ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 1 ถึง 4 จาก 4 รายการ, 1 หน้า
พระพุทธรูปในมนูหะ
พุกาม
ประติมากรรมพระพุทธรูปในมนูหะ

แม้ว่าจะมีประวัติเก่าแก่ไปถึงรัชสมัยพราะเจ้าอโนรธา แต่พระพุทธรูปองค์นี้ก็”ด้รับการบูรณะอย่างต่อเนื่อง จนรูปแบบดั้งเดิมไม่หลงเหลืออยู่

มนูหะ
พุกาม
สถาปัตยกรรมมนูหะ

เป็นตัวอย่างอาคารประดิษฐานพระพุทธรูปหรือที่เรียกว่า “ปฏิมาฆระ” ในศิลปะพุกามตอนต้น มีการวางผังแบบพิเศษโดยให้ปฏิมาฆระจำนวน 4 หลังตั้งอยู่ติดกัน อันได้แก่ปฏิมาฆระของพระพุทธรูปนั่งจำนวนสามหลัง และพระพุทธรูปไสยาสน์จำนวนหนึ่งหลัง

เจดีย์นันปยะ
พุกาม
สถาปัตยกรรมเจดีย์นันปยะ

เจตียวิหารในระยะแรกสุดของศิลปะพุกาม เป็นอาคารทรงศิขระที่ยังคงมีการประดับกูฑุคล้ายคลึงกับศิลปะอินเดียเหนือ มีหน้าต่างบิดทึบจำนวนสามบานต่อด้านซึ่งตรงกับแนวความคิดของศิลปะพุกามตอนต้นที่ต้องการให้ภายในมืดทึบ ภายในอาคารปรากฏเสาสี่ต้นรองรับยอดศิขระ โดยรอบปรากฏภาพสลักพระพรหมซึ่งเป็นลักษณะพิเศษที่ปรากฏเฉพาะที่นี่เท่านั้นจากรูปแบบของศิขระและลวดลายประดับที่ยังคล้ายคลึงศิลปะอินเดียอยู่มาก จากกำหนดอายุโบราณสถานแห่งนี้อยู่ในสมัยพุกามตอนต้น

สรัสวดีในรูปของนัต
พุกาม
ประติมากรรมสรัสวดีในรูปของนัต

เทวีสรัสวดี เทพีแห่งความรู้ในศาสนาฮินดู ได้กลายเป็นเทพีผู้ปกป้องความรู้ทางพุทธศาสนาเถรวาทในพม่า แสดงให้เห็นกระบวนการดูดกลืนศาสนาฮินดูเข้าสู่ศาสนาพุทธซึ่งเป้นกระบวนการปกติในแถบเอเชียอาคเนย์