ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

พระพุทธรูปคันธารราฐ

คำสำคัญ : พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระพุทธรูป, พระพุทธรูปคันธารราฐ, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร, วังหน้า, รัชกาลที่ 5

ชื่อเรียกอื่นพระคันธารราฐรัชกาลที่ 5
ชื่อหลักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ชื่ออื่นวังหน้า
ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
ตำบลพระบรมมหาราชวัง
อำเภอเขตพระนคร
จังหวัดกรุงเทพมหานคร
ภาคภาคกลาง
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศารุ้งแวง
Lat : 13.757504
Long : 100.492137
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 P
Hemisphere : N
E : 661324.08
N : 1521406.56
ตำแหน่งงานศิลปะพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน

ประวัติการสร้าง

สร้างขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยนายอัลฟอนโซ ทอร์นาเรลลี ช่างชาวอิตาเลียนปั้นโดยอนุโลมตามพระพุทธรูปคันธารราฐในประเทศอินเดีย เมื่อ พ.ศ. 2453

กระบวนการสร้าง/ผลิต

หล่อสำริด กะไหล่ทอง

ขนาดสูง 73.5 ซม. หน้าตัก 23 ซม.
ลักษณะทางศิลปกรรม

พระพุทธรูปเลียนแบบศิลปะอินเดียแบบคันธารราฐ ประทับยืนปางขอฝนพระพักตร์แหงนเงยขึ้นเบื้องบน พระหัตถ์ขวายกในกิริยากวัก พระหัตถ์ซ้ายหงายรองรับน้ำฝนตรงบั้นพระองค์พระพักตร์มีรูปแบบคล้ายเทพเจ้ากรีก-โรมัน เกล้าพระเกศาเป็นมุ่นโมลี ไม่มีพระรัศมี พระวรกายแสดงกล้ามเนื้ออย่างมนุษย์ ครองจีวรห่มเฉียงเป็นริ้วหนา มีรอยยับอย่างเป็นธรรมชาติ ประทับยืนบนดอกบัว เหนือบันไดขั้นบนสุดของขอบสระโบกขรณี ใกล้กันมีราวบันไดซึ่งมีเสาและพนัก ประดับตกแต่งรูปพระแม่ธรณีบีบมวยผม และรูปมนุษย์นาคซึ่งมีความหมายถึงน้ำ และความอุดสมบูรณ์

ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

พระพุทธรูปคันธารราฐหมายถึงพระพุทธรูปปางขอฝน เรียกชื่อตามเมืองคันธารราฐในอินเดียซึ่งกล่าวกันว่าพระเจ้าแผ่นดินเมืองนั้นได้สร้างพระพุทธรูปปางนี้ขึ้นเพื่อขอฝนตามเหตุการณ์ในพุทธประวัติ

ในสมัยรัตนโกสินทร์มีพระพุทธรูปคันธารราฐเพื่อใช้ประกอบพระราชพิธีต่างๆ เพื่อความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมืองและอำนวยให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ได้แก่ พระราชพิธีพรุณศาสตร์ และพระราชพิธีพืชมงคล โดยพระคันธารราฐแต่เดิมเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิ พระหตถ์ขวาอยู่ในท่ากวักเพื่อเรียกน้ำฝน พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลาเพื่อรองรับน้ำฝน อย่างที่เรียกว่า ปางขอฝน

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระคันธารราฐโดยเลียนแบบศิลปะคันธารราฐของอินเดีย และแสดงออกถึงแนวคิดเรื่องความสมจริงอย่างตะวันตก โดยเป็นพระพุทธรูปยืนแสดงปางขอฝน ใกล้กันนั้นมีราวบันได เนื่องจากในพระสุตตันตปิฎกได้กล่าวถึงเหตุการณ์ในตอนนี้ว่าพระพุทธองค์เสด็จประทับยืนที่บันไดขอบสระโบกขรณี
ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะรัตนโกสินทร์
อายุพุทธศตวรรษที่ 25
ศาสนาพุทธ
ลัทธิ/นิกายเถรวาท
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพุทธศาสนาเถรวาท
ตำนานที่เกี่ยวข้อง

พระสุตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เรื่องมัจฉชาดก

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2016-09-15
ผู้จัดทำข้อมูลพัสวีสิริ เปรมกุลนันท์
บรรณานุกรม

กรมศิลปากร.โบราณวัตถุชิ้นสำคัญในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ.กรุงเทพฯ : กรม, 2554.