ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 17 ถึง 22 จาก 22 รายการ, 3 หน้า
พระกรรติเกยะประทับบนนกยูง
ดานัง
ประติมากรรมพระกรรติเกยะประทับบนนกยูง

พระกรรติเกยะ ทรงเป็นโอรสของพระศิวะ ด้วยเหตุนี้จึงแสดงความเป็น “พระกุมาร” หรือเป็นเด็กเสมอ นอกจากนี้ยังทรงนกยูงเป็นพาหนะและถือวัชระอันเป็นอาวุธของพระอินทร์มาก่อน

หน้าบันรูปพระวิษณุ
ดานัง
ประติมากรรมหน้าบันรูปพระวิษณุ

พระวิษณุทรงเป็นเทพเจ้าผู้รักษาจักรวาล ทรงมีสี่พระกร ถือจักร สังข์ คทาและธรณี ทรงกิรีฏมกุฏหรือหมวกทรงกระบอกอันแสดงฐานะความเป็นกษัตริย์ของพระองค์ อาจเป็นไปได้ที่หน้าบันย่อมแสดงให้เห็นว่าปราสาทหลังนี้สร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้กับพระวิษณุ ซึ่งพบน้อนกว่าปราสาทที่สร้างอุทิศให้กับพระศิวะมาก

รูปสัตว์จากปราสาทถาปมาม
ดานัง
ประติมากรรมรูปสัตว์จากปราสาทถาปมาม

รูปสิงห์จากปราสาทถาปมาม แสดการยกแข้งยกขาตามแบบศิลปะจีน หน้าตาของสิงห์มีการปะปนระหว่าง "สิงห์" และ "มังกรจีน" เป็นอย่างมาก ทั้งการมีเครา การอ้าปากแลบลิ้น การมีเขี้ยวมุมปาก เป็นต้น ทั้งหมดนี้แสดงอิทธิพลของเวียดนามที่เข้ามามีบทบาททางการเมืองขึ้นเรื่อยๆในพื้นที่แถบนี้

รูปสัตว์จากปราสาทถาปมาม
ดานัง
ประติมากรรมรูปสัตว์จากปราสาทถาปมาม

รูปสิงห์แบบจากปราสาทถาปมาม แสดงให้เห็นอิทธิพลศิลปะขอมแบบบายนที่เข้ามามีบทบาทในศิลปะบิญดิ่นอย่างมาก เนื่องด้วยท่าทางของสิงห์ดังกล่าวคล้ายคลึงกับสัตว์แบกฐานพระราชวังหลวงของเมืองพระนครอย่างมาก อนึ่ง เนื่องด้วยการโจมตีของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทำให้ประติมากรรมในระยะนี้มีอิทธิพลขอมเข้ามาปะปน การชักชายผ้ารูปสามเหลี่ยมด้านหน้าก็ถือเป็นอิทธิพลจากศิลปะขอมเช่นกัน

รูปสัตว์จากปราสาทถาปมาม
ดานัง
ประติมากรรมรูปสัตว์จากปราสาทถาปมาม

รูปสิงห์จากปราสาทถาปมาม แสดการยกแข้งยกขาตามแบบศิลปะจีน รวมทั้งการมีเคราก็แสดงอิทธิพลจีนเช่นกัน อย่างไรก็ตาม หน้าตาของสิงห์ตัวนี้ยังแสดงให้เห็นอิทธิพลศิลปะขอมแบบบายนที่เข้ามามีบทบาทในศิลปะบิญดิ่นด้วย อนึ่ง เนื่องด้วยการโจมตีของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทำให้ประติมากรรมในระยะนี้มีอิทธิพลขอมเข้ามาปะปน

ประติมากรรมบุคคลทรงมงกุฎ
ดานัง
ประติมากรรมประติมากรรมบุคคลทรงมงกุฎ

ดูเหมือนประติมากรรมบุคคลนี้จะมีอายุที่เก่าแก่ที่สุดในศิลปะจาม เนื่องจากมีมงกุฎใกล้เคียงกับศิลปะคุปตะของอินเดียอย่างมาก โดยเฉพาะการประดับมงกุฎที่มีตาบกลมจำนวนสามตาบและการทรง “ศิรัศจักร” หรือผ้ารูปกลมจับจีบที่แผ่ด้านหลังพระเศียร