ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 1 ถึง 6 จาก 6 รายการ, 1 หน้า
พระพักตร์บนยอดของปราสาทบายน
อังกอร์
สถาปัตยกรรมพระพักตร์บนยอดของปราสาทบายน

ปราสาทบายน สร้างขึ้นเป็นปราสาทบนฐานเป็นชั้นหลังสุดท้ายเพื่ออุทิศให้กับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เองในฐานะอวตารของพระพุทธเจ้าฝ่ายมหายาน พระองค์ทรงสร้างปราสาทที่ประกอบด้วยพระพักตร์จำนวนมากซึ่งยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าควรจะเป็นพระพักตร์ของทิพยบุคคลองค์ใด บางท่านเห็นว่าอาจเป็นพระพักตร์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เอง อย่างไรก็ตม บางท่านเห็นว่าพระพักตร์ดังกล่าวอาจหมายถึงพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรอันเป็นพระโพธิสัตว์แหงความกรุณาในพุทธศาสนามหายาน บาท่านเห็นว่าอาจเป็นสนัตกุมารพรหมอันเป็นพระพรหมในพุทธศาสนามหายานก็ได้ น่าสังเกตว่าพระพักตร์เหล่านี้ล้วนแต่มีการแสดงอารมณ์แบบเดียวกัน คือ ค่อนข้างลึกลับ ตาปิด ยิ้มมุมปากซึ่งเรียกกันโดยเฉพาะว่า “ยิ้มแบบบายน”

ประตูเมืองนครธมทางด้านทิศใต้
อังกอร์
สถาปัตยกรรมประตูเมืองนครธมทางด้านทิศใต้

ประตูเมืองพระนครหลวง ประกอบไปด้วยสองส่วน คือประตูเมืองซึ่งออกแบบเป็นพระพักตร์ของบุคคลจำนวน 4 พักตร์ และราวสะพานด้านหน้าข้ามคูเมืองซึ่งมีราวสะพานเป็นรูปการกวนเกษียรสมุทร ซุ้มประตูซึ่งมีพระพักตร์ทั้งสี่นี้บางท่านสันนิษฐานว่าอาจหมายถึง “จตุโลกบาลทั้งสี่” ผู้ดูแลทั้งสี่ทิศของจักรวาลก็ได้ ราวบันไดรูปการกวนเกษียรสมุทรนั้น ย่อมแสดงให้เห็นคติที่ว่าบุคคลผ้อยู่ในเมืองดังกล่าวได้รับการปะพรมน้ำอมฤตเสมอและเป็นผู้เป็นอมตะประหนึ่งเทดวา

ประตูเมืองนครธมทางด้านทิศใต้
อังกอร์
สถาปัตยกรรมประตูเมืองนครธมทางด้านทิศใต้

ประตูเมืองพระนครหลวง ประกอบไปด้วยสองส่วน คือประตูเมืองซึ่งออกแบบเป็นพระพักตร์ของบุคคลจำนวน 4 พักตร์ และราวสะพานด้านหน้าข้ามคูเมืองซึ่งมีราวสะพานเป็นรูปการกวนเกษียรสมุทร ซุ้มประตูซึ่งมีพระพักตร์ทั้งสี่นี้บางท่านสันนิษฐานว่าอาจหมายถึง “จตุโลกบาลทั้งสี่” ผู้ดูแลทั้งสี่ทิศของจักรวาลก็ได้ ราวบันไดรูปการกวนเกษียรสมุทรนั้น ย่อมแสดงให้เห็นคติที่ว่าบุคคลผ้อยู่ในเมืองดังกล่าวได้รับการปะพรมน้ำอมฤตเสมอและเป็นผู้เป็นอมตะประหนึ่งเทวดา

ทับหลัง
เสียมเรียบ
ประติมากรรมทับหลัง

ทับหลังในศิลปะบาปวน มีการทำท่อนพวงมาลัยที่สืบต่อมาจากสมัยก่อนหน้า ส่วนกลางท่อนพวงมาลัยกดลงไปอยู่ด้านล่าง ปรากฏหน้ากาลที่มีมือจับท่อนพวงมาลัยที่ ปลายทั้งสองข้างของท่อนพวงมาลัยม้วนออก เหนือท่อนพวงมาลัยเป็นลายใบไม้ตั้งขึ้น ด้านล่างท่อนพวงมาลัยเป็นใบไม้ตกลง ระหว่างช่องใบไม้ตกลงเป็นรูปใบไม้สามเหลี่ยม แต่อย่างไรก็ตามปรากฏการทำเสี้ยวของท่อนพวงมาลัย ที่แต่เดิมเป็นรูปสัตว์ขบมาเป็นพวงอุบะ ซึ่งแต่เดิมนักวิชาการชาฝรั่งเศสเชื่อว่าเป็นศิลปะคลัง แต่ต่อมาพบว่าทับหลังในลักษณะดังกล่าวนี้ สร้างขึ้นเดียวกันกับทับหลังแบบศิลปะบาปวน จึงจัดรูปแบบทับหลังที่มีรูปแบบดังกล่าวนี้อยู่ในศิลปะแบบบาปวนด้วย

ครุฑแบกที่ฐานอาคารพระราชวังหลวง
เสียมเรียบ
ประติมากรรมครุฑแบกที่ฐานอาคารพระราชวังหลวง

ประติมากรรมครุฑแบกที่ฐาน ปรากฏเป็นครุฑที่มีเศียรเป็นนก อยู่ในท่ายืนเหยียบอยู่บนเศียรนาค แล้วยกแขนยึดนาคไว้ ลักษณะของการทำประติมากรรมครุฑดังกล่าว เป็นรูปแบบของการทำประติมากรรมครุฑในศิลปะบายน

ภาพสลักเมืองบาดาลที่ฐานพระราชวังหลวง
เสียมเรียบ
ประติมากรรมภาพสลักเมืองบาดาลที่ฐานพระราชวังหลวง

ด้านล่างของฐานปรากฏการทำประติมากรรมสลักหินทราย เทวดา นางอัปสร อสูร นาค และพระยม โดยแบ่งเป็นชั้น ตรงกลางด้านล่างของแนวฐานจะปรากฏนาคหลายเศียรอยู่เสมอ รูปแบบประติมากรรมสตรี จะสวมกระบัง ด้านบนมีศิราภรณ์ประดับด้วยช่อดอกไม้ 3 แถว กุณฑลเป็นพู่ห้อยขนาดใหญ่ พระพักตร์แบบบายน กล่าวคือหลับพระเนตรและยิ้มที่มุมพระโอษฐ์เล็กน้อย