ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 177 ถึง 182 จาก 182 รายการ, 23 หน้า
พระพุทธรูปที่ถ้ำปินดายา
ปินดายา
ประติมากรรมพระพุทธรูปที่ถ้ำปินดายา

พระพุทธรูปภายในถ้ำปินดายา ถือเป็นตัวอย่างของพระพุทธรูปในสกลุช่างไทยใหญ่ที่ดีที่สุด พระพุทธรูปในสกุลช่างนี้ มักมีพระเศียรใหญ่แต่พระวรกายเล็ก พระอังสาแคบ ด้านบนพระเศียรมีรัศมีรูปน้ำเต้าตามอิทธิพลจีน จีวรมีลักษณะประดิษฐ์มาก โดยประดิษฐ์มาจากชายจีวรสองชั้นของพระพุทธรูปในศิลปะอังวะ-อมรปุระ ที่พระอังสาขวามีการชักชายจีวรมาครอบตามแบบอิทธิพลจีน

พระพุทธรูปที่ถ้ำปินดายา
ปินดายา
ประติมากรรมพระพุทธรูปที่ถ้ำปินดายา

พระพุทธรูปภายในถ้ำปินดายา ถือเป็นตัวอย่างของพระพุทธรูปในสกลุช่างไทยใหญ่ที่ดีที่สุด พระพุทธรูปในสกุลช่างนี้ มักมีพระเศียรใหญ่แต่พระวรกายเล็ก พระอังสาแคบ พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระทรงเครื่อง มีกระบังหน้าประดับตาบสามเหลี่ยมที่มีพื้นฐานมาจากศิลปะปาละ แต่กรรเจียกกลับแผ่ออก มีขนาดใหญ่มากอันเป็นพัฒนาการมาจากศิลปะทิเบต พระพุทธรูปทรงสังวาลรูปตัว U และมีตาบอกรูปประจำยามซึ่งแสดงการผสมผสานกันระหว่างศิลปะทิเบตกับศิลปะอยุธยา

พระพุทธรูปที่ถ้ำปินดายา
ปินดายา
ประติมากรรมพระพุทธรูปที่ถ้ำปินดายา

พระพุทธรูปภายในถ้ำปินดายา ถือเป็นตัวอย่างของพระพุทธรูปในสกลุช่างไทยใหญ่ที่ดีที่สุด พระพุทธรูปในสกุลช่างนี้ มักมีพระเศียรใหญ่แต่พระวรกายเล็ก พระอังสาแคบ พระพุทธรูปองค์นี้มีลักษณะพิเศษ คือทรงถือ “ตาลปัตร” หรือพัดที่ทำจากใบตาลอยู่ที่พระอุระ ตาลปัตรนี้กำเนิดในลังกา โดยมักถือโดยพระภิกษุที่ขึ้นเทศนาธรรม ต่อมาได้สงอิทธิพลให้กับเอเชียอาคเนย์ด้วย โดยมักปรากฏกับพระพุทธรูป พระภิกษุหรือพระโพธิสัตว์ที่กำลังประทับนั่งเทศนาธรรม อนึ่ง พระพุทธรูปองค์นี้ถือเป็นลักษณะพิเศษที่ประทับยืนขณะที่ถือตาลปัตร

พระพุทธบาทชเวเสตตอจำลอง
ย่างกุ้ง
ประติมากรรมพระพุทธบาทชเวเสตตอจำลอง

พระพุทธบาทในศิลปะสมัยหลังพุกาม มักประดับด้วยลายมงคลทั้ง 108 ลาย โดยมีทั้งแบบที่บรรจุในตารางกระจายทั้งพระบาท และแบที่วนเป็นวงกลมอยู่ที่กึ่งกลางพระบาทเท่านั้น ส่วนที่ขอบล้อมรอบไปด้วยพญานาคและมักมีขอบพระบาทหนาเพื่อหล่อน้ำไวตลอดเวลา ตามคติเรื่องพระบาทที่ชเวเสตตอซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำ

ชุกชีรูปปยาทาดจำลอง
นองชเว
ประติมากรรมชุกชีรูปปยาทาดจำลอง

พระพุทธรูปขนาดเล็กในศิลปะมัณฑเล มักประดิษฐานอยู่ภายในชุกชีรูปปยาทาดจำลอง ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากที่ทะเลสาบอินเลในรัฐฉาน โดยปยาทาดในภาพทำเป็นปยาทาดสี่ยอดที่มีความซับซ้อนอย่างยิ่ง

พระโพธิสัตว์ จิตรกรรมในเจดีย์อโลปเย
พุกาม
จิตรกรรมพระโพธิสัตว์ จิตรกรรมในเจดีย์อโลปเย

พระโพธิสัตว์เหล่านี้แต่งตัวคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก เช่น การทรงมงกุฎที่มีกระบังหน้าสามตาบ การทรงยัชโญปวีตตวัดเป็นรูปตัว S และการนุ่งผ้านุ่งเป็นริ้ว รวมถึงการปรากฏดอกไม้สองดอกขนาบทั้งสองข้างอย่างสมมาตรย่อมแสดงให้เห็นอิทธิพลปาละตอนปลายอย่างมาก จิตรกรรมเองก็ใช้สีโทนร้อนตามอย่างปาละ ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่าจิตรกรรมดังกล่าวคงมีอายุอยู่ในสมัยพุกามตอนต้น