ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 137 ถึง 144 จาก 182 รายการ, 23 หน้า
จิตรกรรมวัดป่าฮวก
หลวงพระบาง
จิตรกรรมจิตรกรรมวัดป่าฮวก

จิตรกรรมที่นี่มีความพิเศษอย่างมากเนื่องจากมีการวาดภาพ “คนจีน” แทรกลงไปในจิตรกรรมไทยประเพณี ซึ่งลักษณะเช่นนี้แตกต่างไปจากจิตรกรรมที่กรุงเทพ คนจีนเหล่านี้มีทั้งบุรุษและสตรี โดยการแต่งตัวแสดงให้เห็นเอกลักษณ์ชนชาติอย่างชัดเจน อนึ่ง ต้องไม่ลืมว่าในสมัยรัชกาลที่ 3 มีการติดต่ออย่างมากระหว่างจีนกับรัตนโกสินทร์ ซึงอิทธิพลดังกล่าวอาจเลยมาถึงหลวงพระบางเช่นกัน

จิตรกรรมวัดป่าฮวก
หลวงพระบาง
จิตรกรรมจิตรกรรมวัดป่าฮวก

แม้ว่ารูปแบบของจิตรกรรมที่นี่แสดงความพยายามในการเลียนแบบศิลปะรัตนโกสินทร์อย่างมาก เช่น การวาดภาพปราสาทและเครื่องแต่งกายบุคคลเป็นต้น แต่การใช้สีของจิตรกรรมที่นี่กลับแปลกออกไปกว่าศิลปะรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะการเน้นสีส้ม

จิตรกรรมบนหน้าบัน สิมวัดหาดเสี้ยว
หลวงพระบาง
จิตรกรรมจิตรกรรมบนหน้าบัน สิมวัดหาดเสี้ยว

อิทธิพลรัตนโกสินทร์ที่ปรากฏในภาพเขียน เช่น การวาดท้องฟ้าสีฟ้าและทัศนียวิทยาตามแบบความเป็นจริงซึ่งแสดงให้เห็นการเข้ามาของอิทธิพลตะวันตก จิตรกรมนี้จึงอาจเกี่ยวข้องกับศิลปะรัตนโกสินทร์ในสมัย รัชกาลที่ 4-5

จิตรกรรมเรื่องออกมหาภิเนษกรมณ์และมารวิชัย
หลวงพระบาง
จิตรกรรมจิตรกรรมเรื่องออกมหาภิเนษกรมณ์และมารวิชัย

อิทธิพลรัตนโกสินทร์ที่ปรากฏในภาพเขียน เช่น การวาดภาพปราสาทราชวังและตัวละคร รวมถึง การวาดท้องฟ้าสีฟ้าและทัศนียวิทยาตามแบบความเป็นจริงซึ่งแสดงให้เห็นการเข้ามาของอิทธิพลตะวันตก จิตรกรรมนี้จึงอาจเกี่ยวข้องกับศิลปะรัตนโกสินทร์ในสมัย รัชกาลที่ 4-5

พระพุทธรูปจากปราสาทดงเดือง
ดานัง
ประติมากรรมพระพุทธรูปจากปราสาทดงเดือง

พระพุทธรูปองค์นี้แสดงให้เห็นศิลปะพื้นเมืองดงเดืองปะปนกับอิทธิพลจากศิลปะจีนและอินเดีย ประการแรกคือท่านั่งห้อยพระบาทที่ใช้พระหัตถ์ทั้งสองวางอู่บนพระชานุนั้นแสดงถึงอิทธิพลจีน แต่จีวรที่ห่มเฉียงและมีชายจีวรสั้นๆอยู่ที่พระอังสาซ้ายนั้นกลับเป็นลักษณะประจำในศิลปะปาละของอินเดีย อย่างไรก็ตาม พระพักตร์ของพระพุทธรูปองค์นี้กลับแสดงความเป็นพื้นเมืองอย่างมากมาย เช่น พระโอษฐ์ที่หนา พระขนงต่อเป็นปีกกาและพระเนตรโปน เป็นต้น

พระเศียรของพระพุทธรูปจากปราสาทดงเดือง
ดานัง
ประติมากรรมพระเศียรของพระพุทธรูปจากปราสาทดงเดือง

พระเศียรของพระพุทธรูปองค์นี้แสดงให้เห็นศิลปะพื้นเมืองดงเดืองอย่างชัดเจน โดยเฉพาะพระพักตร์ของประติมากรรมองค์นี้ที่มีพระโอษฐ์หนา พระนาสิกใหญ่พระเนตรโปน พระขนงต่อกันเป็นปีกกาและพระเกศาขมวดเป็นปอยตามแบบพื้นเมือง น่าสังเกตว่าด้านบนสุดปรากฏอุษณีษะซึ่งได้กลายเป็นรูปดอกบัวอันแสดงให้เห็นความเป็นพื้นเมืองอย่างมาก

ภาพเล่าเรื่องพุทธประวัติ: ฐานชุกชีจากปราสาทดงเดือง
ดานัง
ประติมากรรมภาพเล่าเรื่องพุทธประวัติ: ฐานชุกชีจากปราสาทดงเดือง

ฐานขนาดใหญ่นี้เป็นหนึ่งในฐานชุกชีจำนวน 2 ฐานสำหรับพระพุทธรูปประธานของปราสาทดงเดือง โดยฐานหนึ่งนำมาจากพระวิหารด้านหน้าและอีกฐานหนึ่งนำมาจากปราสาทประธาน ปัจจุบันได้รับการเก็บรักษาในพิพิธภัณฑ์ดานัง ฐานชุกชีแห่งนี้ประดับด้วยภาพเล่าเรื่องพุทธประวัติขนาดเล็กอยู่ในช่องสี่เหลี่ยม นอกจากนี้ยังประดับไปด้วยลายกนกขนมจีนและซุ้มแบบดงเดือง

ภาพเล่าเรื่องพุทธประวัติ: ฐานชุกชีจากปราสาทดงเดือง
ดานัง
ประติมากรรมภาพเล่าเรื่องพุทธประวัติ: ฐานชุกชีจากปราสาทดงเดือง

ฐานขนาดใหญ่นี้เป็นหนึ่งในฐานชุกชีจำนวน 2 ฐานสำหรับพระพุทธรูปประธานของปราสาทดงเดือง โดยฐานหนึ่งนำมาจากพระวิหารด้านหน้าและอีกฐานหนึ่งนำมาจากปราสาทประธาน ปัจจุบันได้รับการเก็บรักษาในพิพิธภัณฑ์ดานัง ฐานชุกชีแห่งนี้ประดับด้วยภาพเล่าเรื่องพุทธประวัติขนาดเล็กอยู่ในช่องสี่เหลี่ยม นอกจากนี้ยังประดับไปด้วยลายกนกขนมจีนและซุ้มแบบดงเดือง