ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
อุโบสถวัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน
คำสำคัญ : วัดพระศรีมหาธาตุ, วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน, พระอุโบสถ
ชื่อหลัก | วัดพระศรีมหาธาตุ |
---|---|
ชื่ออื่น | วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน |
ประเภทงานศิลปะ | สถาปัตยกรรม |
ตำบล | อนุสาวรีย์ |
อำเภอ | เขตบางเขน |
จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
ภาค | ภาคกลาง |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 13.874256 Long : 100.593433 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 P Hemisphere : N E : 672188.97 N : 1534393.93 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | เขตพุทธาวาส |
ประวัติการสร้าง | สร้างในสมัยรัฐบาลจอมพลแปลก พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี พลเอก จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ และ หลวงวิจิตรวาทการ เป็นผู้อำนวยการก่อสร้าง หลวงวิจิตรวาทการ และ พระพรหมพิจิตร เป็นผู้ออกแบบ นายช่างกรมศิลปากรและกรมรถไฟเป็นนายช่างก่อสร้าง กระทำพิธีเปิดและถวายเป็นเสนาสนะแก่พระภิกษุสงฆ์ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2485 |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | อาคารคอนกรีต |
ลักษณะทางศิลปกรรม | พระอุโบสถก่ออิฐถือปูน แผนผังแบบจัตุรมุข มุขด้านตะวันตกประดิษฐานพระพุทธรูปประธาน มุขด้านเหนือและใต้เชื่อมต่อเป็นแนวระเบียงคดในผังสี่เหลี่ยมล้อมรอบพระอุโบสถ หลังคาซ้อนชั้นมุงกระเบื้องเคลือบสีประดับกรอบหน้าบันด้วยช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ และนาคสะดุ้งโดยมีโครงสร้างแบบคอนกรีต หน้าบันแต่ละทิศประดับลวดลายไทยที่มีลักษณะเรียบง่าย ไม่เน้นความอ่อนช้อย |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | วัดพระศรีมหาธาตุ เขตบางเขน เป็นวัดที่สร้างขึ้นโดยดำริของจอมพลแปลก พิบูลสงคราม อดีตนายกรัฐมนตรีเพื่อให้เป็นอนุสรณ์แห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยเลือกสถานที่ก่อสร้างใกล้กับอนุสาวรีย์หลักสี่หรืออนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ และให้ชื่อวัดนี้เมื่อแรกสร้างว่า “วัดประชาธิปไตย” ต่อมาคณะรัฐบาลได้ติดต่อขอพระบรมสารีริกธาตุและกิ่งต้นพระศรีมหาโพธิ์จากประเทศอินเดียมาประดิษฐานที่วัดนี้ จึงได้เปลี่ยนนามใหม่ว่า วัดพระศรีมหาธาตุ รูปแบบของพระอุโบสถเป็นแบบจัตุรมุข มุขด้านเหนือและใต้ชักแนวเป็นระเบียงคดโอบล้อมไปด้านหลังพระอุโบสถ ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระศรีสัมพุทธมุนีพระพุทธรูปประธานซึ่งมีพุทธลักษณะคล้ายกับพระพุทธชินราช ภายในระเบียงคดประดิษฐานพระพุทธรูปในอิริยาบถต่างๆ รูปแบบของพระอุโบสถและองค์ประกอบต่างๆ เหล่านี้สันนิษฐานว่าน่าจะได้รับแรงบันดาลใจจากวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าแม้พระอุโบสถจะมีรูปแบบอาคารอย่างไทยประเพณี แต่รายละเอียดในการประดับตกแต่งเป็นไปอย่างเรียบง่าย ไม่เน้นความอ่อนช้อย ซึ่งนักวิชาการบางท่านให้ความเห็นว่าเป็นแนวคิดอย่างใหม่ที่เกิดขึ้นกับสถาปัตยกรรมภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบอบประชาธิปไตย ที่ไม่นิยมการแสดงออกทางฐานานุศักดิ์ในสถาปัตยกรรม จนทำให้เกิดคำเรียกสถาปัตยกรรมในช่วงนี้ว่า สถาปัตยกรรมไทยเครื่องคอนกรีต |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | รัตนโกสินทร์ |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 25 |
ศาสนา | พุทธ |
ลัทธิ/นิกาย | เถรวาท |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พุทธศาสนาเถรวาท |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2016-09-15 |
ผู้จัดทำข้อมูล | พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์ |
บรรณานุกรม | ชาตรี ประกิตนนทการ.การเมืองและสังคมในศิลปสถาปัตยกรรม สยามสมัย ไทยประยุกต์ ชาตินิยม. กรุงเทพฯ : มติชน, 2547. พุฒรียา ประเสริฐสมบัติ. “วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร บางเขน : ประวัติศาสตร์และศิลปกรรม” การศึกษาโดยเสรีในแขนงวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2548. |