ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 9 ถึง 16 จาก 37 รายการ, 5 หน้า
โบสถ์ไคอาโป
มะนิลา
สถาปัตยกรรมโบสถ์ไคอาโป

โบสถ์แห่งนี้มีแผงด้านหน้า ตามแบบคลาสิก คือมีหน้าบันสามเหลี่ยม รองรับด้วยเสาโครินเธียน ด้านข้างขนาบด้วยหอคอยแปดเหลี่ยมซึ่งมีองค์ประกอบส่วนมากเป็นแบบคลาสิก อย่างไรก็ดี องค์ประกอบเล็กน้อยยังคงแสดงความเป็นบารอคบ้างเช่น การประดับถ้วยรางวัล กรอบหน้าต่างที่หยักโค้ง การใช้ volute ในการค้ำยันหอคอย เป็นต้น

โบสถ์บินอนโด
มะนิลา
สถาปัตยกรรมโบสถ์บินอนโด

โบสถ์แห่งนี้มีแผงด้านหน้า ตามแบบคลาสิก คือมีหน้าบันสามเหลี่ยม รองรับด้วยเสาไอโอนิกและโครินเธียน น่าสังเกตว่าโบสถ์ส่วนมากในเมืองมะนิลามักมีแผงด้านหน้าแบบคลาสิกเกือบทุกแห่ง หอระฆังของโบสถ์บินอนโด สร้างขึ้นมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 และไม่ได้ถูกทำลายจากสงคราม มีลักษณะเป็นหอระฆังแปดเหลี่ยมที่ซ้อนขึ้นไปเป็นชั้นๆ แต่ละชั้นลดหลั่น โดยแต่ละชั้นประดับด้วยเสาติดผนังและซุ้ม ด้านบนสุดปรากฏโดมและ Lantern รูปแบบของหอระฆังนี้ทำให้นึกถึงเจดีย์ (ถะ) ในศิลปะจีน

โบสถ์เซนต์จอร์จ
จอร์จทาวน์
สถาปัตยกรรมโบสถ์เซนต์จอร์จ

ตัวโบสถ์สร้างขึ้นโดยใช้องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมแบบคลาสิก เช่น หน้าบันสามเหลี่ยม เสาดอกริก เป็นต้น โดนมีแผนผังที่วางอย่างสมมาตร รูปแบบของโบสถ์แห่งนี้คล้ายคลึงอย่างมากกับโบสถ์เซนต์จอร์จที่เมืองเจนไนในประเทศอินเดีย

โบสถ์โอลด์เซนต์
ไตปิง
สถาปัตยกรรมโบสถ์โอลด์เซนต์

โบสถ์มีลักษณะเป็นอาคารไม้ซึ่งดูคล้ายกับอาคารในชนบทของยุโรป อาคารอยู่ในผังแบบไม้กางเขน หลังคามีสองชั้นและผนังด้านข้างเป็นบานเฟี้ยมที่มารถเปิดระบายอากาศได้ ด้านหน้ามีหอระฆังขนาดเล็กและมีหน้าต่างรูปดอกกุหลาบซึ่งถือเป็นลักษณะปกติของโบสถ์โดยทั่วไป กระจกสีซึ่งถูกติดตั้งเข้าไปเพิ่มเติมในปี 1911 ช่วยเพิ่มคงามงดงามให้แก่โบสถ์แห่งนี้อย่างมาก

โบสถ์เซนต์ปอล
มะละกา
สถาปัตยกรรมโบสถ์เซนต์ปอล

อาคารสร้างด้วยศิลาแลง เป็นอาคารทรงโรงที่มีหน้าจั่วแบบคลาสสิกและมีหน้าต่างกุหลาบ (rose window) ทางด้านหน้าอย่างเรียบง่าย ภายในอาคารดูเรียบง่ายเช่นเดียวกัน ที่พื้นปรากฏแผ่นปิดหลุมศพจำนวนมากซึ่งถือเป็นธรรมเนียมของชาวคริสต์ที่มักฝังศพไว้ใต้พื้นโบสถ์เพื่อรับใช้พระจ้า

โบสถ์ประจำเมืองมะละกา
มะละกา
สถาปัตยกรรมโบสถ์ประจำเมืองมะละกา

โบสถ์ประจำเมืองมะละกา สร้างด้วยหน้าบันตามแบบบารอคซึ่งเป็นที่นิยมในศิลปะดัชต์ อย่างไรก็ตาม ภายในกลับมุงหลังคาด้วยเครื่องไม้มุงกระเบื้องตามแบบพื้นเมือง มุขด้านหน้าที่มีองค์ประกอบเป็นแบบคลาสิกนั้นถูกเพิ่มเข้ามาภายหลังจากที่อังกฤษเข้ายึดครองแล้ว

โบสถ์ซานเซบาสเตียน
มะนิลา
สถาปัตยกรรมโบสถ์ซานเซบาสเตียน

โบสถ์ซานเซบาสเตียน มะนิลา ถือเป็นโบสถ์เพียงไม่กี่แห่งในกรุงมะนิลาที่สร้างขึ้นตามแบบโกธิค ภายในเป็นโบสถ์ทีมีความสูงโปร่งและมีเสาที่ผอมบางอันเป็นการเลียนแบบศิลปะโกธิคตอนปลาย หลังคาเองก็ปรากฏ “สัน” (rib) ตัดกันจำนวนมากซึ่งเป็นการเลียนแบบศิลปะโกธิคตอนปลาย หน้าต่างของโบสถ์แห่งนี้ประดับด้วยกระจกสี ทำให้ภายในโบสถ์ค่อนข้างมืดอันเป็นเทคนิคการจำกัดแสตามแบบโกธิค

แท่นบูชาภายในโบสถ์ซานเซบาสเตียน
มะนิลา
สถาปัตยกรรมแท่นบูชาภายในโบสถ์ซานเซบาสเตียน

โบสถ์ซานเซบาสเตียน มะนิลา ถือเป็นโบสถ์เพียงไม่กี่แห่งในกรุงมะนิลาที่สร้างขึ้นตามแบบโกธิค แท่นบูชาภายในเป็นประกอบด้วยยอดหอคอยแหลมและกรอบซุ้มโค้งแหลมแบบโกธิค ผนังด้านหลังปรากฏหน้าต่างรูปดอกกุหลาบซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของสถาปัตยกรรมแบบโกธิคเช่นกัน