ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 1 ถึง 4 จาก 4 รายการ, 1 หน้า
ทับหลังจากปราสาทเขาน้อยหลังเหนือ
ปราจีนบุรี
ประติมากรรมทับหลังจากปราสาทเขาน้อยหลังเหนือ

ทับหลังทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตรงกลางสลักลายเส้นตรงที่มีส่วนปลายเป็นวงโค้งพาดผ่านกลางทับหลัง ลานเส้นตรงที่มีปลายเป็นวงโค้งนี้ตกแต่งด้วยลายวงรูปไข่ที่มีลวดลายตกแต่งอยู่ภายในและภายนอกจำนวน 5 วงเป็นองค์ประกอบหลัก ใต้ลายเส้นตรงสลักลายพวงมาลัยและอุบะ ถัดจากปลายวงโค้งทั้งสองข้างเป็นรูปสิงห์ในท่ายืน ปลายวงโค้งและสิงห์รองรับด้วยแท่นฐานสี่เหลี่ยม ตรงกลางระหว่างแท่นสี่เหลี่ยมในตำแหน่งขอบล่างของทับหลังสลักตกแต่งด้วยลายกนก

ปราสาทสมโบร์ไพรกุก หมู่กลาง หลังที่ 1
กัมปง ธม
สถาปัตยกรรมปราสาทสมโบร์ไพรกุก หมู่กลาง หลังที่ 1

ปราสาทสมัยก่อนเมืองพระนคร มักสร้างด้วยอิฐและแตกต่างด้วยการสลักอิฐเสมอ โดยไม่มีการเพิ่มมุม แต่มักประดับด้วยเสาติดผนังที่มุมและที่ด้าน อนึ่ง ปราสาทหลังนี้มีลักษณะโดยรวมคล้ายคลึงกับปราสาทสมโบร์ไพรกุกหลังอื่นๆ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากรูปแบบทั้งหลังได้เปลี่ยนไปกลายเป็นแบบไพรกเมงต่อกำพงพระแล้ว ด้วยเหตุนี้ปราสาทหลังนี้จึงควรมีอายุหลังกว่าปราสาทสมโบร์ไพรกุกในหมู่ใต้และหมู่เหนือ ด้านหน้าปราสาทมีการสลักบันไดขนาดใหญ่จากหินก้อนเดียว และมีการสลักรูปสิงห์ทวารบาล ซึ่งทำให้ปราสาทหลังนี้รู้จักกันในอีกรนามหนึ่งว่า “ปราสาทสิงห์”

ทับหลัง
กัมปง ธม
ประติมากรรมทับหลัง

ทับหลังในภาพ เป็นรูปแบบของทับหลังในศิลปะไพรกเมงที่จะคลี่คลายไปสู่แบบศิลปะกำพงพระ โดยมีการทำเส้นวงโค้งเป็นเส้นตรงเพียงเส้นเดียว กลางทับหลัง และปรากฏเหรียญอยู่กลางเส้นวงโค้ง ตามรูปแบบของศิลปะไพรกเมง แต่อย่างไรก็ตามตัวเหรียญได้ปรับเปลี่ยนเป็นลักษณะของลายใบไม้ซึ่งเหมือนกับปลายของทับหลังทั้งสองด้านปรากฏเป็นลายใบไม้ขนาดใหญ่ซึ่งต่อมาลายใบไม้ดังกล่าวจะเป็นที่นิยมในศิลปะกำพงพระ

ทับหลัง
ประติมากรรมทับหลัง

ทับหลัง เป็นชิ้นส่วนของสถาปัตยกรรมที่พบในศิลปะเขมร โดยจะติดตั้งอยู่บนกรอบประตูทางเข้าเสมอทับหลังในพระโคเริ่มปรากฏหน้ากาลตามอทธิพลชวา อย่างไรก็ตาม ลักษณะเด่นของทับหลังชิ้นนี้ก็คือการประดับบริเวณเสี้ยว (เศษ 1 ส่วน 4) ของท่อนพวงมาลัยด้วยรูป “ใบหน้าสัตว์ขบท่อนพวงมาลัย” ซึ่งต่อไปจะเป็นต้นแบบของเสี้ยวพวงอุบะในศิลปะบันทายสรีและบาปวน