ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สถาปัตยกรรมฐานชั้นล่างที่บุโรพุทโธ
บุโรพุทโธสร้างขึ้นตามระบบ “มณฑล” หรือการจำลองจักรวาลในพุทธศาสนามหายาน ด้วยเหตุนี้ จึงกำหนดให้ฐานด้านล่างสุดตรงกับกามภูมิอันเป็นภูมิของคนที่มัวเมาในกิเลส โดยมีการสลักภาพตามคัมภีร์กรรมวิภังค์ อันแสดงถึงคนที่มัวเมาในกิเลส ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว อย่างไรก็ตาม ฐานนี้กลับถูกปกปิดไปด้วยฐานหินซึ่งมาก่อทับเพิ่มเติมทีหลัง อันแสดงการเปลี่ยนใจที่จะทำให้บุโรพุทโธมีฐานที่แบข็งแรงขึ้น
สถาปัตยกรรมทางประทักษิณและภาพสลักเล่าเรื่องที่บุโรพุทโธ
สถูปประกอบไปด้วยฐานสี่เหลี่ยมเพิ่มมุมจำนวนห้าชั้น แต่ละชั้นประกอบด้วยทางประทักษิณที่มีภาพเล่าเรื่องทางพุทธศาสนามหายานประดับ ภาพเล่าเรื่องเหล่านี้ มีภาพเล่าเรื่องตามคัมภีร์ลลิตวิสตระ คัมภีร์ชาดกและอวทาน (ระเบียงชั้นล่าง) และคัมภีร์คัณฑวยุหสูตร (ระเบียงชั้นที่ 2-4) ซึ่งทั้งหมดนี้นอกจากสลักขึ้นเพื่อให้ผู้ศรัทธาได้เรียนรู้เรื่องราวทางพุทธศาสนาขณะเดินประทักษิณแล้ว ยังเป็นการบ่งบอกภพภูมิต่างๆในพุทธศาสนามหายานซึ่งถูกจำลองที่บุโรพุทโธอีกด้วย
สถาปัตยกรรมฐานกลมและสถูปที่บุโรพุทโธ
ฐานกลมด้านบนสุด เป็นฐานเขียงซึ่งไม่มีภาพสลักใดๆ อันบ่งบอกถึงความเป็น “อรูปภูมิ” ประกบด้วยสถูปโปร่งจำนวนมากซึ่งภายในประดิษฐานพระธยานิพุทธไวโรจนะแสดงปางปฐมเทศนา ประเด็นนี้ย่อมแสดงให้เห็นหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างความมีรูปกับความไม่มีรูป ด้านบนสุดปรากฏสถูปทึบเพียงองค์เดียว นั่นคอตัวแทนของพระอิพุทธ พระเทธเจ้าองค์แรกของจักรวาล ผู้เป็นอมตะ ไม่มีกาลเวลา เป็นผู้กำเนินพระพุทธเจ้าทั้งมวลในจักรวาลและเป็นผู้สร้างโลก ทรงไม่มีรูป
สถาปัตยกรรมจันทิกะลาสัน
จันทิกะลาสัน เป็นตัวอย่างจันทิในแผนผังห้าห้องแห่งแรกๆในศิลปะชวาภาคกลางตอนปลาย ซึ่งจะปรากฏอีกกับจันทิเซวูและจันทิปรัมบะนัน ผังห้าห้องนี้ทำให้เกิดอาคารในผังกากบาทขึ้นซึ่งคงเกี่ยวข้องกับศิลปะปาละมาก่อน เรือนธาตุหลักยังคงแบ่งออกเป็นสามเก็จ โดยเก็จประธานได้กลายเป็น “อาคารประกบ” ตามระบบ “ปราสาทซ้อนปราสาท” ส่วนเก็จมุมมีเสาติดผนังขนาบซุ้มทรงปราสาทที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่งในศิชปะชวาภาคกลาง ด้านบนยอดเป็นการซ้อนชั้นตามแบบวิมานอินเดียใต้ อย่างไรก็ตามเรือนธาตุจำลองกลับอยู่ในผังแปดเหลี่ยมซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนในระยะก่อนหน้า โดยรอบมี “อาคารจำองยอดสถูปิกะ” ประดับ ซึ่งถือเป็นลักษณะที่โดดเด่นในศิลปะชวาภาคกลางตอนปลาย
สถาปัตยกรรมซุ้มจระนำที่จันทิกะลาสัน
จันทิกะลาสัน เป็นตัวอย่างจันทิในแผนผังห้าห้องแห่งแรกๆในศิลปะชวาภาคกลางตอนปลาย ซึ่งจะปรากฏอีกกับจันทิเซวูและจันทิปรัมบะนัน ผัวห้าห้องนี้ทำให้เกิดอาคารในผังกากบาทขึ้นซึ่งคงเกี่ยวข้องกับศิลปะปาละมาก่อน เรือนธาตุหลักยังคงแบ่งออกเป็นสามเก็จ โดยเก็จประธานได้กลายเป็น “อาคารประกบ” ตามระบบ “ปราสาทซ้อนปราสาท” ส่วนเก็จมุมมีเสาติดผนังขนาบซุ้มทรงปราสาทที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่งในศิชปะชวาภาคกลาง ด้านบนยอดเป็นการซ้อนชั้นตามแบบวิมานอินเดียใต้ อย่างไรก็ตามเรือนธาตุจำลองกลับอยู่ในผังแปดเหลี่ยมซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนในระยะก่อนหน้า โดยรอบมี “อาคารจำองยอดสถูปิกะ” ประดับ ซึ่งถือเป็นลักษณะที่โดดเด่นในศิลปะชวาภาคกลางตอนปลาย
สถาปัตยกรรมจันทิส่าหรี
จันทิส่าหรี เป็นจันทิในแผนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งไม่ปรากฏมาก่อนในศิลปะชวาระยะก่อนหน้า ภายในปรากฏห้องจำนวน 3 ห้องและซ้อนกัน 2 ชั้นโดยเคยมีพื้นชั้นสองเป็นแผ่นไม้มาก่อน อาคารแบบนี้คงจำลองมาจากอาคารแบบพื้นเมืองชวาเอง และอาจเคยใช้ในการประดิษฐานพระพุทธเจ้าในห้องกลางและพระโพธิสัตว์ในห้องข้าง อนึ่ง นอกจากที่นี่แล้ว จันทิในแผนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้ายังปรากฏอีกที่จันทิเพลาสัน
สถาปัตยกรรมภายในจันทิส่าหรี
จันทิส่าหรี เป็นจันทิในแผนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งไม่ปรากฏมาก่อนในศิลปะชวาระยะก่อนหน้า ภายในปรากฏห้องจำนวน 3 ห้องและซ้อนกัน 2 ชั้นโดยเคยมีพื้นชั้นสองเป็นแผ่นไม้มาก่อน อาคารแบบนี้คงจำลองมาจากอาคารแบบพื้นเมืองชวาเอง และอาจเคยใช้ในการประดิษฐานพระพุทธเจ้าในห้องกลางและพระโพธิสัตว์ในห้องข้าง จากภาพ จะเห็นว่าภายในอาคารปรากฏคิ้วหินสำหรับการรองรับพื้นชั้นสองซึ่งสูญหายไปแล้ว ลักษณะเช่นนี้ย่อมแสดงว่าจันทิดังกล่าวเคยมีสองชั้น
สถาปัตยกรรมจันทิเพลาสัน
จันทิเพลาสัน เป็นจันทิในแผนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าเช่นเดียวกับจันทิส่าหรี ภายในปรากฏห้องจำนวน 3 ห้องและซ้อนกัน 2 ชั้นโดยเคยมีพื้นชั้นสองเป็นแผ่นไม้มาก่อนเช่นเดียวกับจันทิส่าหรี อาคารแบบนี้คงจำลองมาจากอาคารแบบพื้นเมืองชวาเอง และอาจเคยใช้ในการประดิษฐานพระพุทธเจ้าในห้องกลางและพระโพธิสัตว์ในห้องข้างอนึ่ง ประเด็นที่แตกต่างไปจากจันทิส่าหรีก็คือ ที่นี่มีการสร้างจันทิประธานในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าถึงสองหลัง นอกจากนี้ยังปรากฏจันทิบริวารขนาดเล็กล้อมรอบ ซึ่งทำให้แผนผังของจันทิกลายเป็นมณฑลคล้ายจันทิเซวู