกสินทร์ |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 26 |
ศาสนา | พุทธ |
ลัทธิ/นิกาย | เถรวาท |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พุทธศาสนาเถรวาท |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2016-09-15 |
ผู้จัดทำข้อมูล | พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์ |
บรรณานุกรม | ศักดิ์ชัย สายสิงห์. พระพุทธรูปในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการและความเชื่อของคนไทย. กรุงเทพฯ : ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556. |