ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประติมากรรมม้าพลาหะ
ม้าพลาหะ เป็นประติมากรรมรูปม้าขนาดใหญ่ หันหน้าเข้าสู่ตัวปราสาทประธาน ที่ประติมากรรมม้าพลาหะ ปรากฏการสลักประติมากรรมบุคคลโดยรอบ
ประติมากรรมพระอวโลกิเตศวร
ประติมากรรมพระอวโลกิเตศวร พระเศียรหักหายไป เปลือยกายท่อนบน พระวรกายหนา สวมเครื่องทรง ได้แก่ กรองศอเป็นลักษณะเป็นสร้อยคอแผงมีอุบะพู่ห้อยโดยรอบ นุ่งผ้านุ่งสั้นเหมือนผ้านุ่งชั้นในอัตพลีต มีชายผ้าหางปลาตกลงมาตรงกลางชายเดียว เป็นรูปแบบของศิลปะบายน รายล้อมไปด้วยเหล่าเทวดาและพระโพธิสัตว์
ประติมากรรมท่อน้ำ สลักรูปเศียรมนุษย์
ประติมากรรมรูปเศียรมนุษย์นั้น ปรากฏอยู่ซุ้มทางด้านทิศตะวันออกของปราสาทนาคพัน เป็นรูปเศียรบุคคล สวมกระบังหน้ายอดมงกุฏทรงกรวย อยู่ในท่าอ้าพระโอษฐ์ซึ่งเป็นส่วนของท่อน้ำ
สถาปัตยกรรมปราสาทนครวัด
ปราสาทล้อมรอบไปด้วยคูน้ำซึงกว้างด้านละ 1 กิโลเมตร ด้านหน้าปรากฏทางเดินยาวนำเข้าสู่ปราสาทซึ่งตั้งอยู่บนฐานสามชั้น แต่ละชั้นมีระเบียงคดล้อมรอบ มีโคปุระที่ด้านทุกด้านและมีปราสาทที่มุมทุกมุม ด้านบนสุดประดิษฐานปราสาทประธานจำนวนห้าหลัง ปราสาทนครวัดถือเป็นปราสาทที่นำความสำเร็จของปราสาทตาแก้วมาผสมกับความสำเร็จของปราสาทบาปวน ด้วนเหตุนี้ ปราสาทแห่งนี้จึงมีปราสาทประธานห้าหลังอยู่บนยอดเช่นเดียวกับปราสาทตาแก้ว และสามารถนำระเบียงคดขึ้นไปไว้ด้านบนฐานเป็นชั้นแต่ละชั้นได้
ประติมากรรมปราสาทประธาน: ปราสาทนครวัด
ปราสาทประธานของปราสาทนครวัด มีลักษณะตามแบบพุทธศตวรรษที่ 17 กล่าวคือ สร้างด้วยหินทั้งหลังมีประตูทางออกสี่ทิศและมีมุขยื่นออกมาทั้งสี่ทิศ ซึ่งในที่นี่ต่อเชื่อกับระเบียงรูปกากบาท เรือนธาตุอยู่ในผังเพิ่มมุม ด้านบนเป็นยอดวิมานที่ประดับไปด้วยกลีบขนุนทำให้ปราสาทมียอดเป็นทรงพุ่ม อนึ่ง ปราสาทซึ่งใช้กลีบขนุนประดับยอดนี้ปรากฏในปราสาทอื่นๆในระยะร่วมสมัยด้วย เช่น ปราสาทบันทายสำเหร่และปราสาทพิมาย
ประติมากรรมนางอัปสร
ประติมากรรมทวารบาลสตรี เกล้ามวยผมไปด้านหลัง เปลือยกายท่อนบน ไม่สวมเสื้อ สวมเครื่องประดับ นุ่งผ้านุ่งยาวเรียบไม่มีริ้ว มีการชักชายผ้าออกมาตรงขอบผ้านุ่ง รวมถึงปรากฏเส้นริ้วตรงกลางผ้านุ่งลักษณะคล้ายกับจีบหน้านางในสมัยก่อนเมืองพระนคร แต่มีลักษณะลายแบบชายผ้าหางปลา ทวารบาลอยู่ภายในซุ้มเรือนแก้ว เป็นซุ้มคดโค้งตามแบบศิลปะบันทายศรี