ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สถาปัตยกรรมเจดีย์สัพพัญญู
เจดีย์องค์นี้ถือเป็นเจตีวิหารสองชั้นแห่งแรกในศิลปะพุกาม โดยปรากฏกการซ้อนกันของเรือนธาตุชั้นล่างกับชั้นบน ชั้นล่างเป็นแกนกลางขนาดใหญ่รับน้ำหนักเจตียวิหารในผังแบบครรถคฤหะ-มณฑปด้านบน เจตียวิหารสองชั้นนี้จะได้รับความนิยมต่อมาในศิลปะพุกามตอนปลาย โดยเจดีย์สำคัญที่ใช้เจดีย์สัพพัญญูเป็นต้นแบบ ได้แก่เจดีย์สูลามณีและเจดีย์ติโลมินโล
สถาปัตยกรรมเจดีย์สูลามณี
เป็นเจตีวิหารสองชั้นที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่งในศิลปะพุกาม โดยปรากฏกการซ้อนกันของเรือนธาตุชั้นล่างกับชั้นบน ชั้นล่างเป็นแกนกลางขนาดใหญ่รับน้ำหนักเจตียวิหารในผังแบบครรถคฤหะ-มณฑปด้านบน ส่วนยอดนั้นเป็นยอดศิขระเจตียวิหารสองชั้นนี้ถือเป็นลักษณะเฉพาะของศิลปะพุกามตอนปลาย โดยปรากฏมาก่อนที่เจดีย์สัพพัญญูในรัชกาลพระเจ้าอลองสิทธุ และจะปรากฏต่อไปกับเจดีย์ติโลมินโลซึ่งสร้างขึ้นในรัชกาลพระเจ้านันตวงมยาด้วย
จิตรกรรมพระพุทธเจ้าขนาดใหญ่
การเขียนพระพุทธรูปขนาดใหญ่เพื่อให้เต็มพื้นที่ผนังที่มีขนาดใหญ่นั้น ดูเหมือนจะเป็นความนิยมในศิลปะสมัยราชวงศ์คองบองสกุลช่างพุกาม อนึ่ง พระกรรณที่บานออก รวมถึงชายจีวรที่พระอังสาซ้ายยาวจนถึงพระนาภีนั้น เป็นลักษณะเฉพาะของศิลปะในสมัยหลังจากพุกาม
จิตรกรรมพุทธประวัติตอนสัตตมหาสถาน
จิตรกรรมที่นี่ดูเหมือนว่าจะเป็นลายเส้นบนพื้นสีครีม พระพุทธองค์ทรงมีชาวจีวรสองชั้นพาดพระอังสาซ้าย คือ ชายจีวรสั้นกับชายจีวรยาว ซึ่งถือเป็นลักษณะสำคัญของศิลปะสมัยหลังพุกาม
จิตรกรรมพุทธประวัติตอนสัตตมหาสถาน
จิตรกรรมที่นี่ดูเหมือนว่าจะเป็นลายเส้นบนพื้นสีครีม พระพุทธองค์ทรงมีชาวจีวรสองชั้นพาดพระอังสาซ้าย คือ ชายจีวรสั้นกับชายจีวรยาว ซึ่งถือเป็นลักษณะสำคัญของศิลปะสมัยหลังพุกาม