ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พระพุทธมนุสสนาค
คำสำคัญ : วัดบวรฯ บางลำพู, วัดบวรนิเวศวิหาร, วัดบวร, พระพุทธมนุสสนาค, พระพุทธรูปฉลองพระองค์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ชื่อเรียกอื่น | พระพุทธรูปฉลองพระองค์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส |
---|---|
ชื่อหลัก | วัดบวรนิเวศวิหาร |
ชื่ออื่น | วัดบวร |
ประเภทงานศิลปะ | ประติมากรรม |
ตำบล | บวรนิเวศ |
อำเภอ | เขตพระนคร |
จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
ภาค | ภาคกลาง |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 13.760163 Long : 100.499757 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 P Hemisphere : N E : 662143.91 N : 1521705.85 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | วิหารเก๋ง เขตพุทธาวาส |
ประวัติการสร้าง | พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2473 |
---|---|
ลักษณะทางศิลปกรรม | พระพุทธรูปประทับยืนเหนือฐานสิงห์กลีบบัว ที่ฐานมีจารึกพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวในการสร้างพระพุทธรูป แสดงปางประทานอภัย 2 พระหัตถ์ หรือปางห้ามสมุทร ปลายนิ้วพระหัตถ์ทั้ง 4 ยาวไม่เสมอกัน ครองจีวรห่มคลุมพระอังสาทั้ง 2 ข้าง จีวรเป็นริ้วอย่างธรรมชาติ แลเห็นจีวรที่ห่มทับสบงที่เป็นริ้วชั้นใน รูปแบบของการทำจีวรจึงแสดงถึงแนวคิดอย่างสมจริง แต่พุทธลักษณะอื่นๆยังคงไว้ ได้แก่ พระพักตร์ที่สงบ พระเนตรเหลือบต่ำ พระกรรณยาว ขมวดพระเกศาเป็นเม็ดเล็ก มีอุษณีษะเตี้ยๆรองรับพระรัศมีเปลว เหนือพระเศียรประดับด้วยฉัตรทองฉลุลาย 5 ชั้น |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระพุทธรูปขึ้นองค์หนึ่งเพื่อเป็นพระพุทธรูปฉลองพระองค์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เนื่องจากได้ทรงครองวัดบวรนิเวศวิหารมาเป็นลำดับที่ 3 และได้ทรงเป็นสมเด็จพระราชอุปัฌาย์เมื่อครั้งรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 ทรงผนวช ทั้งยังทรงมีคุณูปการแก่พระพุทธศาสนาเป็นอันมาก จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระพุทธรูปประทับยืน ปางห้ามสมุทรหรือประทานอภัยสองพระหัตถ์ในระดับพระอุระ ครองจีวรห่มคลุมพระอังสาทั้งสองข้าง ประดับฉัตรทองฉลุลาย 5 ชั้น ที่ฐานพระพุทธรูปมีจารึกและบรรจุพระอังคารของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ พระองค์นั้น แล้วประดิษฐานที่ด้านสกัดทางทิศตะวันตกของวิหารเก๋ง พระราชทานนามพระพุทธรูปว่า พระพุทธมนุสสนาค ตามฉายาทางธรรมของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสว่า มนุสฺสนาโค ซึ่งพ้องกับพระนามเดิมก่อนทรงผนวชคือ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ พระพุทธรูปองค์นี้เป็นตัวอย่างงานช่างในสมัยรัชกาลที่ 7 ที่พบไม่มากนักเนื่องจากเสด็จขึ้นครองราชสมบัติในเวลาอันสั้น การสร้างพระพุทธรูปฉลองพระองค์นี้น่าจะได้แรงบันดาลใจจากพระพุทธปัญญาอัคคะ พระพุทธรูปฉลองพระองค์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นและประดิษฐานไว้ในวิหารเก๋งด้านทิศตะวันออก |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | รัตนโกสินทร์ |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 25 |
ศาสนา | พุทธ |
ลัทธิ/นิกาย | เถรวาท |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พุทธศาสนาเถรวาท |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2016-09-15 |
ผู้จัดทำข้อมูล | พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์ |
บรรณานุกรม | ศานติ ภักดีคำ.พุทธาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร. กรุงเทพฯ: วัดบวรนิเวศวิหาร, 2556. ศิลปกรรมวัดบวรนิเวศวิหาร. กรุงเทพฯ: วัดบวรนิเวศวิหาร, 2556. |