ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 49 ถึง 56 จาก 62 รายการ, 8 หน้า
พระพุทธบาทบนเพดาน
อมรปุระ
จิตรกรรมพระพุทธบาทบนเพดาน

ลักษณะทางศิลปกรรมดูเหมือนว่าจิตรกรที่เจดีย์จอกตอจีมีความคิดที่ก้าวหน้าในการเขียนภาพจักรวาลวิทยาตามแบบสมัยใหม่ โดยการจัดดาวต่างๆเป็นหมู่ดาวตามแบบสมัยใหม่ มีการวาดภาพเพื่อให้สามารถจินตนาการได้ง่ายว่าหมู่ดาวต่างๆคือหมู่ดาวอะไร และมีการเขียนชื่อกำกับไว้ด้วย การวาดหมู่ด้าวไว้ที่เจดีย์จอกตอจี อาจเพื่อให้เจดีย์องค์นี้กลายเป็นศูนย์กลางจักรวาลอย่างแท้จริง

พระพุทธบาทบนเพดาน
อมรปุระ
จิตรกรรมพระพุทธบาทบนเพดาน

ดูเหมือนว่าจิตรกรที่เจดีย์จอกตอจีมีความคิดที่ก้าวหน้าในการเขียนภาพจักรวาลวิทยาตามแบบสมัยใหม่ โดยการจัดดาวต่างๆเป็นหมู่ดาวตามแบบสมัยใหม่ มีการวาดภาพเพื่อให้สามารถจินตนาการได้ง่ายว่าหมู่ดาวต่างๆคือหมู่ดาวอะไร และมีการเขียนชื่อกำกับไว้ด้วย การวาดหมู่ด้าวไว้ที่เจดีย์จอกตอจี อาจเพื่อให้เจดีย์องค์นี้กลายเป็นศูนย์กลางจักรวาลอย่างแท้จริง

เทวดาด้านบนเพดาน
อมรปุระ
จิตรกรรมเทวดาด้านบนเพดาน

จิตรกรรมของจอกตอจีมีประเด็นอิทธิพลไทยอย่างชัดเจนในหลายเครื่อง โดยเฉพาะการเขียนภาพเทวดาแบบไทยและหน้ายักษ์ตามแบบไทยซึ่งแสดงการเขียนมงกุฎ กรรเจียกและพรายโอษฐ์ตามแบบหัวโขนไทยอย่างชัดเจน ทั้งนี้ เป็นไปได้ที่จิตรกรรมดังกล่าวอาจวาดขึ้นโดยช่างผู้เป็นลูกหลานของชาวสยามที่ถูกกวาดต้อนไปพม่าจากคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง

หน้ายักษ์ด้านบนเพดาน
อมรปุระ
จิตรกรรมหน้ายักษ์ด้านบนเพดาน

จิตรกรรมของจอกตอจีมีประเด็นอิทธิพลไทยอย่างชัดเจนในหลายเครื่อง โดยเฉพาะการเขียนภาพเทวดาแบบไทยและหน้ายักษ์ตามแบบไทยซึ่งแสดงการเขียนพรายโอษฐ์ตามแบบหัวโขนไทยอย่างชัดเจน ทั้งนี้ เป็นไปได้ที่จิตรกรรมดังกล่าวอาจวาดขึ้นโดยช่างผู้เป็นลูกหลานของชาวสยามที่ถูกกวาดต้อนไปพม่าจากคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง

ภาพบุคคลเหาะ
อมรปุระ
จิตรกรรมภาพบุคคลเหาะ

เนื่องด้วยอิทธิพลตะวันตก จิตรกรรมที่เจดีย์จอกตอจีจึงแสดงภาพเทวดา/ฤๅษีเหาะปะปนกับคิวปิด (cupid) ตามแบบตะวันตก ดอกไม้และลวดลายพันธุ์พฤกษาเองก็ประกอบไปด้วยใบอะแคนธัสตามแบบตะวันตกเช่นกัน รวมถึงทัศนียวิทยาของภูเขาที่เป็นฉากหลังก็แสดงความเกี่ยวข้องกับศิลปะตะวันตกอย่างมาก

จิตรกรรมเรื่องออกมหาภิเนษกรมณ์และมารวิชัย
หลวงพระบาง
จิตรกรรมจิตรกรรมเรื่องออกมหาภิเนษกรมณ์และมารวิชัย

อิทธิพลรัตนโกสินทร์ที่ปรากฏในภาพเขียน เช่น การวาดภาพปราสาทราชวังและตัวละคร รวมถึง การวาดท้องฟ้าสีฟ้าและทัศนียวิทยาตามแบบความเป็นจริงซึ่งแสดงให้เห็นการเข้ามาของอิทธิพลตะวันตก จิตรกรรมนี้จึงอาจเกี่ยวข้องกับศิลปะรัตนโกสินทร์ในสมัย รัชกาลที่ 4-5

พญามารจากปราสาทดงเดือง
ดานัง
ประติมากรรมพญามารจากปราสาทดงเดือง

พระเจ้าอินทรวรมันที่ 2 โปรดให้สถาปนางัดลักษมีนทรโลเกศวรขึ้นเพื่ออุทิศให้กับพุทธศาสนามหายาน ปัจจุบันวัดแห่งนี้ได้แก่ปราสาทดงเดืองซึ่งถือเป็นพุทธสถานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในศิลปะจาม

พระพุทธเจ้าทรงชนะมาร
ไม่ปรากฏ
ประติมากรรมพระพุทธเจ้าทรงชนะมาร

รูปแบบศิลปะของภาพสลักที่บุโรพุทโธมีความคล้ายคลึงศิลปะอินเดียเป็นอย่างมาก ทั้งรูปแบบเครื่องแต่งกายของประติมากรรม ข้าวของเครื่องใช้ ตัวละครที่กลมกลึงและมีการเว้นพื้นที่ว่างเปล่า ทั้งหมดนี้แสดงว่าศิลปะชวาภาคกลางมีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับศิลปะอินเดีย