ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 41 ถึง 48 จาก 54 รายการ, 7 หน้า
อาคารพิพิธภัณฑ์ผ้า
กัวลาลัมเปอร์
สถาปัตยกรรมอาคารพิพิธภัณฑ์ผ้า

องค์ประกอบของอาคารได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะมัวร์ของสเปนผสมผสานกับแบบศิลปะโมกุลของอินเดีย แนวโน้มดังกล่าวนี้ปรากฏกับอาคารอารานคมอังกฤษหลายหลังที่มีความพยายามจะเสาะแสวงหาศิลปะอิสลามที่งดงามแล้วนำมาออกแบบใหม่ภายใต้สกุลสถาปัตยกรรมที่เรียกกันว่า Indo-Sarasenic Style ลักษณะแบมัวร์ เช่น อาร์ควงโค้งเกือกม้าและการสลับหินสีแบบสเปน ส่วนรูปแบบโดมและหอคอยนั้นกลับใช้อาคารแบบฉัตรีของอินเดียมาประดับเป็นหลัก

ทวารบาลแบบจีน สิมวัดล่องคูณ
หลวงพระบาง
จิตรกรรมทวารบาลแบบจีน สิมวัดล่องคูณ

เนื่องจากศิลปะหลวงพระบางช่วงพุทธศตวรรษที่ 24 เป็นระยะที่ได้รับอิทธิพลรัตนโกสินทร์อย่างมาก ทำให้รูปทวารบาลแบบจีนตามพระราชนิยมในรัชกาลที่สามได้เข้ามาปรากฏในแถบนี้บางวัด เช่น วัดล่องคูณเมืองหลวงพระบาง เป็นต้น อนึ่ง ต้องไม่ลืมว่า การที่เจ้านายบางพระองค์ในราชวงศ์หลวงพระบางได้เคยเสด็จมาประทับ ณ กรุงเทพจึงอาจทำให้อิทธิพลรัตนโกสินทร์ปรากฏบทบาทอย่างมากในแถบนี้ก็ได้

จิตรกรรมเรื่องพระเตมีย์
หลวงพระบาง
จิตรกรรมจิตรกรรมเรื่องพระเตมีย์

อิทธิพลรัตนโกสินทร์ที่ปรากฏในภาพเขียน เช่นการวาดภาพปราสาทราชวังและตัวละคร รวมถึง การวาดท้องฟ้าสีฟ้าและทัศนียวิทยาตามแบบความเป็นจริงซึ่งแสดงให้เห็นการเข้ามาของอิทธิพลตะวันตก จิตรกรมนี้จึงอาจเกี่ยวข้องกับศิลปะรัตนโกสินทร์ในสมัย รัชกาลที่ 4-5

จิตรกรรมเรื่องอิเหนา (?)
หลวงพระบาง
จิตรกรรมจิตรกรรมเรื่องอิเหนา (?)

ศิลปกรรม อิทธิพลรัตนโกสินทร์ที่ปรากฏในภาพเขียน เช่น การวาดภาพปราสาทราชวังและตัวละคร จิตรกรมนี้จึงอาจเกี่ยวข้องกับศิลปะรัตนโกสินทร์ในสมัยรัชกาลที่ 4-5

จิตรกรรมเรื่องออกมหาภิเนษกรมณ์และมารวิชัย
หลวงพระบาง
จิตรกรรมจิตรกรรมเรื่องออกมหาภิเนษกรมณ์และมารวิชัย

อิทธิพลรัตนโกสินทร์ที่ปรากฏในภาพเขียน เช่น การวาดภาพปราสาทราชวังและตัวละคร รวมถึง การวาดท้องฟ้าสีฟ้าและทัศนียวิทยาตามแบบความเป็นจริงซึ่งแสดงให้เห็นการเข้ามาของอิทธิพลตะวันตก จิตรกรรมนี้จึงอาจเกี่ยวข้องกับศิลปะรัตนโกสินทร์ในสมัย รัชกาลที่ 4-5

ท้าวกุเวรสำริด
จาการ์ตา
ประติมากรรมท้าวกุเวรสำริด

ประติมากรรมสำริดขนาดเล็กในศิลปะชวาภาคกลาง คงเคยเป็นประติมากรรมส่วนตัวของพระภิกษุมาก่อน ทางด้านรูปแบบแล้วมีความคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก ทั้งเครื่องแต่งกาย ประติมานวิทยาและรูปแบบบัลลังก์-แผ่นหลังประติมากรรมสำริดชิ้นนี้มีรูปแบบบัลลังก์ที่คล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก โดยเฉพาะการประดับอามลกะและหงส์ที่คานนอก และวยาลเหยียบช้าง ประภามณฑลมีเปลวไฟและมีฉัตรประดับ ท่แท่นบัลลังก์มีผ้าทิพย์รูปวงโค้ง

ภฤกุฎี
จาการ์ตา
ประติมากรรมภฤกุฎี

ในระยะต้นของศิลปะชวาภาคตะวันออก ประติมากรรมยังคล้ายคลึงกับประติมากรรมในศิลปะชาภาคกลาง อย่างไรก็ตาม ที่แผ่นหลังเริ่มประดับด้วย “ใบบัว” ซึ่งถือเป็นลักษณะเฉพาะของสมัยนี้ นอกจากนี้ ประติมากรรมยังถูกตกแต่งด้วยสร้อยเพชรพลอยและอุบะไข่มุกมากขึ้น

ทับหลัง
เสียมเรียบ
ประติมากรรมทับหลัง

ทับหลังในสมัยกุเลนจะมีลักษณะรับอิทธิพลมาจากศิลปะชวา กล่าวคือการทำหน้ากาลอยู่กึ่งกลางด้านบนของท่อนพวงมาลัย ปลายทั้งสองข้างทำเป็นมกรหันหน้าออก ตามแบบซุ้มกาล-มกรตามศิลปะชวาภาคกลาง ท่อนพวงมาลัยมีการทำลายใบไม้ตั้งขึ้น ห้อยลงตามแบบศิลปะกำพงพระ เหรียญทรงกลมจากศิลปะกำพงพระปรับเปรียบเป็นลายดอกไม้กลม ใต้ท่อนพวงมาลัยระหว่างช่องใบไม้ตกลงปรากฏการทำพวงอุบะแทรกอยู่