ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สถาปัตยกรรมหอพระไตรปิฎก วัดอินแปง
หอระไตรปิฎก วัดอินแปง ถือเป็นหอพระไตรปิฎกแบบล้านช้างอย่างแท้จริงเพียงแห่งเดียวที่เหลือรอดจากการทำลายเมืองเวียงจันทน์ในรัชกาลพระเจ้าอนุวงศ์ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาดเล็กในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ฐานเป็นบัวเข่าพรหมที่มีลวดบัวแบบลาวอย่างซับซ้อน เรือนธาตุด้านหน้าปรากฏประตู ส่วนที่เหลืออีกสามด้านเป็นหน้าต่างที่มีรายละเอียดอย่างมาก สำหรับภาพนี้เป็นประตูของหอพระไตรปิฎก ซึ่งมีลักษณะเป็นซุ้มประตูยอด ด้านในมีหงส์หันเข้าซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะล้านนา ยอดปราสาทด้านบนและทวารบาลก็มีรูปแบบคล้ายคลึงกับศิลปะล้านนาเช่นกัน
สถาปัตยกรรมหอพระไตรปิฎก วัดอินแปง
หอระไตรปิฎก วัดอินแปง ถือเป็นหอพระไตรปิฎกแบบล้านช้างอย่างแท้จริงเพียงแห่งเดียวที่เหลือรอดจากการทำลายเมืองเวียงจันทน์ในรัชกาลพระเจ้าอนุวงศ์ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาดเล็กในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ฐานเป็นบัวเข่าพรหมที่มีลวดบัวแบบลาวอย่างซับซ้อน เรือนธาตุด้านหน้าปรากฏประตู ส่วนที่เหลืออีกสามด้านเป็นหน้าต่างที่มีรายละเอียดอย่างมาก สำหรับภาพนี้เป็นหน้าต่างของหอพระไตรปิฎก ซึ่งมีลักษณะเป็นซุ้มหน้าต่างยอดปราสาท ชั้นหลังคาประกอบด้วยหลังคาลาดขนาดใหญ่ 1 ชั้นและเชิงบาตรซ้อนกันขึ้นไป เค้าโครงของปราสาทมีรูปแบบคล้ายคลึงกับศิลปะล้านนา โดยรอบผนังปรากฏร่องรอยของลายปูนปั้นที่แบ่งเป็นช่องๆ ซึ่งอาจเคยมีภาพเล่าเรื่องมาก่อน ปัจจุบันหลุดร่วงลงเกือบหมด
สถาปัตยกรรมธาตุ วัดอินแปง
ธาตุวัดอินแปง เป็นธาตุในผังแปดเหลี่ยม โดยมีส่วนสำคัญอยู่ในทรงดอกบัวเหลี่ยมซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะล้านช้าง ฐานเป็นฐานบัวเข่าพรหมในรูปของ “ขาสิงห์” ซึ่งแสดงความสัมพันธ์กับฐานสิงห์ในศิลปะอยุธยาตอนกลางและคล้ายคลึงอย่างมากกับส่วนเดียวกันของธาตุที่วัดองค์ตื้อ อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย