ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สถาปัตยกรรมปราสาทมิเซิน กลุ่ม B
ปราสาทมิเซิน กลุ่ม B เป็นตัวอย่างของการจัดวางกลุ่มปราสาทในศิลปะจาม ซึ่งมักวางตัวอย่างไม่เป็นระเบียบ ภายในกลุ่มโบราณสถานประกอบไปด้วยปราสาทประธาน ปราสาทบริวาร บรรณาลัย โคปุระ กำแพงล้อมรอบและมณฑปซึ่งตั้งอยู่ภายนอกกำแพง
สถาปัตยกรรมปราสาทมิเซิน B5
ปราสาทมิเซิน B5 เป็นปราสาทมิเซินกลุ่ม B เพียงหลังเดียวที่ยังมียอดครบสมบูรณ์ เป็นปราสาทที่มีเสาติดผนังจำนวน 5 ต้น โดยสามารถมองเห็นได้เพียงสี่ต้น เนื่องจากเสาต้นกลางถูกซุ้มบดบัง ซึ่งถือเป็นลักษณะที่ปรากฏเสมอๆในศิลปะมิเซิน A1 ซุ้มมีลักษณะเป็นซุ้มหน้านาง ซึ่งเป็นซุ้มที่สืบต่อมาจากซุ้มแบบดงเดือง แต่กลับเป็นซุ้มตอนเดียว ไม่ได้ปรากฏปีกนกต่อเนื่องกันลงมาซึ่งแตกต่างไปจากซุ้มดงเดือง ภายในซุ้มมักปรากฏเทวดาถือกระบอง ซึ่งเป็นลักษณะที่โดดเด่นของศิลปะมิเซิน A1
สถาปัตยกรรมปราสาทมิเซิน C1
ปราสาทมิเซิน C1 เป็นปราสาทประธานของมิเซินกลุ่ม C และเป็นปราสาทประธานเพียงหลังเดียววที่มีแผนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยมีหลังคาเป็นทรงประทุน (เรียกว่าทรงศาลาในศิลปะอินเดียใต้) เนื่องจากปราสาทมีแผนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทำให้ด้านยาวมีเสาติดผนังจำนวนถึง 7 ต้น โดยสามารถมองเห็นได้เพียงหกต้นเท่านั้น เนื่องจากเสาต้นกลางถูกซุ้มบดบัง ซึ่งถือเป็นลักษณะที่ปรากฏเสมอๆในศิลปะมิเซิน A1 ซุ้มมีลักษณะเป็นซุ้มหน้านาง ซึ่งเป็นซุ้มที่สืบต่อมาจากซุ้มแบบดงเดือง แต่กลับเป็นซุ้มตอนเดียว ไม่ได้ปรากฏปีกนกต่อเนื่องกันลงมาซึ่งแตกต่างไปจากซุ้มดงเดือง ภายในซุ้มมักปรากฏเทวดาถือกระบอง ซึ่งเป็นลักษณะที่โดดเด่นของศิลปะมิเซิน A1
สถาปัตยกรรมปราสาทมิเซิน C1
ปราสาทมิเซิน C1 เป็นปราสาทประธานของมิเซินกลุ่ม C และเป็นปราสาทประธานเพียงหลังเดียวที่มีแผนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยมีหลังคาเป็นทรงประทุน (เรียกว่าทรงศาลาในศิลปะอินเดียใต้) ด้านหน้าของปราสาทปรากฏมณฑปซึ่งมียอดเป็นทรงประทุนเช่นเดียวกัน มณฑปมีเสาติดผนังห้าต้น และด้านหน้ามีเกรอบประตูซึ่งสลักจากหิน เสากรอบประตูมีลักษณะเป็นรูปแจกันคว่ำ-หงายสลับกันซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของศิลปะมิเซิน A1
สถาปัตยกรรมรายละเอียดบัวรัดเกล้าของปราสาทมิเซิน C1
ปราสาทมิเซิน C1 เป็นปราสาทในศิลปะมิเซิน A1 ซึ่งมีลักษณะสำคัญคือ การทำร่องของเสาให้ทะลุเลยขึ้นไปถึงบัวหัวเสา บัวหัวเสาในระยะนี้ ประกอบด้วยบัวหงายทั้งบัวหงายนูนและบัวหงายเว้า และมีระบบการซ้อนกันอย่างซับซ้อนกว่าศิลปะในระยะก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ปราสาทมิเซิน C1 ยังสลักไม่เสร็จ บัวหัวเสาจึงยังไม่ได้มีรายละเอียด
สถาปัตยกรรมจันทิภีมะ
จันทิหลังนี้ ถือเป็นจันทิแบบศิขระที่ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะอินเดียเหนือเพียงแห่งเดียวในศิลปะชวา โดยที่ยอดประกอบด้วยเก็จจำนวน 3 เก็จ แต่ละเก็จประดับด้วยกูฑุซึ่งมีหน้าบุคคลโผล่ ซึ่งคงเป็นการจำลองลวดลายควากษะในศิลปะอินเดียเหนือ ส่วนที่เก็จมุมประดับอามลกะซึ่งเกี่ยวข้องกับศิขระอินเดียเหนือเช่นกัน เส้นรอบนอกศิขระของจันทิภีมะเป็นเส้นตรง อันแตกต่างไปจากยอดของจันทิอรชุนและจันทิปุนตเทพที่เป็นขั้นบันได ภายหลังจากศิลปะชวาภาคกลางตอนต้น จันทิแบบศิขรินเยเหนือจะสูญหายไปจากความนิยมในศิลปะชวา คงเหลือแต่ยอดวิมานอินเดียใต้เท่านั้นที่จะสืบทอดไปถึงระยะหลัง
สถาปัตยกรรมจันทิเมนดุต
จันทิตั้งอยู่บนฐานประทักษิณขนาดใหญ่ เรือนธาตุแบ่งออกเป็นสามเก็จ โดยเก็จประธานประดับภาพพระโพธิสัตว์ประทับนั่งอยู่บนดอกบัว ส่วนเก็จมุมประดับพระโพธิสัตว์อันยิ่งใหญ่แปดองค์ในพุทธศาสนามหายาน หรืออัษฏมหาโพธิสัตว์ ซึ่งทำให้จันทิเมนดุตกลายเป็น “มณฑล” หรือแผนภูมิจักรวาลในพุทธศาสนามหายาน ชั้นหลังคาประดับด้วยเรือนธาตุจำลองซ้อนชั้นตามแบบวิมานอินเดียใต้ แต่ประดับไปด้วยสถูปิกะตามแบบชวาภาคกลางแล้ว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้คงได้อิทธิพลมาจากพุทธศาสนาเป็นสำคัญ
สถาปัตยกรรมจันทิปะวน
จันทิหลังนี้ ถือเป็นจันทิขนาดเล็กที่งดงามที่สุดในศิลปะชวาภาคกลางตอนกลาง จันทิตั้งอยู่บนฐานประทักษิณเช่นเดียวกับจันทิเมนดุต แบ่งออกเป็นสามเก็จ เก็จประธานมีภาพต้นกัลปพฤกษ์สื่อถึงความอุดมสมบูรณ์ ส่งเก็จมุมเป็นภาพพระโพธิสัตว์ยืน ชั้นหลังคาประดับด้วยสถูปิกะตามแบบชาภาคกลางตอนกลางที่ได้เปลี่ยนมานิยมสถูปิกะแทนตามความคิดทางพุทธศาสนา ราวบันไดของจันทิปะวนยังประดับด้วยลวดลายต้นกัลปพฤกษ์ซึ่งสื่อถึงการอวยพรให้ผู้ศรัทธาได้รับความอุดมสมบูร์ณเช่นเดียวกัน