ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 441 ถึง 448 จาก 941 รายการ, 118 หน้า
เจดีย์เลมเยทนา
แปร
สถาปัตยกรรมเจดีย์เลมเยทนา

เจดีย์เลมเยทนา ถือเป็นเจตียวิหารที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในศิลปะพม่า เจดีย์มีแกนกลางรับน้ำหนักยอดศิขระ (ซึ่งหักหายไปแล้ว) โดยรอบมีพระพุทธรูปสี่ทิศและทางประทักษิณภายใน ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็นต้นเค้าให้กับแผนผังของเจดีย์ในศิลปะพุกามหลายองค์ เช่น อานันทเจดีย์ เป็นต้น แผนผังแกนกลางและพระพุทธรูปสี่ทิศที่ยังไม่ซับซ้อนเมื่อเทียบกันอานันทเจดีย์นั้น แสดงให้เห็นว่าเจดีย์องค์นี้อยู่ในสมัยศรีเกษตร

ภายในเจดีย์เลมเยทนา
แปร
สถาปัตยกรรมภายในเจดีย์เลมเยทนา

เจดีย์เลมเยทนา ถือเป็นเจตียวิหารที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในศิลปะพม่า เจดีย์มีแกนกลางรับน้ำหนักยอดศิขระ (ซึ่งหักหายไปแล้ว) โดยรอบมีพระพุทธรูปสี่ทิศและทางประทักษิณภายใน ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็นต้นเค้าให้กับแผนผังของเจดีย์ในศิลปะพุกามหลายองค์ เช่น อานันทเจดีย์ เป็นต้น แผนผังแกนกลางและพระพุทธรูปสี่ทิศที่ยังไม่ซับซ้อนเมื่อเทียบกันอานันทเจดีย์นั้น แสดงให้เห็นว่าเจดีย์องค์นี้อยู่ในสมัยศรีเกษตร

เจดีย์ชินดัตมยินดัต
มอญ
สถาปัตยกรรมเจดีย์ชินดัตมยินดัต

ศิลปะมอญสะเทิม เจริญขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 12-16 ในแถบปากแม่น้ำอิระวดีและสาละวินทางตอนใต้ของประเทศพม่า เจดีย์องค์นี้ก็คงเป็นศาสนสถานแห่งหนึ่งภายใต้สกุลศิลปกรรมดังกล่าว ฐานเจดีย์สร้างด้วยศิลาแลง ซึ่งเป็นวัสดุที่ศิลปะมอญสะเทิมนิยม ฐานมีการแบ่งเป็นช่องๆ โดยแต่ละช่องบรรจุรูปสัตว์ เช่น ช้างหรือสิงห์เป็นต้น เค้าโครงของเจดีย์แบบนี้คล้ายคลึงกับศิลปะทวารวดีอย่างมาก จนอาจมีความสัมพันธ์ทางใดทางหนึ่ง

ปราสาทสมโบร์ไพรกุก หมู่ใต้ หลังที่ 1
กัมปง ธม
สถาปัตยกรรมปราสาทสมโบร์ไพรกุก หมู่ใต้ หลังที่ 1

ปราสาทสมัยก่อนเมืองพระนคร มักสร้างด้วยอิฐและแตกต่างด้วยการสลักอิฐเสมอ โดยไม่มีการเพิ่มมุม แต่มักประดับด้วยเสาติดผนังที่มุมและที่ด้าน ปราสาทสมโบร์ไพรกุกหลังนี้ มีการตกแต่งด้านข้างด้วยเสาติดผนังจำนวน 6 ต้น แบ่งพื้นที่เรือนธาตุออกเป็น 5 เก็จ โดยเก็จประธานประดับซุ้มประตูทรงปราสาท ส่วนเก็จข้างประดับ “วิมานลอย” ซึ่งถือเป็นลักษณะเฉพาะของสมัยก่อนเมืองพระนคร ยอด้ายบนมีลักษณะเป็นเรือนธาตุซ้อนชั้นตามอย่างวิมาน อินเดียใต้ โดยแต่ละชั้นมีการประดับปราสาทจำลองซึ่งมีบันไดเป็นระยะๆ ปราสาทจำลองเช่นนี้ถือเป็นลักษณะเฉพาะในสมัยก่อนเมืองพระนครเช่นกัน

ปราสาทแปดเหลี่ยม : ปราสาทสมโบร์ไพรกุก
กัมปง ธม
สถาปัตยกรรมปราสาทแปดเหลี่ยม : ปราสาทสมโบร์ไพรกุก

ปราสาทสมโบร์ไพรกุก มีปราสาทบางหลังที่มีแผนผังแปดเหลี่ยม ซึ่งถือเป็นลักษณะพิเศษที่ปรากฏเฉพาะสมัยก่อนเมืองพระนครเท่านั้น ปราสาทแปดเหลี่ยมเหล่านี้ ไม่มีการเพิ่มมุม แต่ใช้เสาติดผนังขนาบแต่ละมุม และกึ่งกลางปรากฏ “วิมานลอย” ซึ่งถือเป็นลักษณะสำคัญของศิลปะก่อนเมืองพระนคร ส่วนยอดของปราสาทแปดเหล่ยมเหล่านี้ มักประดับไปด้วยชุดหลังคาลาดที่ประดับไปด้วยกูฑุ อันเกี่ยวข้องกับศิลปะอินเดียเหนือ แตกต่างอย่างยิ่งไปจากยอดแบบวิมานปราสาทในผังสี่เหลี่ยมซึ่งได้รับความนิยมในระยะร่วมสมัย

ปราสาทสมโบร์ไพรกุก หมู่กลาง หลังที่ 1
กัมปง ธม
สถาปัตยกรรมปราสาทสมโบร์ไพรกุก หมู่กลาง หลังที่ 1

ปราสาทสมัยก่อนเมืองพระนคร มักสร้างด้วยอิฐและแตกต่างด้วยการสลักอิฐเสมอ โดยไม่มีการเพิ่มมุม แต่มักประดับด้วยเสาติดผนังที่มุมและที่ด้าน อนึ่ง ปราสาทหลังนี้มีลักษณะโดยรวมคล้ายคลึงกับปราสาทสมโบร์ไพรกุกหลังอื่นๆ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากรูปแบบทั้งหลังได้เปลี่ยนไปกลายเป็นแบบไพรกเมงต่อกำพงพระแล้ว ด้วยเหตุนี้ปราสาทหลังนี้จึงควรมีอายุหลังกว่าปราสาทสมโบร์ไพรกุกในหมู่ใต้และหมู่เหนือ ด้านหน้าปราสาทมีการสลักบันไดขนาดใหญ่จากหินก้อนเดียว และมีการสลักรูปสิงห์ทวารบาล ซึ่งทำให้ปราสาทหลังนี้รู้จักกันในอีกรนามหนึ่งว่า “ปราสาทสิงห์”

พระอารามโรงเจิน
พนมกุเลน
สถาปัตยกรรมพระอารามโรงเจิน

ปราสาทพระอารามโรงเจิน เป็นปราสาทที่สร้างขึ้นในรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 เพื่อประดิษฐานพระเทวราช และศิวลึงค์ประจำพระองค์ ปราสาทแห่งนี้ตั้งอยู่บนฐานเป็นชั้นที่สร้างขึ้นจากศิลาแลง ด้านบนปรากฏฐานศิวลึงค์อยู่ ซึ่งอาจเคยอยู่ในปราสาทที่หักพังไปหมดแล้ว ฐานเป็นชั้นนี้คงเป็นความพยายามในการจำลองเขาไกรลาส ที่ประทับของพระศิวะ และต่อมาจกลายเป็นประเพณีในสมัยเมืองพระนครที่ปราสาทที่ประดิษฐานพระเทวราชและศึวลึงค์ประจำพระองค์กษัตริย์ต้องเป็นปราสาทบนฐานเป็นชั้นเสมอ

ปราสาทดำไรกราบ
พนมกุเลน
สถาปัตยกรรมปราสาทดำไรกราบ

ปราสาทจามสมัยหัวล่าย ประกอบด้วยเสาติดผนังจำนวน 4 ต้นเสมอ กึ่งกลางเสาประดับด้วย “แถบลาย” ขนาดใหญ่เช่นเดียวกับปราสาทหัวล่ายในเวียดนาม นอกจากนี้ที่บัวหัวเสายังปรากฏเค้าโครงของครุฑแบกซึ่งคล้ายคลึงกับส่วนเดียวกันของปราสาทหัวล่ายด้วย อย่างไรก็ตาม ปราสาทแห่งนี้กลับสลักไม่เสร็จ จึงยังไม่ปรากฏลวดลายใดๆบรรจุอยู่ในแถบลายกึ่งกลางเสา