ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ประติมากรรมภาพจำหลักเรื่องชาดกที่ชเวนันดอจอง
เนื่องจากรัชสมัยพระเจามินดงเป็นช่วงที่อิทธิพลตะวันตกได้เข้ามามีบทบาทมากในศิลปะพม่า ทำให้เกิดการนำเอาลายอะแคนธัส หรือใบผักกาดฝรั่งมาประยุกต์ใช้ประดับสถาปัตยกรรมพม่าอย่างมาก ภาพนี้เป็นภาพสลักเล่าเรื่องชาดกซึ่งล้อมรอบไปด้วยลายอะแคนธัส ซึ่งประดับอยู่ที่มุมของชานชาลายกพื้นภายในอาคารของชเวนันดอจอง เป็นไปได้ที่การประดับดังกล่าวถูกสลักเพิ่มเติมขึ้นเมื่ออาคารหลังนี้ได้รับการถวายให้กลายเป็นวัดแล้ว

ประติมากรรมภาพจำหลักเรื่องชาดกที่ชเวนันดอจอง
เนื่องจากรัชสมัยพระเจามินดงเป็นช่วงที่อิทธิพลตะวันตกได้เข้ามามีบทบาทมากในศิลปะพม่า ทำให้เกิดการนำเอาลายอะแคนธัส หรือใบผักกาดฝรั่งมาประยุกต์ใช้ประดับสถาปัตยกรรมพม่าอย่างมาก ภาพนี้เป็นภาพสลักเล่าเรื่องชาดกซึ่งล้อมรอบไปด้วยลายอะแคนธัส ซึ่งประดับอยู่ที่มุมของชานชาลายกพื้นภายในอาคารของชเวนันดอจอง เป็นไปได้ที่การประดับดังกล่าวถูกสลักเพิ่มเติมขึ้นเมื่ออาคารหลังนี้ได้รับการถวายให้กลายเป็นวัดแล้ว

ประติมากรรมสรัสวดีในรูปของนัต
เทวีสรัสวดี เทพีแห่งความรู้ในศาสนาฮินดู ได้กลายเป็นเทพีผู้ปกป้องความรู้ทางพุทธศาสนาเถรวาทในพม่า แสดงให้เห็นกระบวนการดูดกลืนศาสนาฮินดูเข้าสู่ศาสนาพุทธซึ่งเป้นกระบวนการปกติในแถบเอเชียอาคเนย์

สถาปัตยกรรมธาตุ วัดอินแปง
ธาตุวัดอินแปง เป็นธาตุในผังแปดเหลี่ยม โดยมีส่วนสำคัญอยู่ในทรงดอกบัวเหลี่ยมซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะล้านช้าง ฐานเป็นฐานบัวเข่าพรหมในรูปของ “ขาสิงห์” ซึ่งแสดงความสัมพันธ์กับฐานสิงห์ในศิลปะอยุธยาตอนกลางและคล้ายคลึงอย่างมากกับส่วนเดียวกันของธาตุที่วัดองค์ตื้อ อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย

สถาปัตยกรรมธาตุ วัดนาคใหญ่
เจดีย์วัดนาคใหญ่ ถือเป็นธาตุทรงปราสาทที่งดงามที่สุดในเขตเมืองเวียงจันทน์ มีความคล้ายคลึงกับศิลปะล้านนาอย่างมาก เรือนธาตุที่เพิ่มมุมไม้ 20 ปรากฏซุ้มทั้งสี่ทิศประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืน เหนือเรือนธาตุปรากฏชั้นหลังคารองรับองค์ระฆังในผังเพิ่มมุมไม้ 12 และยอดทรงบัวเหลี่ยม อนึ่ง ธาตุทรงปราสาทองค์นี้อาจสร้างขึ้นในระหว่างรัชกาลพระเจ้าไชยเชษฐาถึงรัชกาลพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิการาชซึ่งเป็นระยะที่ศิลปะล้านช้างยังคงแสดงความใกล้ชิดกับศิลปะล้านนาและอยุธยาอยู่

สถาปัตยกรรมสิม วัดสีสะเกด
สิมวัดสีสะเกด เป็นสิมแบบเวียงจันทน์ที่มีหลังคาด้านข้างยกสูง แตกต่างไปจากหลังคาที่เตี้ยเลียบพื้นตามแบบหลวงพระบางและเชียงขวาง โดยรอบปรากฏพาไลซึ่งคล้ายคลึงอย่างมากกับอุโบสถในศิลปะรัตนโกสินทร์หลายแห่ง ซุ้มประตูและหน้าต่างเองก็เป็นทรงมณฑปซึ่งคล้ายคลึงกับอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามในกรุงเทพ อย่างไรก็ตาม การซ้นชั้นของหลังคาที่ชั้นเชิงตามแบบล้านช้าง กระเบื้องที่ไม่เคลือบสีและการปรากฏ “ช่อฟ้า” หรือปราสาทยอดที่กึ่งกลางสันหลังคาล้วนแต่เป็นเอกลักษณ์ตามแบบล้านช้างเอง

สถาปัตยกรรมหอไตร วัดสีสะเกด
หอไตรวัดสีสะเกด เป็นหอไตรที่มีหลังคาทรงมณฑป (หลังคาลาดซ้อนชั้นประดับหน้าบันขนาดเล็ก) คล้ายคลึงอย่างมากกับหอไตรที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามในกรุงเทพ อย่างไรก็ตาม การซ้อนชั้นของหลังคาที่ชั้นเชิงตามแบบล้านช้างและกระเบื้องที่ไม่เคลือบสีล้วนแต่เป็นเอกลักษณ์ตามแบบล้านช้างเอง ภายในเป็นที่ตั้งของตู้พระไตรปิฎกขนาดใหญ่ลงรักปิดทอง

สถาปัตยกรรมธาตุดำ
ที่น่าประหลาดก็คือ ธาตุฝุ่นเป็นเจดีย์เพียงแห่งเดียวในแถบนี้ที่พยายามจำลองเจดีย์แบบมอญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรูปแบบของฐานสี่เหลี่ยมเพิ่มมุมจำนวนมาก เป็นฐานลาดเอียงรองรับองค์ระฆังที่ไม่มีบัลลังก์นั้น ล้วนแค่เป็นรูปแบบสำคัญของเจดีย์มอญในประเทศพม่า