ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประติมากรรมพระวิษณุ
พระวิษณุทรงสวมหมวกทรงกระบอกทรงสูงตามแบบศิลปะก่อนเมืองพระนคร ทรงมี 4 กร พระหัตถ์บนถือจักรและสังข์ พระหัตถ์ล่างทรงถือกระบองและธรณี ทรงนุ่งผ้าแบบสมพต โดยปรากฏชายผ้ารูปหางปลาปลายแตกเป็นเขี้ยวขาบสองชาย ซึ่งชายผ้าเขี้ยวตะขาบด้านล่างเป็นความสับสนของช่าง ซึ่งแท้จริงแล้วคือส่วนที่เป็นชายพกตลบกลับขึ้นไป
ประติมากรรมทับหลัง
ทับหลัง เป็นชิ้นส่วนของสถาปัตยกรรมที่พบในศิลปะเขมร โดยจะติดตั้งอยู่บนกรอบประตูทางเข้าเสมอทับหลังในสมัยพระโคจะมีลักษณะรับอิทธิพลมาจากศิลปะกุเลน ผ่านศิลปะชวา กล่าวคือการทำหน้ากาลอยู่กึ่งกลางด้านบนของท่อนพวงมาลัย ปลายทั้งสองข้างทำเป็นมกรหันหน้าออก ตามแบบซุ้มกาล-มกรตามศิลปะชวาภาคกลางแต่อย่างไรก็ตามในศิลปะพระโคสามารถทำเป็นประติมากรรมอื่นๆหันออกแทน ดังเช่นในภาพเป็นคชสิงห์ยืนอยู่บนแท่นท่อนพวงมาลัยมีการทำลายใบไม้ตั้งขึ้น ห้อยลงตามแบบศิลปะกุเลนลายดอกไม้กลมได้ปรับเปลี่ยนเป็นการแทรกภาพบุคคลอยู่ระหว่างท่อนพวงมาลัยรวมถึงภาพบุคคลที่แทรกอยู่ในส่วนของใบไม้ตกลงใต้ท่อนพวงมาลัยระหว่างช่องใบไม้ตกลงปรากฏการทำใบไม้สามเหลี่ยมแทรกอยู่ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาต่อไปในศิลปะเกาะแกร์ด้านล่างของแผ่นทับหลังปรากฏการทำแถวดอกบัวซึ่งต่อมาจะเป็นรูปแบบที่ส่งให้กับทับหลังในสมัยศิลปะแปรรูป
ประติมากรรมทับหลัง
ทับหลัง เป็นชิ้นส่วนของสถาปัตยกรรมที่พบในศิลปะเขมร โดยจะติดตั้งอยู่บนกรอบประตูทางเข้าเสมอทับหลังในพระโคเริ่มปรากฏหน้ากาลตามอทธิพลชวา อย่างไรก็ตาม ลักษณะเด่นของทับหลังชิ้นนี้ก็คือการประดับบริเวณเสี้ยว (เศษ 1 ส่วน 4) ของท่อนพวงมาลัยด้วยรูป “ใบหน้าสัตว์ขบท่อนพวงมาลัย” ซึ่งต่อไปจะเป็นต้นแบบของเสี้ยวพวงอุบะในศิลปะบันทายสรีและบาปวน
ประติมากรรมทับหลัง สลักภาพเล่าเรื่องตอนกูรมาวตาร
ประติมากรรมชิ้นดังกล่าว น่าจะเป็นชิ้นส่วนของทับหลัง องค์ประกอบของภาพเป็นตอนอวตารของพระวิษณุแปลงเป็นเต่า เพื่อใช้รองรับภูเขาในการกวนเกษียรสมุทร ปรากฏรูปบุคคลสองฝั่งคือ อสูรและเทวดา ยืนเรียงแถวใช้มือจับลำตัวนาค เหนือขึ้นเป็นแถวหงส์ และเทวดานั่งชันเข่าพนมมืออยู่ ตรงกลางปรากฏภูเขาที่มีเต่ารองรับ ที่ตัวเสาปรากฏประติมากรรมพระวิษณุกอดภูเขา ด้านบนปรากฏพระพรหม ลักษณะของเครื่องแต่งกายบุคคลที่ปรากฏในภาพสลัก บุคคลต่างๆ สวมกระบังหน้ายอดทรงกรวย ทรงกรองศอประดับพู่ห้อย พาหุรัด ทรงผ้านุ่งสมพตสั้น มีชายผ้ารูปหางปลาซ้อนกันสองชั้นที่ด้านหน้าผ้านุ่ง ซึ่งจากลักษณะดังกล่าวเป็นรูปแบบที่นิยมในศิลปะนครวัด
ประติมากรรมซุ้มหน้าต่างของเจดีย์กุพโยคจีที่มยิงกาบา
เจดีย์กุพโยคจีถือเป็นตัวอย่าง “หน้าต่างซ้อนยอดปราสาท” ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในศิลปะพุกาม ซุ้มหน้าต่างมีแผ่นหินมาปิดเพื่อควบคุมแสงให้เข้าไปภายในได้น้อยตามสุนทรียภาพแบบพุกามตอนต้น ด้านบนปรากฏหน้าบันซึ่งเจาะรูทำให้แสงเข้าไปภายในได้มากขึ้น ซุ้มเคล็กมีลักษณะเป็นเคล็กสั้นและเอียงเข้าหาจุดศูนย์กลางตามแบบพุกามตอนต้น ด้านบนปรากฏการซ้อนยอดปราสาทที่ประกอบด้วยหลังคาลาดและมียอดอามลกะตามแบบอินเดียเหนือ
ประติมากรรมซุ้มเคล็กของเจดีย์กุพโยคแงที่มยิงกาบา
เจดีย์กุพโยคแงถือเป็นตัวอย่าง “ซุ้มเคล็กแบบพุกามตอนปลาย” ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในศิลปะพุกาม ซุ้มประตูมีเคล็กยาวยืดสูงและตั้งตรง ด้านบนปรากฏเทพเจ้าประทับบนพาหนะ เคล็กข้างประดับรูปบบุคคลหรือรูปสัตว์ ส่วนงวงไอยราด้านข้างประดับด้วยมกรกำลังคายสิงห์ซึ่งเป้นลายที่นิยมในสมัยพุกามตอนปลาย